เวลาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเอง

อ่าน.......ขำๆ

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ใช้'ไวรัส'เพิ่มพลังแบตเตอรี่10เท่า

เมื่อ พูดถึงเชื้อโรคอย่าง "ไวรัส" หลายคนคงจะนึกถึงแต่ผลงานร้ายๆ ของมัน เช่น ไวรัสด่างใบยาสูบ หรือ "ทีเอ็มวี" ถูกค้นพบในปี 2441 มองผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแล้วเห็นเป็นแท่งเรียวเล็กน่ารักเหมือนเส้น สปาเกตตีที่ยังไม่ได้ต้ม แต่เป็นสาเหตุของโรคระบาดในพืชอุตสาหกรรมอย่างยาสูบ มะเขือเทศ พริก ฯลฯ

อย่าง ไรก็ตาม ในมุมมองสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาลัยการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ แห่งมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ของประเทศสหรัฐอเมริกา เห็นว่า ไวรัสดังกล่าวเป็นเหมือนดาบสองคม หลังประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติการแบ่งและซ่อมแซมตัวเอง ของไวรัสทีเอ็มวีมาพัฒนาส่วนประกอบของ "แบตเตอรี่อนุภาคลิเทียม" ให้สามารถรับประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้เป็น 10 เท่า

คณะนักวิจัยอาศัย การดัดแปลงอวัยวะของไวรัสทีเอ็มวีบางส่วนเพื่อให้สามารถถูก จัดเรียงเชื่อมติดกับโลหะที่ใช้ทำ "อิเล็กโทรด" หรือขั้วไฟฟ้า

อย่าง เป็นระเบียบโดยให้ส่วนที่มีลักษณะเป็นแท่งยื่นออกมาจากตัวไวรัสชี้ออกมา ส่งผลให้ส่วนประกอบดังกล่าวมีน้ำหนักเบาและแข็งแกร่งมากขึ้น รวมทั้งใช้ต้นทุนการผลิตต่ำลง จากนั้นจึงเคลือบแท่งดังกล่าวด้วยสารตั้งต้นนำไฟฟ้า ซึ่งเป็นเสมือนตัวกักเก็บกระแสไฟฟ้าและตัวทำปฏิกิริยาในกระบวนการทางเคมี

ผล ที่ได้คือขั้วไฟฟ้าซึ่งมีพื้นที่มากขึ้นมหาศาล ส่งผลให้มีพื้นที่ซึ่งใช้สำหรับรับและปลดปล่อยประจุไฟฟ้ามากขึ้น สามารถจุไฟฟ้าได้มากกว่าแบตเตอรี่อนุภาคลิเทียมทั่วไปได้ 10 เท่า นอกจากนี้ ไวรัสทีเอ็มวีเมื่อผ่านกระบวนการผลิตแล้วจะสิ้นฤทธิ์ ทำให้แบตเตอรี่ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัส

นายกอห์ดซี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเชิงระบบ และศาสตราจารย์เฮอร์เบิร์ต เรบิน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ กล่าวว่า ผลลัพธ์ที่ได้นั้นถือเป็นความก้าวหน้าในหลายด้าน และเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะถูกนำไปประยุกต์ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กซึ่ง ปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่จำกัดเนื่องมาจากแบตเตอรี่มีพลังงานไม่เพียงพอต่อ ความต้องการ


http://www.khaosod.co.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น