มหาบัณฑิตวัยย่าง ๘๐ ถ่ายรูปกับลูกหลานที่มาร่วมแสดงความยินดีที่กรุงเทพฯ (๑๑ มีนาคม ๒๕๕๓)
ไฮ ขันจันทา | |
การศึกษา | ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
ภูมิลำเนา | บ้านโนนตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี |
เกิด | วันศุกร์ เดือน ๑๒ ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๗๔ |
พ่อแม่ | นายคำพา-นางคูณ เคนงาม |
พี่น้อง | ๘ คน ๑.โฮน ๒.แอ ๓.เกี้ยว ๔.เผือก ๕.ใบ ๖.ไหว ๗.ใส ๘.ไฮ |
ลูก | ๑๔ คน (เสียชีวิตเมื่อยังเด็ก ๔ คน เหลือ ๑๐ คน) ๑.คำพัน ๒.บัวผัน ๓.กรองแก้ว ๔.บุญโฮม ๕.อาภรณ์ ๖.บัวสอน ๗.คำมอญ ๘.เขมพร ๙.ชิตณรงค์ ๑๐.เพ็ชร |
หลาน-เหลน | ๘๐ กว่าคน |
ประสบปัญหา | ฝายห้วยละห้า ของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ทำน้ำท่วมที่นา |
ประสบการณ์ | ต่อสู้เรียกร้องโดยร้องเรียนตามส่วนราชการ และการประท้วง รวม ๒๗ ปี |
ประสบความสำเร็จ | ได้ที่นารวม ๖๑ ไร่คืนเมื่อปี ๒๕๔๗ และเพิ่งได้เงินบรรเทาความทุกข์ยาก ๑.๒ ล้านบาท |
แทบทั้งชีวิตในวัยย่าง ๘๐ ปี นางอยู่นอกสายตาสังคมมาโดยตลอด เฉกเช่นคนเล็กคนน้อยทั่วไป โดยเฉพาะในช่วง ๒๗ ปีที่ออกเรียกร้องทวงที่นาคืน นางแทบไม่ต่างจากฝุ่นธุลีในสายตาคนของรัฐ-ในส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
จนในวาระงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหงปีนี้ (๒๕๕๓) ก็ปรากฏชื่อนางเป็นผู้ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างที่สุดของประเทศไทย
โดยฐานะทางการศึกษา นางจบแค่ชั้นประถม ๔ จากโรงเรียนประชาบาลในหมู่บ้านชายแดนริมฝั่งโขง เมื่ออายุ ๑๔ ปี จนวัยล่วงเข้า ๘๐ ก็มาได้ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ถือเป็นเกียรติประวัติของหญิงชาวนานักต่อสู้-ผู้ได้รับ และนับเป็นเกียรติเป็นศรีแก่สถาบันการศึกษาชั้นนำกับการประสาทปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่บุคคลผู้ควรได้รับการยกย่องอย่างแท้จริง จากการใช้หลักรัฐศาสตร์ตามวิถีชาวบ้านต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เรียกร้องตามทวงที่นาของตนอย่างอดทนยาวนาน กระทั่งรัฐต้องยอมรับความผิดพลาดและชดเชยเยียวยาความเสียหาย เรื่องราวชีวิตนางกลายเป็นสัญลักษณ์และกรณีตัวอย่างการต่อสู้เรียกร้องของภาคประชาชน
งานรับปริญญาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงปีนี้ ไฮ ขันจันทา ดูจะเป็นมหาบัณฑิตที่โดดเด่นเป็นหน้าเป็นตาของมหาวิทยาลัยมากที่สุด ภาพและเรื่องของนางเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวัน และนางยังเป็นบัณฑิตที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพิเศษ ด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชปฏิสันถารกับนางภายหลังเสร็จสิ้นพิธี
และเมื่อภาพและเรื่องราวของบัณฑิตผู้เฒ่าไปปรากฏอยู่ใน www.oknation.net/blog/oakvanda ก็มีเสียงร่วมแสดงความยินดีเข้ามาอย่างล้นหลาม
“ดีใจกับยายไฮ น้ำตาไหลเลย ขอบคุณที่สังคมยังมองเห็นคุณค่ายายไฮ ยายคือไอดอลของผู้หญิงไทย ของคนไทย ของคนรากหญ้าที่หาญกล้าด้วยมือของตัวเอง ๓๒ ปีกับการต่อสู้กับห้วยละห้า ผ่านรัฐบาลนับไม่ถ้วน ทั้งรัฐบาลเผด็จการ รบ.ประชาธิปไตยครึ่งใบ รบ.ปชต.เต็มใบ จนสามีตรอมใจตายเพราะครอบครัวยายเรียกร้องสิทธิของตัวเอง ปริญญาอาจน้อยไป แต่สังคมได้แบบอย่างคนสู้แห่งคุณธรรม ไม่งอมืองอเท้า ไม่ท้อถอย ไม่กลัวจะล้มเหลวไม่หวั่นอุปสรรค ไม่ยอมแพ้ต่อความอยุติธรรม นี่คือสิ่งที่ยายมอบให้คนไทย ขอกราบแทบเท้ายายค่ะ และขอรับไม้ต่อจากยายต่อสู้กับความอยุติธรรม จะไม่ปล่อยคนชั่วคนผิดให้ลอยนวล...!!!” (kwant, ความคิดเห็นที่ ๗)
“ปลื้มใจกับยายมากๆ ครับ ทำให้ผมคิดถึงแม่ผมครับ มหาบัณฑิต ยายในดวงใจครับ” (ดินดำน้ำชุ่ม, ความคิดเห็นที่ ๑๑)
“นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่แห่งหน้าประวัติศาสตร์ประเทศไทยถูกประกาศอย่างเป็นทางการวันนี้ โดย ม.รามคำแหง สมกับเป็นมหา’ลัยเปิดที่ยายไฮสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกจริงๆ ขอแสดงความยินดีมากๆ กับยายไฮด้วยคนค่ะ” (lim, ความคิดเห็นที่ ๒๒)
“ยินดีกับคุณยายสุดๆ ค่ะ... คุณยายเป็น idol ของหนู :)” (pornsuri, ความคิดเห็นที่ ๔๐)
ยายไฮเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ หลังวันสตรีสากล ๑ วัน หากจะนับว่านี่เป็นรางวัลแด่หญิงยอดนักสู้สำหรับปีนี้ด้วย ก็คงนับได้อย่างไม่เกินเลยความจริง
แม่ใหญ่ ไฮ ขันจันทา หญิงนักต่อสู้แห่งหมู่บ้านโนนตาล อุบลราชธานี ได้คืนสู่วิถีของชาวนาอีกครั้ง หลังใช้เวลา ๒๗ ปีเรียกร้องทวงที่นาที่จมอยู่ใต้ฝายห้วยละห้า จนได้คืนมาในปี ๒๕๔๗ กระทั่งได้รับการยกย่องจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมอบปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้ในปี ๒๕๕๓ (มิถุนายน ๒๕๔๗)
