เวลาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเอง

อ่าน.......ขำๆ

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โฆษณาพระเครื่อง ในสายตาประชาชน สำรวจโดย สวนดุสิตโพล


ในสายตาประชาชน สำรวจโดย สวนดุสิตโพล


พระเครื่อง เป็นสิ่งที่คนไทยให้ความเคารพนับถือสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งเป็นตัวแทนในการสักการะบูชา แต่ในปัจจุบันเมื่อ “พระเครื่อง” มีราคาค่างวดในการเช่าบูชาจึงกลายเป็นเรื่องของธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง  “สวนดุสิตโพล”


สถาบันราชภัฎสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ

และปริมณฑลในเรื่องเกี่ยวกับการ โฆษณาพระเครื่องตามสื่อ ต่าง ๆ เพื่อการเช่าบูชา 

จำนวนทั้งสิ้น 1,141 คน

(ชาย  652 คน    57.14 %  หญิง  489 คน 42.86 %)

โดยสำรวจระหว่างวันที่   6 - 9  มีนาคม  2547  สรุปผลได้ดังนี้





1. ประชาชนมีความเชื่อต่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของ “พระเครื่อง” มากน้อยเพียงใด?

ชาย     หญิง     ภาพรวม

อันดับที่ 1 ค่อนข้างเชื่อ                               30.25%  52.94%  41.60%

เพราะ เป็นความเชื่อที่มีมานานสืบต่อกันมา,จากประสบการณ์และจากคำบอกเล่าของญาติ พี่น้อง/คนรู้จัก ฯลฯ

อันดับที่ 2 เฉย ๆ                                   32.78%  20.59%  26.68%

เพราะ ไม่ค่อยสนใจ,ไม่เคยมีประสบการณ์และคิดว่าเป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล มากกว่า ฯลฯ

อันดับที่ 3 เชื่อมาก                                  27.73%  20.59%  24.16%

เพราะ จากประสบการณ์ที่ได้พบด้วยตนเอง,เป็นคุณค่าทางจิตในของผู้ที่นับถือศาสนา พุทธ ฯลฯ

อันดับที่ 4 ไม่ค่อยเชื่อ                                9.24%   5.88%   7.56%

เพราะ ยังไม่เคยประสบกับตนเอง,ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละบุคคล มากกว่า ฯลฯ



2. ประชาชนมีประสบการณ์ในการถูกหลอกเช่า “พระเครื่อง” หรือไม่?

ชาย     หญิง    ภาพรวม

อันดับที่ 1 ไม่เคย                                   65.55%  97.73%  81.64%

เพราะ ส่วนมากจะเช่าบูชาจากที่วัดโดยตรง,มีประสบการณ์มีความรู้ในการดูพระเครื่อง ฯลฯ

อันดับที่ 2 เคย                                     34.45%  2.27%   18.36%

เพราะ ไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง,ไม่ค่อยมีความชำนาญ ฯลฯ




3. ประชาชนคิดว่า “การโฆษณาพระเครื่อง” ในปัจจุบันนั้นเหมาะสมแล้วหรือไม่?

ชาย     หญิง     ภาพรวม

อันดับที่ 1 ไม่เหมาะสม                               79.63%  63.41%  71.52%

เพราะ ในบางครั้งโฆษณาเกินจริง,มีการหลอกลวงและแอบอ้างทำให้เกิดความเสียหาย,

กลาย เป็นการโฆษณาในเชิงการค้าฯลฯ

อันดับที่ 2 เหมาะสมแล้ว                              20.37%  36.59%  28.48%

เพราะเป็นการนำเสนอในเชิงสร้างสรรค์ไม่เกินจริง,เป็นการทำให้คนหันมาสนใจในเชิง ศิลปะมากขึ้น ฯลฯ





4. การที่รัฐบาลจะออกมาควบคุม “การโฆษณาพระเครื่อง” ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่?

ชาย     หญิง     ภาพรวม

อันดับที่ 1 เห็นด้วย                                  69.49%  62.79%  66.14%

เพราะ จะได้ควบคุมการโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริง,ป้องกันการหลอกลวงเพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค ฯลฯ

อันดับที่ 2 ไม่แน่ใจ                                  17.80%  16.28%  17.04%

เพราะ ยังไม่ทราบข้อมูลว่าทางภาครัฐจะเข้ามาควบคุมเช่นใด, เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความชอบส่วนบุคคล ฯลฯ

อันดับที่ 3 ไม่เห็นด้วย                                12.71%  20.93%  16.82%

เพราะ ไม่จำเป็นต้องมีการควบคุม,ปกติทางกลุ่มผู้นิยมพระเครื่องจะมีการดูแลกัน เองอยู่แล้ว ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น