เวลาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเอง

อ่าน.......ขำๆ

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เจ้าหญิงมัสสุหรี แห่งลังกาวี



ทายาทรุ่นที่ 7 ของมะห์ซูรี หรือ พระนางเลือดขาว แขกพิเศษของสายการบิน ผู้เดินทางมาในเที่ยวบินปฐมฤกษ์ครั้งนี้ด้วย
            เหตุการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นว่า ศิรินทรา ยายี เป็น เจ้าหญิงในความรู้สึกของคนลังกาวีจริงๆ ไม่ว่าเราจะถามคนลังกาวี หรือว่าคนมาเลเซียในกัวลาลัมเปอร์ ทุกคนต่างก็รู้จัก "เจ้าหญิง" ทายาทของมะห์ซูรี ผู้ปลดเปลื้องคำสาปให้กับลังกาวีเมื่อปี ค.ศ. 2000 ปีที่ ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศให้เกาะลังกาวีพ้นคำสาป และประกาศให้ลังกาวีเป็นแหล่งท่องเที่ยวปลอดภาษี โดยมีภูเก็ตเป็นคู่แข่ง
 คนมาเลเซียไม่เพียงแต่รู้จักและชื่นชมในความงามของเจ้าหญิงเพียงเท่านั้น พวกเขายังเชื่อในเรื่องตำนานและคำสาปของมะห์ซูรีอีกด้วย
         "เรื่องของประวัติศาสตร์ที่ถูกสาปแช่งไม่ให้มีความเจริญ 7 ชั่วโคตร คนสมัยใหม่อย่างผมก็เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เพราะอะไรเหรอครับ ปลาก็จับไม่ได้ ปลูกข้าวก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย" หนุ่มใหญ่ชาวลังกาวีที่มีภรรยาเป็นคนไทยบอกกับเรา
           เช่นเดียวกับเหตุการณ์ครั้งที่สอง สาม สี่ และห้า เวลาที่ฉันพยายามหาจังหวะเข้าไปคุยกับเจ้าหญิง แต่มักก็จะถูกฝูงชนชาวมาเลเซียบีบเบียดกระเด็นออกมานอกรัศมี ด้วยการห้อมล้อมขอถ่ายภาพกันแทบตลอดเวลาที่มีโอกาสร่วมทริปเดินทางท่อง เที่ยวในลังกาวีด้วยกัน
             หนุ่มมาเลย์คนหนึ่งเห็นฉันยืนทำตาปริบๆ ถึงกับมาสะกิดถามว่า "คุณครับ ไม่รู้หรือไงว่าคนนี้เป็นเจ้าหญิง เป็นทายาทของมะห์ซูรีนะ"
         ว่าแต่คุณเชื่อเรื่องตำนานนี้ด้วยเหรอ ฉันถามกลับบ้าง
        "เชื่อสิครับ ดูสิเธอสวยสมกับเป็นทายาทมะห์ซูรีจริงๆ" ฟังคำตอบแล้วฉันก็อดจะคล้อยตามไปด้วยไม่ได้ ยิ่งเมื่อได้เห็นภาพถ่ายของผู้สืบเชื้อสายมะห์ซูรีที่จัดแสดงเป็นแผนผัง เครือญาติในสุสานมะห์ซูรีแล้ว ขอบอกเลยว่าผู้สืบสายเลือดที่เป็นผู้หญิงนั้นอยู่ในขั้นสวยจัดทุกคน
          ด้วยความสวยนี่เองที่กลายเป็นที่มาของคำสาปบนเกาะลังกาวี ตำนานที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงนั้น เกิดขึ้นเมื่อราว 200 ปีก่อน มะห์ซูรี เป็นลูกสาวของชาวนา ที่มีความงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วเกาะ จนไปเข้าหูของวันดารุส โอรส ของเจ้าผู้ครองเกาะลังกาวี เมื่อวันดารุสหาโอกาสมาพบกับมะห์ซูรี ดูเหมือนว่าทั้งสองจะมีใจตรงกัน ความรักของคนทั้งคู่เริ่มต้นเหมือนในนิทาน คือแต่งงานและมีโอรสชื่อวันฮาเกม (วันเป็นคำเรียกชื่อเจ้าชาย เจ้าหญิง)
         ต่อมามีเหตุให้วันดารุสต้องออกไปรบ ผู้มีใจริษยาสบโอกาสใส่ความพระนางมะห์ซูรีว่าคบชู้ เจ้าเมืองทราบเรื่องจึงพิพากษาให้ประหารชีวิตด้วยกริช โดยไม่มีการไต่สวนสืบความ แต่คมกริชประหารกลับไม่ระคายผิวนางเลย
        พระนางมะห์ซูรีจึงบอกกับเพชฌฆาตให้กลับไปนำกริชประจำต้นตระกูลที่บ้านของนาง มา ก่อนถูกปลิดชีพ พระนางมะห์ซูรีตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ถ้าหากนางบริสุทธิ์ เลือดที่ออกมาจงเป็นสีขาว และขอให้เกาะลังกาวีจงประสบหายนะ 7 ชั่วอายุคน ทันทีขณะที่คมกริชจดลงไปบนคอโลหิตสีขาวก็พวยพุ่งขึ้นสู่เบื้องบน แสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของนาง          
          พระนางมะห์ซูรีจึงได้รับการเรียกขานในอีกนามว่า พระนางเลือดขาว ด้วยเหตุนี้
      ส่วนวันดารุสกลับมาจากไปรบทราบเรื่อง ก็รู้สึกเสียใจมากจึงพาวันฮาเกม ขึ้นเรือมุ่งหน้าไปขึ้นฝั่งที่หาดกมลา จังหวัดภูเก็ต จากคำบอกเล่าของ สุนี ยายี นับ จากรุ่น "วันดารุส" และ "วันมะห์ซูรี" แล้ว ก็เป็นรุ่น "วันฮาเกม" สู่รุ่น "วันฮาเก" สู่รุ่น "วันฮูเซน" สู่รุ่น "วันฮาเฉน" สู่รุ่น "วันนาวาวี" โดย 6 ชั่วคนนี้ สืบทอดเชื้อสายเป็น 4 ตระกูล คือ "ยายี" "ดุมลักษณ์" "สังวาล" และ "แสงทอง"
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น