ที่นามรดกตกทอดจากปู่ย่าตายาย กลายเป็นผืนดินแข็งกระด้างแตกระแหงเพราะจมน้ำมานาน ได้ที่นาคืนมาแล้ว คงต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการพลิกฟื้นให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ดังเก่า (พฤษภาคม ๒๕๔๗)
แต่ทั้งนี้ เนื้อแท้ในความเป็นนักต่อสู้ของ ไฮ ขันจันทา หญิงชาวนาบ้านโนนตาล อำเภอนาตาล อุบลราชธานี คงไม่ใช่แค่เรื่องวูบวาบชั่วแล่นหรือเพียงวาระประจำปี หากนางได้เดินทางอย่างเงียบๆ และโดดเดี่ยวมาร่วม ๓ ทศวรรษบนถนนของการต่อสู้-กว่าจะเป็นที่รู้จักของสังคม และคงจะเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้แก่คนที่กำลังต่อสู้อยู่กับสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้-ไปได้ไม่รู้จบ
จุดผันเปลี่ยนของชีวิต เกิดขึ้นในวันที่นางลุกออกไปขุดเขื่อน
วีรกรรมของนางเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวัน ในช่วงต้นฤดูร้อนปี ๒๕๔๗ แล้วไปปรากฏต่อสายตาของคนในทีมงานรายการทีวีซึ่งมีพื้นเพเดิมอยู่ในอำเภอติดกัน นางได้รับเชิญไปออกรายการสนทนาถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ ได้บอกเล่าถึงความทุกข์ยากยาวนานของการตกเป็นเหยื่อความอยุติธรรมจากการกระทำของหน่วยงานรัฐ
ชะตากรรมความระทมทุกข์แต่หนหลังถูกแพร่สู่ผู้ชมทุกชนชั้น-ทั่วประเทศ
ไฮ ขันจันทา หญิงชราที่ใครทั่วไปมักเรียกแกว่า ยายไฮ และตามความเป็นจริงแกก็เป็นยายของหลานๆ หลายสิบคน แต่โดยคำเรียกขานของคนพื้นบ้านอีสานมักเรียก ยาย ว่า แม่ใหญ่ ในหมู่คนร่วมถิ่นจึงเรียกขานแกว่า แม่ใหญ่ไฮ หรือแม่ไฮ มากกว่าจะเรียกป้าเรียกยายอย่างคนในเมือง
พื้นเพของนางเป็นชาวบ้านโนนตาล อำเภอนาตาล อุบลราชธานี มาแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดนับร้อยสองร้อยปี นางบอกว่ากองฟอน (เชิงตะกอน) ที่เผาศพปู่ก็อยู่บนที่ดินผืนนั้น เช่นเดียวกับรกของนางที่ฝังอยู่ที่นั่นเช่นกัน
นางเป็นลูกสาวหล่า (คนเล็ก) ของพ่อคำพา-แม่คูณ เคนงาม มีพี่น้อง ๘ คน (ชาย ๔ หญิง ๔) นางเล่าความน่ารักของพี่ๆ และความอบอุ่นในครอบครัวชาวชนบทเมื่อ ๘๐ ปีก่อนว่า “โตมาได้เพราะบุญคุณพี่ พ่อตายตั้งแต่ฉันอายุได้ ๓ ขวบครึ่ง พี่ๆ เขาฮักแพงน้องผู้น้อย บอกให้อุ้มก็อุ้ม อยากได้นุ่งซ่งอ้าย ก็แก้ให้นุ่ง พี่สาวได้อะไรมาคำหนึ่งก็ส่งให้ถึงปาก” จนเมื่อแบ่งมรดกที่นาของแม่ พวกพี่ผู้ชายก็ไม่ได้เอา ยกให้น้องสาวทั้งหมด--ก็ที่นาผืนนั้นเองที่ต่อมาจมน้ำฝาย และลูกสาวสุดท้องของครอบครัวตามทวงอยู่ ๒๗ ปี จนแก่เฒ่าจึงได้คืน
เมื่อโตเป็นสาว นางแต่งงานกับหนุ่มรุ่นพี่ในหมู่บ้านชื่อ ฟอง ขันจันทา ตอนอายุ ๒๐ ปี มีลูกคนแรกเมื่ออายุ ๒๔ และอีกหลายๆ ปีต่อมารวม ๑๔ คน (เสียชีวิตเมื่อยังเล็ก ๔ คน เหลือ ๑๐ คน) นางได้มูน (มรดก) จากพ่อแม่เป็นที่นา ๑๘ ไร่ กับของสามี ๒๗ ไร่ สืบทอดวิถีชาวนากันมาอย่างแข็งขันมั่นหมายถึงอนาคตที่มั่นคงของครอบครัว
ถึงฤดูเพาะปลูกก็ไถหว่านปักดำข้าวกล้า เก็บเกี่ยวได้ข้าวมาก็ขายเอาเงินลงทุนค้าวัวค้าควาย ถึงหน้ามะขามออกก็ไปซื้อมาขาย ได้กำไรก็มาซื้อที่ดินสะสมไว้ ฝนมาก็ลงนาเพาะปลูกฤดูกาลใหม่ วิถีชีวิตวนเป็นวัฏจักรอยู่ในวงรอบฤดูกาล
นางกับสามีวางแผนกันไว้ว่า จะซื้อที่นาให้ได้ครบ ๑๐ แปลง สำหรับลูกๆ ทั้ง ๑๐ คนได้มีต้นทุนชีวิตไปสร้างครอบครัวตัวเองในวันข้างหน้า แต่แล้วความหวังก็มีอันต้องพังทลายลงกลางคัน เมื่อคันฝายถูกสร้างทับลงบนที่นาของนาง
“สมเด็จพระเทพฯ ทรงเมตตาสนพระทัยเรื่องราวชีวิตแม่ไฮ ขันจันทา”
พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ภายหลังยายไฮออกรายการทีวี เนื้อข่าวบอกด้วยว่านายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้สั่งการให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีลงไปดูข้อเท็จจริงในพื้นที่
ฝายห้วยละห้าในวันที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีมาเห็นเมื่อช่วงกลางปี ๒๕๔๗ ยังคงสภาพความเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่ แม้ยายไฮจะเจาะคันออกเป็นช่อง น้ำเริ่มไหลระบายออกไปบ้างแล้ว
คันเขื่อนสูง ๗.๓ เมตร วางตัวตามแนวเหนือใต้เป็นแนวยาวราวครึ่งกิโลเมตร สันของมันกว้างพอให้รถยนต์วิ่งสวนกันได้ ปลายทางด้านใต้ทอดออกมาจากตัวหมู่บ้านผ่านบึงฝายมาสู่บ้านลูกชายคนโตของแม่ไฮที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวริมบึง
สันฝายนั้นตั้งอยู่บนที่ดินของยายไฮ และปิดบนลำห้วยละห้า จนเอ่อเป็นแอ่งน้ำ ทางใต้ฝายลงไปที่ยังคงรูปเป็นทางน้ำ ไหลไปลงลำห้วยกระจีน ก่อนออกไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่อยู่ไม่ไกลเกินคนในถิ่นจะเดินไปมาหากินได้
ฝายห้วยละห้า ตามข้อมูลเดิมของทางการว่ามีขนาดราว ๑๒๐-๑๕๐ ไร่ แต่การเก็บกักจริงกินเนื้อที่ร่วม ๔๐๐ ไร่ พ้นแนวขอบน้ำขึ้นไปเป็นเวิ้งทุ่งนาแผ่ผืนกว้างขวางไปจดทิวไม้ที่ตีวงโอบล้อมขึ้นประสานกับขอบฟ้า
ท้องทุ่งนาอันไพศาลที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีหรือใครได้แลเห็นนั้น เป็นของใครต่อใครที่เจ้าของคงอยู่ทุกข์สุขไปตามอัตภาพ ไม่นับรวมแม่ใหญ่ไฮ ขันจันทา ที่อุกอั่งในอกมาแต่หนุ่มจนแก่ กับการที่นาต้องจมหายอยู่ใต้น้ำมา ๒๗ ปีแล้วไม่ได้เห็น
