เวลาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเอง

อ่าน.......ขำๆ

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ย้อนอดีต1,500ปี“นครโยนก”ดินไหว





คมชัดลึก : แทบไม่น่าเชื่อว่าแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์ที่พม่า จะสร้างแรงสั่นสะเทือนจากภาคเหนือมาถึงยอดตึกสูงใจกล างเมืองกรุงเทพฯ ได้ ภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายให้แก่ เมืองไครสต์เชิร์ชของนิวซีแลนด์ และเมืองฟูกูชิมาของญี่ปุ่นยังไม่ลบเลือนไปจากความทร งจำ หลายคนหวาดกลัวว่าภาคเหนือจะเกิดภัยพิบัติแบบนั้นเช่ นกัน

แผ่นดินไหวในพม่าเมื่อ คืนวันที่ 24 มีนาคมนั้น เกิดจากการรอยเลื่อนที่เรียกกันว่า "รอยเลื่อนน้ำมา" เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำมาในพม่า จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพียง 56 กม. เท่านั้น ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับรายงานความเสียหายเบื้องต้น นอกจากบ้านเรือนหลายหลังจะพังลงมาแล้ว แหล่งโบราณคดีและโบราณสถานอายุหลายเกือบพันปีได้รับผ ลกระทบหลายแห่ง เช่น ยอดฉัตรของเจดีย์หลวงในวัดพระธาตุเจดีย์หลวง จ.เชียงราย หักโค่นลงมาจนทำให้เจดีย์เล็กเสียหาย นอกจากนี้ยอดฉัตรของพระธาตุจอมกิตติหักงอเช่นกัน ส่วนที่ จ.น่าน ตรวจพบวิหารรอบพระอุโบสถวัดภูมินทร์ ที่อายุเก่าแก่กว่า 700 ปี ของ จ.น่าน มีผนังแตกร้าวหลายจุด ภาพจิตรกรรมได้รับความเสียหายหลายจุด

นักประวัติศาสตร์รู้ดีว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ภาคเหนือไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะเคยรุนแรงขนาดทำให้อาณาจักรยิ่งใหญ่สมัยโบราณหา ยสาบสูญไปในพริบตา เมื่อ 1,500 ปีที่แล้วยังไม่มีใครรู้ว่าระดับแผ่นดินไหวมีขนาดกี่ ริกเตอร์ มีเพียงตัวอักษรที่บันทึกถึงอาณาจักรที่ยุบจมหายกลาย เป็นหนองน้ำใหญ่

บันทึกประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตนั้น กล่าวถึง อาณาจักรโยนก ปัจจุบันคือที่พื้นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ว่าเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมั ยพุทธกาล แต่เมื่อ 1,500 ปีที่แล้วเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง ครั้งที่รุนแรงที่สุดทำให้อาณาจักรโยนกถึงกับจมหายไป โดยพงศาวดารโยนกบันทึกว่า ในคืนวันเสาร์ เดือน 7 แรม 7 ค่ำ พ.ศ.1003

“...สุริยอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียง เหมือนตั้งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวประดุจว่าเวียงโยน กนครหลวงที่นี้จัก เกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ดังซ้ำเข้ามาเป็นคำรบสอง แล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังมาอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล ้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลง เกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้นคนทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน ก็วินาศฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น...”

"ไกรสิน อุ่นใจจินต์" หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 จ.เชียงใหม่ เล่าถึงหลักฐานหลายชิ้นที่เชื่อมโยงให้เห็นว่าอาณาจั กรโยนกหรือ “เวียงโยนกนาคพันธุ์” ล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำเพราะแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โดยเฉพาะการพบหลักฐานโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งในหนองน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับตำนานเอกสารโบราณ และหลักฐานแนวรอยเลื่อนทางธรณีวิทยา ดังนั้งจึงยืนยันได้ว่าบริเวณนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวจร ิง ปัจจุบัน คือพื้นที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร ช่วงรอยต่อระหว่าง อ.แม่จัน กับ อ.เชียงแสน หรือชาวบ้านเรียกว่า “เวียงหนองหล่ม” มีผู้คนอาศัยไม่น้อยกว่า 100 ชุมชน

ด้าน รศ.ดร.พิษณุ วงศ์พรชัย หัวหน้าภาคธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายว่า รอยเลื่อนน้ำมาของพม่านั้นวางตัวขนานกับรอยเลื่อนแม่ จันและรอยเลื่อนเชียง แสน ในอดีตเคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์มาแล้วหลายครั้ง และมีหลักฐานทางธรณีวิทยาเชื่อมโยงให้เห็นว่า “อาณาจักรโยนก” ถูกแผ่นดินไหวถล่มจนหายไปทั้งเมือง แต่ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกมากนัก เพราะในอดีตการก่อสร้างบ้านเรือนยังไม่แข็งแรง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็พังลงอย่างง่ายดาย แต่เพื่อความไม่ประมาท ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้รอยเลื่อนที่ยังมีพลังใ นภาคเหนือเฝ้าติดตาม ข่าวสารอย่างใกล้ชิดแต่ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป

จับตา 13 รอยเลื่อนมีพลัง

ในประเทศไทย สามารถจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญได้ 13 กลุ่ม โดยกลุ่มรอยเลื่อนทั้งหมดวางแนวพาดผ่านพื้นที่ 22 จังหวัด คือ ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคใต้ 6 จังหวัดภาคตะวันตก 3 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่

1.กลุ่มรอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่ 2.กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านแม่ฮ่องสอนและตาก 3.กลุ่มรอยเลื่อนเมย พาดผ่านตากและกำแพงเพชร 4.กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย 5.กลุ่มรอยเลื่อนเถิน พาดผ่านลำปางและแพร่ 6.กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านลำปาง เชียงราย และพะเยา 7.กลุ่มรอยเลื่อนบัว พาดผ่านน่าน

8.กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอุตรดิตถ์ 9.กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านกาญจนบุรีและราชบุรี 10.กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านกาญจนบุรีและอุทัยธานี 11.กลุ่มรอยเลื่อนท่าแขก พาดผ่านหนองคายและนครพนม 12.กลุ่มรอยเลื่อนระนอง พาดผ่านประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา 13.กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านสุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา

สำหรับรอยเลื่อนที่น่าจับตามากที่สุด คือ รอยเลือนสะแกง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 400 กม. ส่วนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 200กม. แถมยังมีเขื่อนขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อน นั่นคือ เขื่อนศรีนครินทร์ และยังมีรอยเลือนที่น่าจับตาอีก 2 แหล่ง คือ รอยเลื่อนแม่จัน และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ในอดีตเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง
 
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?p=397522
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น