ของการโกหกในชีวิตของคนเรานั้น ต้องมีสักครั้งละที่โกหก ซึ่งโดยส่วนใหญ่เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้เกิดความอับอาย
หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากแรงกดดันภายนอกของสังคม เราลองมาแยกแยะประเภทของการโกหก
ดูสิคะว่าได้สักกี่ประเภท
1. โกหกเพื่อมารยาท เป็นประเภทที่มีผลเสียน้อยที่สุดเพราะไม่มีเจตนาจะทำให้คนอื่นเสียหายหรือเป็นอันตราย
แต่มีเจตนาเพื่อจะทำให้คนอื่นพอใจเรียกว่าเป็นการรักษาน้ำใจกัน เช่น “ไม่ได้พบกันตั้งนาน สวยไม่เปลี่ยนเลย”
คนส่วนใหญ่มักจะไม่คิดว่าเป็นการโกหกด้วยซ้ำ นอกจากคนที่จริงจังต่อโลกเกินไปต่อต้านพฤติกรรมนี้เพราะถือว่าไม่จริงใจต่อกัน
2. โกหกเพื่อป้องกันอันตราย เป็นการโกหกประเภทที่ใช้มากที่สุด เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่จะต้องป้องกันอันตราย
ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอด ลงไปถึงความเจ็บปวด ขมขื่น ละอายใจ อับอาย แม้กระทั่งเรื่องของศักดิ์ศรี
3. โกหกเพื่อผลประโยชน์ เป็นประเภทที่ใช้มากพอกัน เพื่อป้องกันอันตรายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยตรง เช่น
ขู่ให้ฝ่ายตรงห้ามรู้สึกกลัว เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น และอาจมีผลในการเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วย ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์
อย่างไรก็ตามการโกหกเพื่อผลประโยชน์อาจไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอันตรายเสมอ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น
4. โกหกเพื่อหาความยุติธรรม เป็นการโกหกเพื่อฝึกนิสัยมนุษย์ให้ไม่เห็นแก่ตัว มักจะเกี่ยวข้องกับคำมั่นสัญญา
กฎเกณฑ์หรือกติกาต่างๆ เช่น พ่อแม่บอกกับลูกๆ ว่ารักลูกเท่ากันหมดทุกคน , พ่อค้าสัญญาต่อกันว่าจะไม่ค้าขายทำลายกันเอง เป็นต้น
กฎและกติกานี้ ยังรวมถึงเรื่องจริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพอีกด้วย
5. โกหกเพื่อหาความจริง การโกหกประเภทนี้มักเป็นพวกนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักกฎหมาย และความศรัทธาในศาสนา
มีนักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยที่ต้องบิดเบือนความจริงในการทดลอง นักวิจัยไม่น้อยที่ได้ผลออกมาแล้วผิดเป้าหมายที่ตั้งไว้
จึงพยายามหาหลักฐานต่างๆ มาอ้างอิงมาแทนความจริงที่เกิดขึ้น หรือคนที่ต้องการเผยแผ่ศาสนาอาจใช้วิธีในการจูงใจให้
ผู้อื่นคล้อยตาม
6. นักโกหกอาชีพ เป็นคนที่โกหกในเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องโกหกจนดูเป็นงานประจำไป คนประเภทนี้มีพรสวรรค์ในการพูด
การสร้างเรื่อง เพราะตัวเขาเองยืนอยู่ระหว่างกลางของความจริงกับจินตนาการ นักโกหกอาชีพนั้นไวกว่านักโกหกจำเป็นมาก
เขาจะรู้ทันทีว่ามีใครกำลังจับโกหกเขาอยู่ แล้วเขาก็จะหันมาเปลี่ยนเรื่องเป็นเรื่องจริงบ้างเรื่องแต่งบ้าง จนคนจับไขว้เขวไปเอง
ลักษณะของคนชอบโกหก
ดูเป็นคนน่าสนใจ น่าคบ มีลักษณะเชื่อมั่นในตนเอง โดยเฉพาะในด้านความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เป็นคนมีเพื่อนมาก
ท่าทางดูเป็นกันเอง แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหน้ากาก เป็นบุคลิกปลอมที่สร้างขึ้นมา เพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกอ่อนแอที่ซ่อนอยู่
ภายในใจ ความจริงแล้ว เขาเป็นคนว้าเหว่ มีปมด้อย ชีวิตไร้จุดหมาย ขาดความเชื่อมั่น ไม่สนิทกับใครได้อย่างจริงใจเพราะไม่ค่อย