“ตอนมาให้เซ็นยินยอม เขาบอกว่าจะท่วมแค่ป่าละเมาะริมห้วย เล็กๆ น้อยๆ” แม่ใหญ่ไฮเล่าความหลังในช่วงปี ๒๕๒๐ “แต่แม่ก็บ่เซ็น เพราะเป็นที่นาของปู่ของย่า จะยกให้หลวงสร้างฝายได้อย่างไร”
แต่โดยอำนาจเล่ห์กลของคนในระบบราชการเมื่อยุค ๓๐ กว่าปีก่อน ฝายห้วยละห้าก็ถูกสร้างขึ้นจนได้ จากการเซ็นยินยอมโดยเจ้าของที่ดิน ๒๐ กว่ารายโดยไม่มีการเวนคืนหรือชดเชยความเสียหาย มีแต่นางไฮ ขันจันทา นายฟอง ขันจันทา นายเสือ พันคำ เพียง ๓ รายที่ไม่ยอมเซ็น
“คนที่มาให้เซ็นสะพายปืนมาด้วย แต่น้องบอกอย่าเซ็น” พ่อเสือ พันคำ สามีแม่ใหญ่ใสผู้เป็นพี่สาวของแม่ไฮ เล่าเสริมน้องเมีย “ต่อมาเมื่อสร้างฝายแล้วเขาก็ยังเอาไก่ เอาปลา เอาพันธุ์ข้าวพันธุ์ถั่วมาให้ แต่เอาอะไรมาล่อเฮาก็บ่เซ็น”
“เอาอะไรให้ก็ไม่เอา” แม่ไฮว่า “จะให้ฉันไปเซ็นเอาพันธุ์ถั่วลิสง ๒ กิโล เป็ดไก่คนละ ๓ ตัว เขาว่ามาสงเคราะห์ให้มาเซ็นเอา พวกเราไม่เอากลัวเป็นแผนมาหลอกให้เซ็นยอมรับความเสียหาย กลัวจะไปติดกับดักเขา เอาช้างไปแลกกระบอง ใครจะยอมได้”
การก่อสร้างดำเนินไปในช่วงเก็บเกี่ยว ข้าวในนาแม่ไฮเกี่ยวไม่ทันเสร็จก็ถูกรถแทรกเตอร์ดันดินมาถมกลบ
“แม่ยังได้เอามีดอีโต้ไล่ฟันเลย” คำพัน ลูกชายคนโตของแม่ไฮ ยังจำเหตุการณ์ช่วงท้ายปี ๒๕๒๐ ได้ ตอนนั้นเขาโตเต็มหนุ่มแล้ว “ต่อมาเขาเอาหลานแม่มาขับ แม่ว่าอะไรก็ช่าง มึงไม่ต้องมาดุนที่นากู แต่พอแม่ไปสวนที่ริมโขง เขาก็มาดันที่ถมข้าว”
ฝายถูกสร้างเสร็จในช่วงฤดูร้อนปี ๒๕๒๑ ฤดูฝนปีนั้นฝนตกหนักมาก ระดับน้ำในฝายท่วมท้นขึ้นอย่างรวดเร็ว
“คนที่เชื่อตามเขาบอกว่าจะไม่ถูกน้ำท่วม ปรากฏว่าไม่กี่วันมันท่วมขึ้นไปถึงหมด บางเจ้าหมดไปหลายสิบไร่ และมีคนช็อกตายคาเถียงนา”
อาจารย์สำเริง รูปสวย ครูประชาบาลที่เป็นเพื่อนบ้านของยายไฮ ซึ่งในเวลานั้นเป็นบัณฑิตหนุ่มหัวก้าวหน้า เล่าว่า “สมัยนั้นคนพูดอะไรได้ไม่มาก เพราะจะถูกป้ายสีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ครอบครัวยายไฮก็ทำนาหากินของแกอยู่ตามประสา ใกล้ที่นาของแกเดิมเป็นฝายทางเมือง เป็นแหล่งน้ำของคน ๒-๓ หมู่บ้านอยู่ก่อนแล้ว แต่ รพช. หรือสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทมาสำรวจแล้วบอกว่าถ้าทำอ่างขึ้นมาจะเก็บน้ำได้มากขึ้น ยายไฮเป็นห่วงว่าน้ำมันจะท่วมถึงไหน แกไม่ยอมเซ็น ก็มีขบวนการข่มขู่เยอะ นายอำเภอ ปลัด ผู้ใหญ่บ้าน ผมเห็นปัญหาตรงนี้มาตลอด แต่ก็จนปัญญา เพราะคนแทบทั้งหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับยายไฮ เขาว่าฝายมันเป็นการพัฒนา จะได้มีกุ้งหอยปูปลากิน
“ปี ๒๕๒๑ ฝายสร้างเสร็จ น้ำเต็ม ไม่มีใครกล้าพูดอะไร ยายไฮจูงลูกวิ่งกลับไปกลับมา กระวนกระวายอย่างไม่รู้จะทำอย่างไร” อาจารย์สำเริงให้ภาพในวันนั้น
ในหนังสือร้องเรียนของแม่ไฮที่เสนอต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ลงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ บันทึกว่า “เมื่อข้าฯ คิดถึงความหลังที่เคยอยู่เย็นเป็นสุขและต้องมาเป็นคนทุกข์ (คนยากไร้) เพราะน้ำท่วมที่นา คิดขึ้นมาแล้วน้ำตาไหลทุกครั้ง ทำให้ข้าฯ ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความ
อยู่รอด เพราะคิดว่ายังมีความเป็นธรรม คิดว่าสักวันหนึ่งจะได้พบกับความเป็นธรรม จะได้พบกับรัฐบาลที่เข้าใจและเห็นใจข้าฯ ตั้งใจว่าถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ข้าฯ จะดิ้นรนต่อสู้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ไม่ว่าจะสักกี่ปีกี่รัฐบาลก็ตาม เพราะว่าข้าฯ เห็นแล้วว่าขืนอยู่อย่างนี้ไปก็เท่ากับว่าตายทั้งเป็น”
นั่นเป็นที่มาของการเรียกร้องต่อสู้ยาวนานร่วม ๓๐ ปี ที่ไม่เคยรู้จักความสำเร็จ แต่หญิงชาวนานักสู้ก็ไม่ยอมย่อท้อล่าถอย ชะตากรรมแต่ละฉากตอน นางยังจำได้ฝังใจ เป็นความเจ็บปวดถึงหลั่งน้ำตาก็หลายครั้ง แต่ก็มิอาจบั่นทอนความมุ่งมั่นที่จะทวงที่นาของบรรพบุรุษคืนมาให้ได้
ในวันที่อายุล่วงมาถึง ๘๐ สายตาของหญิงนักสู้แห่งห้วยละห้าฝ้าฟางไปตามวัย แต่ประกายของความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นยังคงแวววาวไหวระริกอยู่ในดวงตาคู่เดิมนั้น กับเส้นผมที่ผ่านแดดผ่านหนาวมายาวนานก็ขาวโพลนเป็นสีหมอก แต่ความจำเมื่อ ๓๒ ปีที่แล้วยังแจ่มชัดอยู่ในหัว และเมื่อเล่าสู่คนอื่นฟัง ภาพในคืนวันระทมทุกข์เหล่านั้นก็แจ่มกระจ่างอย่างสุดสะเทือนใจ
“พอน้ำท่วมที่นา แม่ก็ร้องเรียนไปตามขั้นตอน เริ่มจากไปหาผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บอก ไม่ใช่ที่นาเรา เป็นที่นาสู ไปตามเอาเอง ไปหากำนัน เขาบอก ไม่ใช่ที่นาพ่อเรา นาพ่อเธอ ไปตามเอาเอง ก็โมโห ร้องไห้ไปอำเภอ”
เวลานั้นบ้านโนนตาลยังอยู่ในเขตอำเภอเขมราฐ ตัวอำเภออยู่ไกล ๒๗ กิโลเมตร แม่ใหญ่ไฮเดินเท้าไป เอกสารไม่ครบก็ต้องเดินกลับมาเอา ขึ้นอำเภออยู่ ๓ เที่ยวยังไม่ได้เรื่องอะไร
“ไม่พบนายอำเภอ เจอแต่ปลัด เขาบอกว่าเรื่องไม่ได้ผ่านมาทางอำเภอ ผมไม่รู้ครับ ป้าไฮกลับบ้านไปเถอะ”กลางฤดูฝนปี ๒๕๒๑ หญิงชาวนาคนทุกข์จากหมู่บ้านโนนตาลก็เดินทางเข้าตัวจังหวัด กับพ่อเสือ-พี่เขย และคำพัน-ลูกชายคนโต
