เวลาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเอง

อ่าน.......ขำๆ

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จากหนังเงียบสู่การพากย์...ตำนานหนังไทย

จากหนังเงียบสู่การพากย์...ตำนานหนังไทย



             เมื่อกิจการโรงหนังได้เกิดขึ้นในประเทศสยาม ในยุคสมัยของรัชกาลที่ 5   หนังยุคแรกๆที่นำมาฉายในประเทศสยามยังเป็นหนังฝรั่ง  ยุคนั้นเป็นยุคหนังเงียบ  (ลองหลับตานึกภาพ ชาลี แช้ปปลิ้น ที่มีคั่นแต่ละช่วงด้วยตัวอักษร ) โรงหนังแต่ละโรงจะจัดให้มีการเล่นดนตรีประกอบขณะฉาย  ช่วงแรกๆ เข้าใจว่าเป็นวงเครื่องสายผสมฝรั่ง  แต่ต่อมามีโรงหนังมากโรงแข่งขันกัน  คงจะหาวงมาเล่นยาก  จึงมีการเปลี่ยนเป็น เปียโน หรือออแกน  แต่บางโรงก็ใช้  แตรวง  ซึ่งดัดแปลงมาจากวง โยธวาทิต ของทหาร  ซึ่งเป็นวงนิยมของทางท้องถิ่นทั่วไป  ที่นิยมใช้ใน งานบวช  งานแต่งงาน งานศพ ทอดกฐิน  คงพอเคยเห็นกันบ้างน่ะครับ 
          เนื่องจาก ภาษาที่ใช้คั่นระหว่างเรื่อง เป็นภาษาต่างประเทศ  เช่น ภาษาอังกฤษ  คนไทยส่วนใหญ่ก็จึงอ่านไม่ออก  แฟนหนังจึงนิยมอ่านจากใบปลิว  ซึ่งจะมีเรื่องย่อเขียนให้อ่าน   ต่อมาเมื่อหนังมีการเจริญพัฒนาขึ้น  และบางเรื่องก็มีความยาวมากขึ้น  จึงนำ บท ไปตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์  ( คล้ายละครไทย ยุคนี้เลย )  ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างสูง  จนแย่งกันพิมพ์  จึงเกิดการประมูลเสนอค่าตอบแทนให้เจ้าของหนัง ในกาลต่อมา
          ในกลางรัชกาลที่ 6 หรือราวปี พ.ศ. ๒๔๖๑-๒  โรงหนังมีการแข่งขันกันอย่างหนัก หนังที่นำมาจัดฉายมักจะเป็นหนังจาก ฮอลลีวู๊ด  ซึ่งครองตลาดโลกแทนหนังจากฝรั่งเศส ที่ล่มสลายไปพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่ 1
          โรงหนังแต่ละโรงจะมีแตรวงประจำ ทำหน้าที่บรรเลงเรียกความสนใจหน้าโรง  พอใกล้เวลา 2 ทุ่ม ก็จะบรรเลงเพลง มาร์ช คึกคักเป็นสัญญาณว่า หนังกำลังจะเริ่มฉายแล้ว   แล้วยกวงแตรเข้าในโรง  เมื่อหนังฉายก็จะบรรเลงคลอไปกับหนังตามบรรยากาศในหนัง  เช่น ตอนเศร้า ก็จะเล่นเพลงเศร้า   เวลาบู๊ ก็จะเล่นเพลงเชิด  เป็นการเล่นสดๆ ซ้ำๆ เพลงไปทุกคืน  และหลังจอจะมีการให้เด็กมาทำเสียงประกอบ เช่น เมล็ดถั่วโรยบนสังกะสี  เป็นเสียงฝนตก  ม้ตีสังกะสี เป็นเสียงฟ้าร้อง   เคาะกะลากับพื้น เป็นเสียงม้าวิ่ง
    จากหนังเรื่อง นางสาวสุวรรณ
          เมื่อเวลาผ่านมา  ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้มีกองภาพยนตร์ เผยแพร่ข่าวเกิดขึ้นในกรมรถไฟ   และเกิดถ่ายภาพยนตร์ไทยขึ้นในสยาม เรื่องแรก คือ นางสาวสุวรรณ ( พ.ศ. ๒๔๖๖ ) หลังจากนั้นก็เกิดบริษัทสร้างภาพยนตร์ไทยขึ้นมา ชื่อ บริษัท ถ่ายภาพยนตร์ไทย  ประกาศจะสร้างหนังของคนไทยขึ้นเป็นเรื่องแรก  แต่ถูก  กรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัท  ชิงตัดหน้า สร้างเสร็จและออกฉายก่อน ทำให้ หนังไทยเรื่องแรก  กลายเป็นเรื่อง  โชคสองชั้น ( กรกฎาคม 2470 ) แทนที่จะเป็น ไม่คิดเลย (กันยายน 2470 ) เนื่องจาก  กรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัท  ซึ่งก่อตั้งโดย สองพี่น้องตระกูลวสุวัต มีความชำนาญในการถ่ายทำมากกว่า  ( ผมมีเกร็ดเรื่องนี้จะเล่าให้ฟังในโอกาส ต่อไปด้วยครับ แวะมาติดตามน่ะครับ  )  หนังไทย จึงถือกำเนิดขึ้นมา และได้รับการต้อนรับจากชาวสยามอย่างดี
  