ไว้ใจคน และเหนือสิ่งอื่นใดคือ ความรู้สึกละอายใจที่เกาะฝังอยู่ในส่วนลึกของความกลัวนั่นเอง
หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากแรงกดดันภายนอกของสังคม เราลองมาแยกแยะประเภทของการโกหก
ดูสิคะว่าได้สักกี่ประเภท
1. โกหกเพื่อมารยาท เป็นประเภทที่มีผลเสียน้อยที่สุดเพราะไม่มีเจตนาจะทำให้คนอื่นเสียหายหรือเป็นอันตราย
แต่มีเจตนาเพื่อจะทำให้คนอื่นพอใจเรียกว่าเป็นการรักษาน้ำใจกัน เช่น “ไม่ได้พบกันตั้งนาน สวยไม่เปลี่ยนเลย”
คนส่วนใหญ่มักจะไม่คิดว่าเป็นการโกหกด้วยซ้ำ นอกจากคนที่จริงจังต่อโลกเกินไปต่อต้านพฤติกรรมนี้เพราะถือว่าไม่จริงใจต่อกัน
2. โกหกเพื่อป้องกันอันตราย เป็นการโกหกประเภทที่ใช้มากที่สุด เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่จะต้องป้องกันอันตราย
ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอด ลงไปถึงความเจ็บปวด ขมขื่น ละอายใจ อับอาย แม้กระทั่งเรื่องของศักดิ์ศรี
3. โกหกเพื่อผลประโยชน์ เป็นประเภทที่ใช้มากพอกัน เพื่อป้องกันอันตรายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยตรง เช่น
ขู่ให้ฝ่ายตรงห้ามรู้สึกกลัว เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น และอาจมีผลในการเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วย ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์
อย่างไรก็ตามการโกหกเพื่อผลประโยชน์อาจไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอันตรายเสมอ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น
4. โกหกเพื่อหาความยุติธรรม เป็นการโกหกเพื่อฝึกนิสัยมนุษย์ให้ไม่เห็นแก่ตัว มักจะเกี่ยวข้องกับคำมั่นสัญญา
กฎเกณฑ์หรือกติกาต่างๆ เช่น พ่อแม่บอกกับลูกๆ ว่ารักลูกเท่ากันหมดทุกคน , พ่อค้าสัญญาต่อกันว่าจะไม่ค้าขายทำลายกันเอง เป็นต้น
กฎและกติกานี้ ยังรวมถึงเรื่องจริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพอีกด้วย
5. โกหกเพื่อหาความจริง การโกหกประเภทนี้มักเป็นพวกนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักกฎหมาย และความศรัทธาในศาสนา
มีนักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยที่ต้องบิดเบือนความจริงในการทดลอง นักวิจัยไม่น้อยที่ได้ผลออกมาแล้วผิดเป้าหมายที่ตั้งไว้
จึงพยายามหาหลักฐานต่างๆ มาอ้างอิงมาแทนความจริงที่เกิดขึ้น หรือคนที่ต้องการเผยแผ่ศาสนาอาจใช้วิธีในการจูงใจให้
ผู้อื่นคล้อยตาม
6. นักโกหกอาชีพ เป็นคนที่โกหกในเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องโกหกจนดูเป็นงานประจำไป คนประเภทนี้มีพรสวรรค์ในการพูด
การสร้างเรื่อง เพราะตัวเขาเองยืนอยู่ระหว่างกลางของความจริงกับจินตนาการ นักโกหกอาชีพนั้นไวกว่านักโกหกจำเป็นมาก
เขาจะรู้ทันทีว่ามีใครกำลังจับโกหกเขาอยู่ แล้วเขาก็จะหันมาเปลี่ยนเรื่องเป็นเรื่องจริงบ้างเรื่องแต่งบ้าง จนคนจับไขว้เขวไปเอง
ลักษณะของคนชอบโกหก
ดูเป็นคนน่าสนใจ น่าคบ มีลักษณะเชื่อมั่นในตนเอง โดยเฉพาะในด้านความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เป็นคนมีเพื่อนมาก
ท่าทางดูเป็นกันเอง แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหน้ากาก เป็นบุคลิกปลอมที่สร้างขึ้นมา เพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกอ่อนแอที่ซ่อนอยู่
ภายในใจ ความจริงแล้ว เขาเป็นคนว้าเหว่ มีปมด้อย ชีวิตไร้จุดหมาย ขาดความเชื่อมั่น ไม่สนิทกับใครได้อย่างจริงใจเพราะไม่ค่อย
ไว้ใจคน และเหนือสิ่งอื่นใดคือ ความรู้สึกละอายใจที่เกาะฝังอยู่ในส่วนลึกของความกลัวนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น