แม่ใหญ่ไฮเล่าย้อนเหตุการณ์เมื่อ ๔๐ ปีก่อนอย่างเห็นภาพ
ไปถึงศาลากลางจังหวัด เขาบอกว่าผู้ว่าฯ ไปออกรายการอยู่ที่สถานีวิทยุ ก็ตามไปดักยื่นหนังสือร้องทุกข์
“น้ำท่วมเสียหายไปเท่าไหร่” ผู้ว่าฯ ถาม
ฉันใช้นิ้วขีดเป็นแผนที่ให้ผู้ว่าฯ ดูบนพื้น
ท่านบอก “แค่คืบเอง สละสิทธิ์ไปเลยไม่ได้หรือ”
“ไม่ใช่แค่คืบหรอก มันเยอะหลายสิบไร่” ฉันโมโห จับมือแกไถๆ ไปบนพื้น “ของฉันเสียหายเท่านี้ๆๆ พี่เขยเห็นดังนั้นก็รีบแก้ตัวกับผู้ว่าฯ ว่าฉันสติไม่ดี ประสาท กลัวผู้ว่าฯ โกรธแล้วเอาเรื่อง”
“พรุ่งนี้จะให้นายอำเภอไปดู” ผู้ว่าฯ พูดจริงจัง “ข้าราชการคนไหนไม่ทำตาม ผมจะสั่งขังทั้งจังหวัด”
วันหลังมา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้นก็สั่งการให้นายอำเภอเขมราฐออกมาดู
“มาพูดกันที่ใต้ร่มต้นบก แถวศาลานั่น” แม่ใหญ่ไฮชี้ไปทางฝายทางเมือง ซึ่งหลังสร้างฝายห้วยละห้า ผืนน้ำได้เชื่อมเข้าเป็นส่วนเดียวกัน “ท่านมาก็ไม่ได้พูดเรื่องที่นา คุยเรื่องโน่นเรื่องนี่ จากนั้นก็วางไมค์แล้วบอกว่าจะไปบ้านกำนันก่อน หลังจากนั้นก็ยังไม่เคยเห็นนายอำเภอท่านนั้นเลย”
จนนายอำเภอคนต่อมา
“แม่ไปฟ้องนายอำเภอคนต่อมา ว่า รพช. มาทำลายนา ยังไม่ชดเชยอะไรให้เลย เขาบ่ายเบี่ยงไปว่ารอก่อนไม่ได้หรือ แม่บอก ฉันรอไม่ไหวแล้ว แม่ร้องไห้เดินกลับบ้าน กว่าจะถึงก็ใกล้ค่ำ”
หลังร้องเรียนในพื้นที่ไม่เกิดผล ในปี ๒๕๒๓ ไฮ ขันจันทา พร้อมลูกชายคนและพี่เขยอีกคน เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยมีอาจารย์ทองสิงห์ ยืนยาว ที่พอรู้กฎหมายอยู่บ้างช่วยทำหนังสือร้องทุกข์ไปยื่นต่อนายกรัฐมนตรี
แต่ไม่ได้พบตัว
“เจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลบอกให้ไปยื่นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทย ก็เดินเท้าจากทำเนียบไปยื่นหนังสือไว้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย แล้วเดินไปหัวลำโพงขึ้นรถไฟกลับอุบลฯ”
แม่ใหญ่ไฮในวันวัยที่เรี่ยวแรงและความปราดเปรียวลดถอยลงกว่าวันนั้นมากแล้ว เว้นวรรคหายใจ ก่อนเล่าเหตุการณ์ในอีกราว ๑๕ วันต่อมา
“กลับมาถึงบ้าน แม่สานสวิง เข็นฝ้ายทอผ้าถุง ขายเอาเงินเก็บสะสมไว้ พอได้ค่ารถก็กลับไปตามเรื่องที่กรุงเทพฯ”
เมื่อไปถึงกระทรวงมหาดไทยริมคลองหลอด ทีแรกเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่เคยรับหนังสือไว้ แต่เจ้าของเรื่องจำได้ว่าเจ้าหน้าที่รับแล้วใส่ไว้ในตู้ข้างหลังที่นั่ง จึงชี้ไปว่า หนังสืออยู่ในตู้นี่แหละ เจ้าหน้าที่บอก กุญแจหาย จากนั้นมีผู้หญิงคนหนึ่งเอากุญแจมาไขเปิดให้ ก็พบหนังสือที่ยื่นไว้ หญิงชาวนาคนทุกข์ก็ครวญว่า ทำไมไม่ทำเรื่องให้ อุตส่าห์เดินทางมาไกลหลายร้อยกิโลเมตรจากอุบลราชธานี ขอให้สงสารคนจนบ้าง ไม่มีที่พึ่ง เจ้าหน้าที่จึงทำหนังสือฉบับหนึ่งให้เอามายื่นต่อผู้ว่าฯ อุบลฯ
แม่ไฮเดินเท้ากลับไปขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง ระหว่างไปไหนมาไหนอยู่ในเมืองกรุง หมู่คนทุกข์จากฝายห้วยละห้าจะเดินเท้าไปตลอด เพราะไม่มีเงินพอจะจ่ายค่ารถ เดินไปถามทางเขาไป เคยไปถามทางกับนักศึกษาคนหนึ่ง พอรู้ว่าไม่มีเงิน เขาก็ล้วงให้ ๒๐ บาท แต่แม่ไฮไม่ได้รับ แม่บอกว่าถึงมีเงินก็ไม่รู้อยู่ดีว่าจะขึ้นรถสายอะไร ไปลงตรงไหน ต่อมาเมื่อแม่ไฮออกทีวี อดีตนักศึกษาคนนั้นยังเขียนจดหมายมาหาแม่ไฮว่าเขายังจำแม่ไฮได้
ยี่สิบกว่าปีที่ราชการพรากเอาที่ทำกินทั้งผืนไปจากคนบ้านป่าในหมู่บ้านสุดชายแดน เป็นช่วงเวลายาวนานพอจะเปลี่ยนชาวนาวัยกลางคนให้กลายเป็นหญิงชรา เนื้อหนังยับย่น หลังไหล่คู้ค่อมลงตามวัย ทำให้ร่างเล็กๆ ของแกยิ่งดูเตี้ยลงอีก แต่แววตาท่าทีอย่างคนสู้คนนั้นยังคมวาวไม่มีล้าโรยตามความชรา และอาจเป็นดวงตาคู่นั้นเองที่ทำให้ผู้คนจดจำนางได้ ไม่ว่าคนดูโทรทัศน์ในช่วงปลายฤดูร้อน ปี ๒๕๔๗ หรือใครที่ได้พบเห็นกันมาหลายปีก่อนหน้านั้น
กลับจากกรุงเทพฯ คราวนั้น นางเอาหนังสือจากกระทรวงมหาดไทยไปยื่นต่อผู้ว่าฯ ที่ศาลากลางจังหวัดอุบลฯ
ผู้ว่าฯ เรียกหัวหน้า รพช.จังหวัด เข้ามาร่วมเจรจาด้วย
“ป้า มาคุยกัน” หัวหน้า รพช. นั่งลงพลางบอก “ป้าไม่รู้หรือ เขายกเลิกที่นา”
“ทำไมยกเลิก? ขอให้ยกเลิกทั่วประเทศไทยนะ ฉันก็ไม่อยากเป็นชาวนาเหมือนกัน แต่ยกเลิกของฉันคนเดียว ฉันไม่ยอมหรอกค่ะ”
หัวหน้า รพช. คงเสียหน้าหรือจนคำพูด ก็บอก “ป้าไม่รู้อะไร ช้างมันเหยียบปากนก”
ถึงนกจะตัวน้อย แต่ท่านรู้ไหมมันจิกตาช้างได้... หญิงชาวนาคนยากได้แต่โต้ตอบในใจ
เจอคำคุกคามข่มขู่ของเจ้าหน้าที่รัฐจนชาชิน
“เดี๋ยวเขาจับยายเข้าตะรางไม่มีวันออกหรอก”
“ช่างเถอะ สิทธิของฉัน” ตั้งใจมั่นว่าจะสู้จนกว่าจะได้ที่นาคืน
“เคยเรียนกฎหมายรู้กฎหมายบ้างไหมนี่”
“เรียนความจริงค่ะ” ฉันบอก “ฉันไม่รู้กฎหมาย แต่ฉันรู้ความจริง ยังไงความจริงก็คือความจริง”
แม่ใหญ่ไฮพูดใส่หน้าเจ้าหน้าที่รัฐในวันนั้น และยังจำคำเดิมมาพูดให้ใครๆ ฟังได้ในวันนี้