 หนังไทย ที่สร้างโดยคนไทย เรื่องแรก โชคสองชั้น
             ช่วงนี้เอง พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นช่วงหัวต่อ ของหนังเงียบกับหนังเสียง หนังฮอลลีวู้ด เริ่มมีหนังเสียง (Sound on film ) เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์หนังเสียงเข้ามา  ทำให้หนังเงียบเริ่มเสื่อมความนิยม โดยเฉพาะหนังที่มีบทเจรจามากๆ  จึงเกิดการแปลบทให้ฟัง  โดยให้ผู้ชายใส่ชุดราชปะแตน นุ่งผ้าม่วง  ยืนถือโทรโข่งคอยแปลบทเจรจาเป็นภาษาไทย  เป็นอย่างนี้สัก 2-3 ปี ก็เกิดหนังเสียงเข้ามาแทนที่ หนังเงียบจนหมดสิ้น
             แต่หนังเสียงในยุคแรกๆ  เมื่อพูดมาเป็นภาษาต่างประเทศ ผู้ชมชาวไทยก็ไม่เข้าใจ  จนนายสิน สีบุญเรือง   ได้คิดปรับปรุงการการพากย์โขนสด มาเป็นพากย์หนังสด  เขาผู้นี้ได้คิดค้นดัดแปลง โดยเขาเป็นผู้พากย์คนเดียว  ทั้งเสียง ผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก คนชรา   แม้กระทั่งเสียงประกอบ อย่าง สิงสาราสัตว์ เสียงปืน เสียงประกบต่างๆ  จนมีชื่อเสียงโด่งดัง  ผู้คนชื่นชอบ ในนาม ทิดเขียว ซึ่งมาจากนามปากกาของนิตยสารภาพยนตร์ของบริษัทที่เขาทำงานอยู่ คือ สยามภาพยนตร์บริษัท 
          ต่อมา จึงมีการพัฒนาเป็นพากย์ 2 คน หญิงชาย  และ พัฒนามาเป็น การอัดเสียงไว้ ไม่ต้องพากย์สด ทุกๆ ครั้ง

จนกระทั่งปี ๒๔๗๓ สองพี่น้อง วสุวัต  ได้สนใจดัดแปลงอุปกรณ์ และสามารถสร้างหนังเสียงของไทยขึ้นสำเร็จ  คือ ภาพยนตร์ไทยเรื่อง หลงทาง ( พ.ศ. ๒๔๗๔)  และต่อมาจึงใช้ชื่อกิจการว่า ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง  ซึ่งในยุคนั้น เกิด การเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น โดยคณะราษฎร์  แต่ทางศรีกรุง มีความสัมพันธ์อันดีกับคณะราษฎร์ จึงได้รับการสนับสนุน  สามารถจัดสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงขนาดเล็กในชานเมือง กรุงเทพฯ
                   ช่วงนี้ผู้สร้างภาพยนตร์ก็เกิดและล้มหายไปสลับกัน ผู้สร้างหนังรายย่อย  เกิดการใช้ฟิล์มขนาดเล็กลง ฟิล์ม 16 มม. มาถ่ายภาพยนตร์ และเป็นภาพยนตร์เงียบ ใช้วิธีการพากย์แบบ ทิดเขียว เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง  ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม  บางทีมากกว่าหนังเสียงเสียอีก    หนังไทยขณะนั้น จึงมี 2 แนวทาง คือ หนังเสียง และ หนังเงียบ ( หนังพากย์ )

