"หลวงตา"เมืองอ่างทองสุดไฮเทค ขี่"รถจักรยานไฟฟ้า"ออกบิณฑบาต
เลขานุการเจ้าคณะติงไม่เหมาะสม
พระภิกษุสงฆ์ขับขี่รถจักรยานไฟฟ้าออกบิณฑบาตในช่วงเช้าของทุกวัน โดยขับไปตามถนนสายโพธิ์พระยา-ท่าเรือ ตั้งแต่สี่แยกสัญญาณไฟแดง ต.ป่างิ้ว อ.เมืองอ่างทองไปจนถึงตลาดสดเทศบาลเมืองอ่างทอง รวมระยะทางไปกลับประมาณ 15 กม. ทั้งนี้ การบิณฑบาตดังกล่าวเป็นภาพที่คุ้นตาและแปลกตาของชาวบ้าน
จากการตรวจสอบพบพระภิกษุชราภาพทราบว่าชื่อ พระเสียม ปัญญาวโร อายุ 83 ปี พรรษาที่ 11 จำพรรษาอยู่ที่วัดดอนกระดี หมู่ 4 ต.ป่างิ้ว อ.เมืองอ่างทอง ขับรถจักรยานไฟฟ้า 3 ล้อ บิณฑบาตตามเส้นทางดังกล่าว และพบว่าพุทธศาสนิกชนรอใส่บาตรเป็นระยะตามประเพณีนิยมของชาวพุทธที่ทำบุญ ประจำวันตักบาตรในตอนเช้า
พระเสียม เปิดเผยว่า ตั้งแต่บวชออกบิณฑบาตไม่เคยขาด การโปรดสัตว์เป็นกิจอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้ากำหนดถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัย พุทธกาล ต้องเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติและศึกษาพระธรรมวินัย
"เดิมนั้นตนเดินบิณฑบาต ครั้นต่อมาต้องการไปโปรดญาติโยมลูกหลานใน ตลาดสดเทศบาลซึ่งตนเคยอยู่อาศัยและเคยทำงานที่สำนักงานเทศบาลเมือง อ่างทอง แต่ระยะทางไกล เดินไปไม่ไหวจึงต้องใช้บริการรถประจำทาง แต่พอขากลับวัดต้องจ้างรถสามล้อให้ไปส่งเนื่องจากของทำบุญมีมาก และต้องเสียเงินค่ารถสามล้อวันละ 40 บาท ส่วนของที่ญาติโยมทำบุญจะนำกลับมาวัดถวายพระ 9 รูป เลี้ยงชีพ หรือแจกเป็นทานแก่ชาวบ้านใกล้เคียง" พระเสียม กล่าว
พระเสียม กล่าวว่า รถจักรยานไฟฟ้าดังกล่าวมีหมอจากโรงพยาบาลเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ถวายให้ เพราะเห็นว่าตนชราภาพเดินปฏิบัติกิจของสงฆ์ไม่ไหว หรือจะเดินจากวัดไปปฏิบัติกิจด้านนอกต้องเดินเท้าในระยะทางร่วม 2 กม.ถึงจะออกไปยังถนนใหญ่ จึงขออนุโมทนาบุญแก่ผู้ที่ถวายให้ ซึ่งได้ใช้ ประโยชน์คุ้มค่า ส่วนการที่มองว่าใช้พาหนะในการบิณฑบาตไม่เหมาะสม ตรงนี้ควรละเว้นพระภิกษุที่มีอายุมากเดินไม่ไหว ส่วนความห่วงใยในเรื่องอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ อาตมาก็ไม่ประมาทระวังอยู่ทุกขณะ เพราะอายุมากประกอบกับพิการทางหูและต้องใส่แว่นสายตา
นายสมพงษ์ เพิ่มพูน หนึ่งในชาวบ้านที่ใส่บาตร กล่าวว่า ไม่น่าจะขัดต่อพระธรรมวินัย หรือมองว่าเป็นอาบัติโลกวัชชะที่หมายความว่าชาวโลกติเตียน น่าจะมีข้อยกเว้น ยกตัวอย่างพระสงฆ์ที่พายเรือบิณฑบาตมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เรือก็เป็นพาหนะเช่นกัน หรือพระสงฆ์ที่อาพาธก็มีข้อยกเว้นให้ฉันอาหารได้ เราทำบุญตักบาตรตามวัฒนธรรมประเพณี สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา หลวงตาย่อมมีความจำเป็นต้องใช้ตามยุคสมัย อย่าไปติติงว่าหลวงตาขับรถจักรยาน ไฟฟ้าซิ่งบิณฑบาต แต่เรื่องที่น่ากังวลคืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
พระครูสรกิจจาทร เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่เหมาะสม เนื่องจากชาวบ้านติเตียนได้ ทั้งนี้ คำจำกัดความของคำว่าบิณฑบาตคือ การเดินจาริกไปอย่างสงบ ไม่ออกปากร้องขอ เมื่อรับบิณฑบาตได้พอเพียงก็เดินทางกลับ คณะสงฆ์จะดูเจตนา และพิจารณาต่อไป
นายเดชา ก่อเกิด นักวิชาการชำนาญการ สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.อ่างทอง กล่าวว่า กรณีดังกล่าวไม่น่าจะมีข้อบัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย แต่เป็นเพียงไม่เหมาะสมเท่านั้น แต่เราก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า การที่พระสงฆ์ใช้พาหนะในการบิณฑบาต เช่น ช้าง ม้า เรือ ตามภาคต่างๆ และมีภาพผ่านสื่อให้ได้ดูก็ไม่เห็นว่ามีความผิด เนื่องจากมีเหตุจำเป็น ในขณะที่พระสงฆ์สูงอายุอาพาธขับรถจักรยานไฟฟ้าบิณฑบาต ก็น่าจะมีเหตุผลสมควร และด้วยยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยีจึงมองว่าแปลกตาและไม่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่ท่านก็คงไม่ได้ซิ่งจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญ
จากการตรวจสอบพบพระภิกษุชราภาพทราบว่าชื่อ พระเสียม ปัญญาวโร อายุ 83 ปี พรรษาที่ 11 จำพรรษาอยู่ที่วัดดอนกระดี หมู่ 4 ต.ป่างิ้ว อ.เมืองอ่างทอง ขับรถจักรยานไฟฟ้า 3 ล้อ บิณฑบาตตามเส้นทางดังกล่าว และพบว่าพุทธศาสนิกชนรอใส่บาตรเป็นระยะตามประเพณีนิยมของชาวพุทธที่ทำบุญ ประจำวันตักบาตรในตอนเช้า
พระเสียม เปิดเผยว่า ตั้งแต่บวชออกบิณฑบาตไม่เคยขาด การโปรดสัตว์เป็นกิจอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้ากำหนดถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัย พุทธกาล ต้องเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติและศึกษาพระธรรมวินัย
"เดิมนั้นตนเดินบิณฑบาต ครั้นต่อมาต้องการไปโปรดญาติโยมลูกหลานใน ตลาดสดเทศบาลซึ่งตนเคยอยู่อาศัยและเคยทำงานที่สำนักงานเทศบาลเมือง อ่างทอง แต่ระยะทางไกล เดินไปไม่ไหวจึงต้องใช้บริการรถประจำทาง แต่พอขากลับวัดต้องจ้างรถสามล้อให้ไปส่งเนื่องจากของทำบุญมีมาก และต้องเสียเงินค่ารถสามล้อวันละ 40 บาท ส่วนของที่ญาติโยมทำบุญจะนำกลับมาวัดถวายพระ 9 รูป เลี้ยงชีพ หรือแจกเป็นทานแก่ชาวบ้านใกล้เคียง" พระเสียม กล่าว
พระเสียม กล่าวว่า รถจักรยานไฟฟ้าดังกล่าวมีหมอจากโรงพยาบาลเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ถวายให้ เพราะเห็นว่าตนชราภาพเดินปฏิบัติกิจของสงฆ์ไม่ไหว หรือจะเดินจากวัดไปปฏิบัติกิจด้านนอกต้องเดินเท้าในระยะทางร่วม 2 กม.ถึงจะออกไปยังถนนใหญ่ จึงขออนุโมทนาบุญแก่ผู้ที่ถวายให้ ซึ่งได้ใช้ ประโยชน์คุ้มค่า ส่วนการที่มองว่าใช้พาหนะในการบิณฑบาตไม่เหมาะสม ตรงนี้ควรละเว้นพระภิกษุที่มีอายุมากเดินไม่ไหว ส่วนความห่วงใยในเรื่องอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ อาตมาก็ไม่ประมาทระวังอยู่ทุกขณะ เพราะอายุมากประกอบกับพิการทางหูและต้องใส่แว่นสายตา
นายสมพงษ์ เพิ่มพูน หนึ่งในชาวบ้านที่ใส่บาตร กล่าวว่า ไม่น่าจะขัดต่อพระธรรมวินัย หรือมองว่าเป็นอาบัติโลกวัชชะที่หมายความว่าชาวโลกติเตียน น่าจะมีข้อยกเว้น ยกตัวอย่างพระสงฆ์ที่พายเรือบิณฑบาตมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เรือก็เป็นพาหนะเช่นกัน หรือพระสงฆ์ที่อาพาธก็มีข้อยกเว้นให้ฉันอาหารได้ เราทำบุญตักบาตรตามวัฒนธรรมประเพณี สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา หลวงตาย่อมมีความจำเป็นต้องใช้ตามยุคสมัย อย่าไปติติงว่าหลวงตาขับรถจักรยาน ไฟฟ้าซิ่งบิณฑบาต แต่เรื่องที่น่ากังวลคืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
พระครูสรกิจจาทร เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่เหมาะสม เนื่องจากชาวบ้านติเตียนได้ ทั้งนี้ คำจำกัดความของคำว่าบิณฑบาตคือ การเดินจาริกไปอย่างสงบ ไม่ออกปากร้องขอ เมื่อรับบิณฑบาตได้พอเพียงก็เดินทางกลับ คณะสงฆ์จะดูเจตนา และพิจารณาต่อไป
นายเดชา ก่อเกิด นักวิชาการชำนาญการ สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.อ่างทอง กล่าวว่า กรณีดังกล่าวไม่น่าจะมีข้อบัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย แต่เป็นเพียงไม่เหมาะสมเท่านั้น แต่เราก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า การที่พระสงฆ์ใช้พาหนะในการบิณฑบาต เช่น ช้าง ม้า เรือ ตามภาคต่างๆ และมีภาพผ่านสื่อให้ได้ดูก็ไม่เห็นว่ามีความผิด เนื่องจากมีเหตุจำเป็น ในขณะที่พระสงฆ์สูงอายุอาพาธขับรถจักรยานไฟฟ้าบิณฑบาต ก็น่าจะมีเหตุผลสมควร และด้วยยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยีจึงมองว่าแปลกตาและไม่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่ท่านก็คงไม่ได้ซิ่งจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น