“ความจริงเหนือกว่ากฎหมาย กฎหมายหามาจากที่ไหนก็ได้ ความจริงมันยิ่งกว่า แม่สู้ด้วยความจริง กฎหมายเขียนด้วยมือลบด้วยตีนได้ ความจริงใครก็ลบไม่ได้ ฆ่าแม่ก็ลบไม่ได้ แม่พูดไปตามความจริง ผิดหรือถูกกฎหมายไม่รู้
“ถ้าเขาอยากจับแม่ ให้เขาเอาใบสิทธิ์มา จะยอมให้จับ” แม่ใหญ่ไฮท้า “แต่ฉันมีใบแสดงกรรมสิทธิ์ อย่างนี้ใครจะจับใครกันแน่”
ความเด็ดเดี่ยวของแม่ใหญ่ไฮนั้น แม้แต่คนเป็นสามียังออกปาก
“เจ้าน่ะมันเกินคน” พ่อฟองพูดกับเมีย ในคืนวันรอนแรมไปตามที่ต่างๆ ด้วยกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิในที่นาคืน “ทำไมต้องทำขนาดนี้ เราจะเอาอะไรไปสู้กับเขา”
แล้วพ่อฟองก็ร้องไห้ออกมา แม่ใหญ่ไฮบอกว่าแกเห็นแล้วสุดสงสาร หลังจากนั้นเลยไม่บ่นเรื่องความยากลำบากในการต่อสู้ให้สามีฟังอีก เก็บไว้ในอกคนเดียว
“รัฐบาลเอาภูเขามาเต็งอกแม่ แต่แม่จะยกออก เฮาเกิดมาเป็นลูกชาวนา เฮาต้องรักษาสิทธิ เฮาบ่ละเมิดใคร และไม่ละเมิดสิทธิตัวเอง ถึงฤดูเสียภาษีก็เสีย ไม่มีเงินก็ไปรับจ้าง น้ำท่วมก็เสีย อยู่ที่ไหนแม่ก็เสีย เพราะเป็นสิทธิของแม่”
เพิงพักโกโรโกโสริมคันฝาย ที่มั่นสุดท้ายที่แม่ใหญ่ไฮมาปักหลักต่อสู้กับรัฐบาลที่กำลังเข้มแข็งที่สุดอย่างโดดเดี่ยว จนแกเป็นฝ่ายได้ชัยอย่างไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นไปได้ ตอนนั้นแม่ไฮอายุ ๗๔ ปี แต่ประกายและจิตวิญญาณของความเป็นนักสู้ยังคงไหวระริกอยู่ในแววตาที่ไม่มีโรยล้าไปตามรูปกายภายนอกเลย (พฤษภาคม ๒๕๔๗)
สามนักสู้แห่งห้วยละห้า พ่อเสือ พันคำ (เสื้อดำ) แม่ไฮ และ พ่อฟอง ขันจันทา เป็นชาวบ้าน ๓ รายที่ไม่ยอมเซ็นยินยอมมอบที่ดินให้สร้างฝาย และด้วยหลักฐานการถือกรรมสิทธิ์นี้เองที่แม่ไฮใช้เป็นหลักยึดในการต่อสู้จนได้ชัยชนะ ได้ที่นาคืนในที่สุด ภาพนี้ถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗ ไม่ทันได้เห็นผลิตผลรุ่นแรกจากที่นาที่เพิ่งได้คืน พ่อเสือก็จากไปในปี ๒๕๔๘ ต่อมาในปี ๒๕๕๐ พ่อฟองก็จากไปอีกคน
หญิงชาวนานักสู้แห่งห้วยละห้า อดทนเดินทางเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างบากบั่น แม้เสียงร้องของนางแทบไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานที่เป็นผู้ก่อกรรมทำเข็ญต่อครอบครัวของนาง ความทุกข์และสิ่งที่สูญเสียไม่มีใครร่วมรับรู้
“แล้วแต่เพิ่นสิคิดเห็น เปรียบเหมือนเพิ่นทำงานแล้วบ่ได้เงินเดือนมา ๒๗ ปี” แม่ใหญ่ไฮพูดถึงข้อเรียกร้องอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว “ไม่ใช่ว่าคุยถ้าน้ำไม่ท่วม ทำนา ๒ ปีก็ซื้อที่ได้แปลงหนึ่ง มีลูก ๑๐ คน ก็กะว่าจะเอา ๑๐ ที่ ให้มีมรดกแก่ลูกทุกคน ซื้อที่ดินได้แล้ว ๓ ที่ พอโดนน้ำท่วม ฉันก็ขายกินหมด ทุกวันนี้บ่มีหยังจะแบ่งให้”
จากคู่ผัวเมียชาวนาที่มีอันจะกิน กำลังก่อร่างสร้างฐานะอย่างขยันขันแข็ง พอโดนน้ำท่วมนา ฐานะของครอบครัวก็มีแต่ตกต่ำลง
จากที่เคยมีโรงสี ซื้อข้าวมาสีเป็นข้าวสารขาย กลับต้องเดินเร่ร่อนขอข้าวเพื่อนบ้านมาประทังชีวิตคนในครอบครัว
“ต้องหาหอยหากุ้งไปแลกข้าว บางวันก็มีบางวันก็ไม่มี เอามาต้มมาหุงให้ลูกกินหลานกิน แม่นอนท้องเปล่า เสียไร่เสียนา ทุกข์ทั้งใจทุกข์ทั้งกาย คิดแล้วก็อัดอั้นใจว่าที่นาของเราให้รัฐบาลเอาไป แม่ต้องเอาคืน”
หลังจากที่นามรดกจมอยู่ใต้แอ่งฝาย ทรัพย์สมบัติอื่นๆ ก็ทยอยตามไป ทั้งสำหรับเป็นค่ากินอยู่และเป็นทุนสำหรับการเดินทางเรียกร้องหาความยุติธรรม
“ไปเที่ยวหนึ่งก็ขายควายตัวหนึ่ง ทั้งซื้อกินทั้งเดินทาง จนหมด ๑๒ ตัว ไม่เหลือควายทำนา ลูกสาวซื้อมาจึงได้ทำ ตอนหลังก็ขายควายลูกสาวอีก หมดควายก็มาขายวัว ๑๔ ตัว หมดวัวขายม้า ๔ ตัว หมูคอกละ ๗ ตัว ๒ คอก ลิง ๔ ตัว”
รายการทรัพย์สินที่ทยอยหลุดลอยไปจากครอบครัวในคืนวันเรียกร้องที่นาคืน
“ขายสัตว์หมดก็ขายที่ดิน นา ๒ แปลง ที่ดินในหมู่บ้านอีก ๓ แปลง เอามาแก้ทุกข์แก้ยาก ขายดินที่สี่แยกกลางบ้าน แปลงที่ปากทางก็เสียไป ที่ทำเลดีๆ เขาก็ซื้อ ที่ไม่เหมาะก็ขายได้ถูกๆ ได้เงินไม่พอไปเที่ยวหนึ่ง ต้องขอลูกเพิ่มจึงได้ไป เดี๋ยวนี้หมด แม่เหลือแต่ตัวล่อนจ้อน”
“แทนที่จะได้เป็นพ่อแม่ของคนที่เป็นตำรวจ พยาบาล พ่อแม่ของครู ก็ไม่มีโอกาส” เพ็ชร ลูกสาวคนสุดท้องของแม่ไฮ พูดถึงชะตากรรมของครอบครัว ตัวเธอเองอยากเรียนต่อมาก แต่ไม่มีโอกาสได้ทำตามความฝัน เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินจะส่งเสีย
“อย่างพี่คำพัน ถ้าได้เรียนป่านนี้ก็คงมียศสูงแล้ว”
พี่ชายที่เธอพูดถึง เล่าเรื่องของตัวเองต่อ “ตอนนั้นผมเป็นพลอาสา เขาเปิดให้สอบ ผมสอบได้แล้ว ไม่มีเงินจะเรียน ออกไปทำนาที่บ้านเมีย ได้ข้าวส่งมาให้พ่อแม่ที่บ้าน”
เพ็ชรไปทำงานโรงงานตั้งแต่จบ ป.๖ ต่อมาได้ทำงานในศูนย์อนุบาลผู้ป่วย ได้เงินเดือนจำนวนหนึ่งพอให้เธอเก็บไว้ใช้จ่ายเอง และส่งให้แม่ได้ทุกเดือน
“ชาวบ้านเขาพูดกันว่า ถ้าเป็นลูกแม่ไฮ นาไม่มีสักไร่ ไก่ไม่มีสักตัว”
นั่นเป็นเรื่องที่เพ็ชรฝังใจจำมาแต่วัยเยาว์