หนัง สุภาพบุรุษเสือไทย  หนังยุค 16 มม. ที่ได้รับความนิยม
เมื่อ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  บ้านเมืองเข้าสูภาวะสงคราม ทุกอย่างหยุดชะงัก   เมื่อสงครามสงบ  ทางสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาช่วยกอบกู้วงการภาพยนตร์ และกิจการโรงหนัง    ฟิล์มภาพยนตร์เป็นสิ่งที่หายาก และมีราคาแพง  ผู้สร้างหนังไทยจึงหาทางออก โดยการสร้างเป็นหนังเงียบ ขนาด 16 มม. แทน  ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม  บางทีมากกว่าหนังเสียงเสียอีก  ยุคนี้ จึงกลายเป็นยุคทองของหนัง 16 มม. ต่อมา  โดยมีการพากย์แบบทิดเขียวเป็นต้นแบบ  ลองคิดถึงหนังกลางแปลงในยุคแรกๆ ดูครับ
นักพากย์ที่ถือว่า ได้รับความนิยมในช่วงหนัง 16 มม. ได้แก่ รุจิรา - มารศรี , พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง)  , เสน่ห์ โกมารชุน ฯลฯ

หนัง  มนต์รักลูกทุ่ง  หนัง 35 มม  เสียงในฟิล์ม  ได้รับความนิยมมาก  จนหนังไทยในยุคหลังต้องเปลี่ยนเป็น 35 มม. เสียงในฟิล์มหมด  ทำให้ หนัง 16 มม. ตายในเวลาต่อมา
จนเมื่อหมดยุคหนัง 16 มม. หนัง 35 มม เสียงในฟิล์มเข้ามาแทนที่  แต่ดาราก็ยังใช้เสียงนักพากย์มาพากย์แทนตัวเองจนบางครั้งเราไม่เคยได้ยิน เสียงจริงๆ ของดาราเลย  หากใช้เสียงจริง ดาราหลายคนอาจไม่มีโอกาสได้เกิดก็ได้ จริงไหมครับ  ยุค 35 มม. ก็มีนักพากย์อีกหลายคนที่ได้รับความนิยมครับ เช่น คุณรอง  เค้ามูลคดี พากย์เสียงคุณสมบัติ   คุณ จุรี โอศิริ , คุณดวงดาว จารุจินดา , คุณตุ๊กตา จินดานุช , คุณมนตรี เจนอักษร ฯลฯ 
รู้สึกว่า ในช่วงปี 2534 ( ไม่แน่ใจว่าเริ่มมีการพากย์เสียงโดยผู้แสดงเองจริงๆ เรื่องแรกคือเรื่องอะไร)  อาจจะมีดารา บางคนเริ่มมาพากษ์เสียงตัวเองบ้างแล้ว  อย่าง คุณสินจัย หงษ์ไทย 
  
2499 อันธพาลครองเมือง  เป็นหนังไทยที่ใช้เสียงดาราพากย์เองทั้งหมด
จน ปัจจุบัน หนังไทยมักจะใช้เสียงของดารามาพากษ์เสียงตัวเอง หรือ บางเรื่องก็อาจเป็น Sound on film แบบอัดเสียง ระหว่างการถ่ายทำจริงไปเลยทั้งหมดแล้ว



ขอขอบคุณข้อมูลจาก  หนังสือร้อยปีหนังไทย  . Thai movie poster

http://www.oknation.net/blog/moviehall/2008/01/20/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น