“ตอนเด็กเวลาเอากุ้งเอาปลาไปขาย ชาวบ้านเขาจะพูดใส่ว่าของเขื่อนของนากินบ่แซบ เหมือนกับว่าของเราไม่มีค่า ไม่คุ้มกับเงินเขา ทำให้รู้สึกว่าถ้าไม่มีเงิน เราก็ต่ำต้อยอยู่อย่างนี้ ก็ตั้งใจว่าจะทำงานหาเงินให้แม่ ตอนนั้นคิดว่าจะไม่มีครอบครัว ไม่อยากให้ลูกมาลำบากเหมือนเรา”
แต่ความตั้งใจของเพ็ชรที่จะตั้งหน้าหาเงินก็ผันเปลี่ยนไปในคราวมาเยี่ยมแม่ที่ชุมนุมอยู่กับพี่น้องร่วมชะตากรรม ที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน บนสันเขื่อนปากมูล
หลังเดินทางยื่นหนังสือเรียกร้องต่อหน่วยงานราชการโดยลำพังมาเกือบ ๒๐ ปี เมื่อชาวไร่ชาวนาในภาคอีสานที่ประสบปัญหาจากนโยบายและการกระทำของรัฐ รวมตัวกันตั้งสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน (สกย.อ.) ขึ้นในปี ๒๕๓๗ แม่ใหญ่ไฮก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรประชาชนแห่งนี้
“ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ เรียกร้องคนเดียวมาตลอด เพิ่งร่วมม็อบก็เมื่อมี สกย.อ. แม่ไปเอง ไปดูแผนการของคนที่เขามีความรู้ เราไม่รู้ต้องไปเรียน”
“แกเรียนรู้มากทีเดียว แม้แต่ชาวบ้านในกลุ่มที่เราสร้างขึ้นมา ความเข้มแข็งไม่เท่ายายไฮสักคน” อาจารย์สำเริง ครูนักจัดตั้งชาวบ้าน ที่เห็นปัญหาของชาวบ้านในท้องถิ่นมาโดยตลอด ยังออกปากยอมรับ “แกเริ่มไม่กลัวคน เริ่มรู้ว่าประชาชนมีสิทธิ ต่อมาเมื่อแกกับเพื่อนชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมนาด้วยกันไปร่วมกับสมัชชาคนจน พอต่อสู้ยาวนานยังไม่เห็นความหวังก็ถอยกลับ แต่ยายไฮแกสู้จริง”
เมื่อองค์กรประชาชนนาม สมัชชาคนจน กำเนิดขึ้นในวันสิทธิมนุษยชนสากล (๑๐ ธันวาคม) ปี ๒๕๓๘ ในปี ๒๕๔๒ แม่ใหญ่ไฮ ขันจันทา กับเพื่อนชาวนาผู้เดือดร้อนอีก ๖ ราย ก็นำเรื่องฝายห้วยละห้าเข้าเป็นกรณีหนึ่งในกลุ่มปัญหาเขื่อน ปักหลักอยู่ที่สันเขื่อนปากมูล อำเภอโขงเจียม
แม่ไฮบอกว่าตอนนั้นยังไม่รู้หรอกว่าสมัชชาคืออะไร เพียงแต่คาดหวังว่ามันจะเป็นหนทางให้ได้ที่นาคืน พอเข้าไปก็ได้เห็นว่าคนที่ไปประท้วงต่างก็เป็นคนที่เดือดร้อนจริงๆ “ไม่มีใครจ้างให้มาประท้วงเหมือนที่คนกรุงเทพฯ คิดหรอก ไปกันเองทั้งนั้น ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ใครไม่มีข้าวก็ขอกันกิน ใครถามฉันก็จะบอกว่า ฉันประสบภัยน้ำท่วมที่นา ไม่ใช่ภัยจากน้ำป่าน้ำหลาก แต่เป็นน้ำจากเจตนาของรัฐบาล”
จากนั้นแม่ไฮก็ร่วมอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องของสมัชชาคนจนมาโดยตลอด ตั้งแต่หน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีจนถึงหน้าทำเนียบรัฐบาล
“โทร.กลับบ้าน พี่เขมพรบอกว่าแม่ไปชุมนุม ก็ไปเยี่ยมแม่ นอนคุยกัน แม่ก็อยากให้เราอยู่ด้วย” เพ็ชรเล่าถึงคืนเปลี่ยนชีวิตเธอจากคนขายแรงงานรายเดือนมาเป็นนักต่อสู้เคียงคู่แม่
“แม่มาตามนา เป็นนาของปู่ของย่า แม่ปล่อยไม่ได้” แม่บอกลูกสาวที่เพิ่งมาจากกรุงเทพฯ “อยู่ช่วยแม่ที่นี่เถอะ ตามเอาที่นาเราคืน”
เด็กสาวเพียงแต่รับฟัง
“ลูกไปอยู่กรุงเทพฯ สักพักก็หมดเรี่ยวแรง ทำไม่ไหวก็ต้องกลับบ้าน มาแล้วไม่มีที่นาจะทำอย่างไร”
เธอยังนิ่งเงียบ
“เจ้าไปเฮ็ดงานจนจ่อยจนเหลือง” แม่รำพึงหลังมองดูหน้าตาลูกสาวคนเล็ก แล้วพูดประโยคหนึ่งที่ตรึงเธอไว้ในขบวนการต่อสู้เรียกร้องมาจนเดี๋ยวนี้
“เงินเดือนทั้งหมดที่ลูกทำงานทุกเดือน ตั้งแต่เริ่มทำจนหมดเรี่ยวแรง รวมแล้วยังไม่เท่ากับนาของแม่ที่เสีย ถ้าแม่ได้ที่นากลับคืนมา ลูกก็จะมีที่นา ลูกของลูกก็มีที่นา เป็นหลักประกันในชีวิต ไม่ต้องไปขายแรงงานไกลบ้าน ทุกปีเราก็มีนาทำ ไม่ต้องไปเที่ยวหาเช่านาคนอื่นให้เขาดูถูก”
จากนั้นมาเพ็ชรก็เคียงข้างแม่อยู่ในการชุมนุมเคลื่อนไหวมาตลอด มีสามีมีลูกก็ในม็อบนั่นเอง
เพ็ชรเล่าว่าเธอเจอกับตี๋ในการชุมนุมที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน และต่อสู้ตามแม่ไปจนเจ็บท้องจะคลอดลูกที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
“ความจริงตั้งใจจะคลอดกับแม่ แม่เป็นหมอตำแย แต่ตอนเจ็บท้องแม่ไม่อยู่ ไปร้องเรียนแม่นายกฯ ที่จังหวัดตรัง” เพ็ชรเล่าเหตุการณ์เมื่อปี ๒๕๔๓ “พวกพี่ๆ เลยพาไปออกลูกที่โรงพยาบาล มีคนแนะนำว่าให้คลอดพิเศษ พอไปบอกอย่างนั้น พยาบาลก็ถามว่าทำงานอะไรอยู่ที่ไหน ก็บอกว่าอยู่ในม็อบหน้าทำเนียบรัฐบาล พยาบาลปฏิบัติกับเราเหมือนไม่ใช่คน พูดห้วนๆ ไม่ใส่ใจดูแล จนเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลประสานงานให้ ก็ได้คลอดปรกติ แต่ไม่ได้เสียเงิน รู้สึกเป็นหนี้แผ่นดินเหมือนกัน แต่ถ้าต้องจ่ายเราก็ไม่มีปัญญาจ่าย”
ถึงคราวต่อสู้เธอก็สู้อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน คราวนั้นเพ็ชรกับแม่ไปตามเรื่องจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่กำกับดูแลหน่วยงานคู่กรณี ก็ได้รับคำตอบว่า รพช. มีหนังสือชี้แจงมาว่า ฝายห้วยละห้าเป็นโครงการขนาดเล็ก จัดสร้างขึ้นตามคำเรียกร้องของราษฎรในพื้นที่ หากไม่ได้รับความยินยอมของชาวบ้านมาตั้งแต่ต้นก็คงสร้างไม่ได้
“จำเลยที่ไหนจะรับว่าตัวเองทำผิด” เพ็ชรสวนคำท่านรัฐมนตรี
“คุณพูดอย่างนี้คุณก้าวร้าวนี่ พูดอย่างนี้ใครจะมีจิตใจอยากจะช่วย”
“แม่ไม่ได้เรียกร้องเกินสิ่งที่จะได้รับ แม่เรียกร้องความยุติธรรม”
ฯพณฯ ตบโต๊ะใส่
เพ็ชรร้องไห้
กลับมานอนเครียดทั้งคืน ว่าพ่อแม่คงต้องตายไปก่อนได้เห็นความเป็นธรรม เช้ามาก็คิดวกวนอยู่กับความคิดเดิม ช่วงสายๆ เธอฝากลูกไว้กับพี่คำมอญ เดินข้ามสะพานข้างทำเนียบรัฐบาล
“เห็นน้ำในคลองไหล...ก็ว่าตายไปให้คนได้ลือกันทั้งโลก” แต่ไม่สำเร็จอย่างที่ตั้งใจ เพราะมีคนลงไปช่วยไว้ เธอจึงได้มานั่งเล่าความหลังอยู่ในวันนี้ “การเรียกร้องของเรา รพช. คัดค้านมาตลอด เหมือนกีดกันไม่ให้เราทำสำเร็จ ก็คิดว่าจะตายบูชายันต์รัฐบาล”
ปี ๒๕๔๓ ผ่านไปโดยรัฐบาลในเวลานั้นยังไม่มีมติจ่ายค่าชดเชย และไม่มีการพิสูจน์สิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้นในกรณีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก
จนปีถัดมา รัฐบาลชุดใหม่มีมติคณะรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน จากนั้นก็มีการตรวจสอบสิทธิ์และรังวัดพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายในกรณีฝายห้วยละห้าในอีกปีรุ่งขึ้น
เดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๔๕ พื้นที่โดนน้ำท่วมของชาวนา ๓ รายที่ไม่เซ็นยินยอม ได้รับการรังวัด ได้ตัวเลขความเสียหายของนางไฮ ขันจันทา ๑๔ ไร่เศษ นายฟอง ขันจันทา ๑๖ ไร่เศษ นายเสือ พันคำ ๒๙ ไร่เศษ
แม่ใหญ่ไฮ ผู้นำการเรียกร้อง แจกแจงรายละเอียดให้ฟังว่า
ที่นาของพ่อเสือนั้น เป็นของแม่ใหญ่ใส (เมีย) ซึ่งได้มรดกจากแม่ ๑๘ ไร่ กับอีก ๑๒ ไร่ ซื้อต่อจากแม่ใหญ่โงน พี่สาวคนโต ซึ่งเป็นมรดกเดิมที่ได้จากแม่ (คูณ เคนงาม) เช่นกัน รวมเป็น ๓๐ ไร่ โดนน้ำท่วมแทบทั้งหมด
ของพ่อใหญ่ฟอง ทั้งสิ้น ๒๗ ไร่ เป็นสิทธิ์ น.ส.๓ ๑๑ ไร่ ที่เหลือเป็น ส.ค.๑ โดนน้ำท่วมไป ๑๖ ไร่เศษ ที่เหลือก็พอได้ประทังครอบครัวมาตลอด
ส่วนของแม่ใหญ่ไฮเอง ตามเอกสาร น.ส.๓ จำนวน ๑๘ ไร่ ก็โดนน้ำท่วมเกือบทั้งแปลง
พื้นที่ความเสียหายของผู้ร้องเรียนทั้ง ๓ รายรวม ๖๑ ไร่ ได้รับการคำนวณค่าที่ดิน ค่าชดเชยการสูญเสียโอกาสตั้งแต่ปีที่โดนน้ำท่วม ได้ตัวเลขเข้าสู่คณะกรรมการฯ มีคำตอบกลับมาว่าไม่ควรชดเชยค่าเสียหายเป็นเงิน ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ไปดำเนินการจัดหาที่ดินให้แทน
ก่อนเข้าฤดูเพาะปลูก ๒๕๔๖ ก็หาพื้นที่ได้ตามที่ต้องการ ส.ป.ก. เจรจาให้แม่ใหญ่ไฮได้ทำนาในปีนั้น โดยคิดเป็นค่าเช่าในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนยังไม่เสร็จสิ้น
แล้ว ส.ป.ก. ก็เงียบหายไปแต่วันนั้น แม่ไฮเองไม่มีเงินจะจ่ายค่าเช่านา ถึงฤดูเก็บเกี่ยว เจ้าของนาก็มาตวงเอาข้าวเป็นค่าเช่า
ขึ้นปี ๒๕๔๗ มีข่าวแว่วมาว่ารัฐบาลมีทีท่าจะยกเลิกคณะกรรมการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทุกชุด ลูกๆ เล่าว่าช่วงนั้นแม่ไฮไม่ยอมหลับยอมนอน เหมือนคนเสียสติ ลูกๆ ก็สับสนอลหม่านไปหมด สุดท้าย ส.ป.ก.ก็สรุปมาว่าเรื่องที่ดินซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการนั้นเป็นอันระงับไป
“พอเอาข้าวขึ้นเล้าเสร็จ แม่ก็บอกลูกว่าไปปลูกกระท่อมให้แม่เถอะ แม่จะลงไปอยู่ที่นาเฮา” แม่ไฮ ขันจันทา วัยย่าง ๘๐ ในปีนี้ เล่าย้อนเหตุการณ์เมื่อต้นฤดูร้อนปี ๒๕๔๗ “แม่นอนไม่หลับมาตั้งแต่เดือน ๑ เดือน ๒ ไปมาหลายที่แล้ว นายกฯ ไม่รู้กี่ชื่อเรียงมา บ่ได้อิหยัง คิดอะไรไม่ออกแล้ว คิดจนไม่มีวันปลง พอเดือน ๔ ก็บอกลูกให้ไปซื้อจากคามาปลูกริมเพิงคันฝาย ก็ลงไปอยู่”
คำสั่งยกเลิกคณะกรรมการแก้ไขปัญหาทุกชุดนั่นเองที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายให้นางต้องทำอย่างนั้น ต่อสู้มา ๒๗ ปี ขณะที่วัยก็ล่วงเลย เป็นไม้ใกล้ฝั่งเข้าไปทุกที
“มันเหนื่อยในใจในกาย ลูกหลานเกิดมาบ่ได้เห็นสมบัติของตายาย เราก็ไม่ใช่อยู่ค้ำฟ้า แต่กระดูกสันหลังของแม่ข่อยบ่ให้สูญหายไปไส ข่อยสิเก็บไว้ให้ลูกหลาน”
“แม่บอกว่า อยากให้ที่นาของแม่ได้เกิด ก่อนที่แม่จะไปเกิดใหม่” ลูกสาวคนเล็กที่ร่วมต่อสู้เคียงข้างแม่มาตลอดช่วง ๑๐ ปีหลัง เล่าเจตนารมณ์ของแม่ “แม่ว่าแม่ไม่ได้เอาไปด้วยหรอก จะเอาไว้ให้ลูกๆ นั่นแหละ แม่พูดตลอดว่าเป็นมรดกปู่ย่าตาทวดสร้างมา แม่ได้ทำกิน แต่ถึงรุ่นลูกจะไม่มีอีกแล้ว กลางคืนดึกดื่นบางทีแม่ก็ปลุกลูกๆ ขึ้นมาคุย ตื่นๆ มาเว้ากัน เรื่องที่นาเฮาจะเอาจังได๋”
ลูกก็ทั้งขู่ทั้งปลอบ ไม่อยากให้แม่ลงไปอยู่ที่ฝาย ช่วงนั้นขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนแทบไม่มีองค์กรไหนกล้าขยับตัว
“ลูกๆ ห้าม ว่าช่วงนั้นรัฐบาลเขาแข็ง สื่อก็อยู่ในมือหมด ถ้าเขามาอุ้มแม่หายไป หรือจับแม่เข้าคุก พวกหนูไม่ไปด้วยนะ”
“จะจับก็จับ บ่แม่นที่เพิ่น แม่จะเอาที่นาแม่คืน” แม่ไฮรู้อยู่แก่ใจ ว่าไม่มีเวลาและหนทางอีกต่อไปแล้ว “แม่ไม่ฟังลูกหรอก แม่จะฟังแม่เอง แม่จะอยู่กับแม่เอง คนกลัวก็กลัวไปเถอะ ขอให้ไปปลูกกระท่อมให้แม่ ถึงวันมันแล้ว ห้ามอย่างไรแม่ก็ไม่ฟังแล้ว”
แม่ไฮเป็นหมอตำแยและเป็นหมอยาพื้นบ้านด้วย รักษาคนไข้ได้เงินเล็กๆ น้อยๆ เก็บสะสมมาได้ ๒,๐๐๐ บาท ก็ให้ลูกหลานไปซื้อจากหญ้าคามาปลูกเพิงให้ที่ริมคันฝาย แล้วนางก็ไปปักหลักอยู่ที่นั่นคนเดียว ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗
“อยู่ไปๆ ไม่รู้จะทำอะไร ไม่เกิดอะไร แม่ก็ว่าจะขุดเขื่อนปล่อยน้ำออก เอาที่นาแม่คืน”
ลงมาอยู่เพิงพักริมคันฝายนับวันได้ ๑ เดือน กับ ๔ วัน แม่ไฮก็ชักชวนหลานๆ หาจอบเสียมมาช่วยกันเจาะสันฝาย
เริ่มขุดวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๗ จนวันที่ ๒๔ เมษายน คันฝายที่กดทับที่นาของแกมา ๒๗ ปีก็ถูกเจาะทะลุ น้ำเริ่มไหลระบาย พร้อมกับคนในหมู่บ้านกลุ่มหนึ่งก็ยกขบวนกันมาด่าทอแม่ใหญ่ไฮ ด้วยความกลัวว่าไม่มีน้ำประปาใช้ ทั้งที่ใกล้กันนั้นยังมีฝายทางเมืองกับสระคึกฤทธิ์เพียงพอให้มี
น้ำใช้ ความขัดแย้งย่อมๆ ก่อตัวขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆ ไกลปืนเที่ยงที่เคยอยู่ร่วมกันมาตามยถา
นายอำเภอ อบต. ก็พาตำรวจมาจะจับ
นั่นเป็นเรื่องที่ลูกๆ แม่ไฮคาดหมายไว้แล้ว ก่อนแม่จะเจาะเขื่อน พวกเขาจึงไปยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาทนายความ และทำเนียบรัฐบาลไว้ก่อนแล้ว
แต่แม่ไฮไม่กลัว
“ลูกพากันโกรธว่าแม่ทำไปได้อย่างไร มันเป็นของหลวง อบต. ก็อ้างว่า รพช. โอนมาให้เขาดูแล แม่ว่าไม่ใช่ของหลวง ที่ตรงนี้แม่ถือกรรมสิทธิ์ มีเอกสาร ยังจ่ายค่าบำรุงท้องที่ทุกปี ถ้าตัวเขื่อนเป็นของหลวงก็ให้มาโกยออกไป ที่ตั้งคันฝายเป็นที่แม่”
หลังจากนั้น ภาพของหญิงสูงวัยนุ่งผ้าถุงกระโจมอก กับหลานๆ ชายหญิงถือจอบเสียมร่วมกันขุดดินสันฝาย ก็ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์
ไม่กี่วันต่อมา แม่ไฮได้รับเชิญไปสนทนาออกอากาศสดในรายการ “ถึงลูกถึงคน” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ ครั้งแรกในคืนวันที่ ๒๙ เมษายน พร้อมกับสมาชิก อบต. และผู้ใหญ่บ้านโนนตาล โดยมีปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีเข้าสายในรายการด้วย และหลังจากนั้นไม่กี่วันแม่ไฮกับลูกได้รับเชิญมาออกรายการเดิมซ้ำอีกครั้ง จากนั้นมาหญิงชาวนาไร้ชื่อจากหมู่บ้านไกลสุดชายแดนติดแม่น้ำโขง ก็เป็นที่รู้จักของผู้คนทุกชนชั้นทั้งประเทศ
ในการออกโทรทัศน์ครั้งแรก ทางปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลฯ รับปากว่าจะหาที่ชดเชยให้แม่ไฮภายใน ๑๕ วัน ครั้นถึงกำหนดปรากฏว่าได้ ๓๙ ไร่ จากที่สูญเสียไป ๖๑ ไร่ แม่ไฮปฏิเสธที่จะรับข้อเสนอนี้ครอบครัวขันจันทาให้เหตุผลด้วยว่า ที่ดินเดิมเป็นสิทธิ์
น.ส.๓ แต่ของ ส.ป.ก. ให้สิทธิ์แค่การอาศัยทำกิน ทำให้แม่ไฮไม่สามารถยกกรรมสิทธิ์ให้ลูกหลานทำกินตลอดไปได้ อีกทั้งที่ดิน ๓๙ ไร่ไม่ใช่ที่ดินผืนเดียว แต่กระจัดกระจายกันอยู่ จึงยากต่อการเข้าทำกิน อีกทั้งทางเข้ายังต้องผ่านที่ดินผู้อื่น จึงขอไม่รับที่ดินชดเชยดังกล่าว
คืนวันที่ ๑๔ พฤษภาคม แม่ไฮได้รับเชิญมาออกรายการ “ถึงลูกถึงคน” อีกครั้ง เป็นเหมือนกับการเน้นย้ำส่งท้ายว่า การต่อสู้ยาวนาน ๒๗ ปีของหญิงชาวนาตัวเล็กๆ จากหมู่บ้านสุดชายแดนยังได้แต่ความว่างเปล่า
แต่วันหลังจากนั้นเอง รัฐบาลในขณะนั้นก็สั่งให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีลงมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ และต่อมาปัญหาก็ได้รับการแก้ไขไปเป็นลำดับ
สันเขื่อนถูกทลาย ปล่อยน้ำออกจนขอดฝาย ผืนนาที่จมอยู่ใต้น้ำมา ๒๗ ปีได้ปรากฏต่อสายตาผู้เป็นเจ้าของอีกครั้ง
ข่าวการได้รับชัยชนะของแม่ใหญ่ไฮเป็นที่เลื่องลืออย่างเอิกเกริก คนที่รู้ข่าวหลั่งไหลมาให้กำลังใจหญิงชรานักสู้ถึงเพิงพักริมฝาย ทั้งคนรุ่นราวคราวเดียวกันในตัวจังหวัด บางคนลงทุนนั่งเครื่องบินมาจากสงขลา ภูเก็ตก็มี
หลังน้ำแห้งหาย ท้องฝายกลายเป็นผืนนาเหมือนที่เคยเป็นมาก่อนจะถูกน้ำท่วม ผืนนา ๔๘ แปลงที่เคยเป็นของชาวบ้าน ๒๑ ราย ได้กลับคืนกรรมสิทธิ์เจ้าของเดิม จากการเรียกร้องของแม่ไฮ พ่อฟอง และพ่อเสือ
ส่วนปัญหาแหล่งผลิตน้ำประปาหมู่บ้านที่ชาวบ้านกลุ่มคัดค้านการรื้อฝายกังวล ได้รับการแก้ไขโดยหน่วยทหารหน่วยบัญชาการทหารพัฒนามาเจาะบาดาลให้เป็นแหล่งน้ำทดแทน
ความหวังและการต่อสู้ยาวนานของหญิงชราแห่งบ้านโนนตาลประสบชัยชนะ แม้ว่าสภาพดินในท้องนาจะแข็งกระด้างด้วยเป็นท้องน้ำมายาวนาน ซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูช่วยเหลือต่อ
และนับจากนั้น ชื่อของหญิงชาวนายอดนักสู้ก็เป็นที่รู้จักจากวีรกรรมของคนเล็กๆ ที่บากบั่น อดทน และกล้าหาญลุกขึ้นมาเรียกร้องต่อต้านอำนาจรัฐ
กิจกรรมรณรงค์เคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นงานของฝ่ายชาวบ้าน เอ็นจีโอ เอกชน จนถึงคนที่เคยรังเกียจการต่อสู้ของชาวบ้าน หรือส่วนราชการที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับนาง ต่างก็หันมาขอความร่วมมือจากนาง เสมือนว่าหญิงชาวนานักต่อสู้ผู้นี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์หนึ่งของการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางสังคมการเมืองของประเทศไทยไปแล้วก็ว่าได้
จากหญิงชาวนาไร้ชื่อในหมู่บ้านห่างไกลสุดชายแดน จน ๕-๖ ปีหลังมานี้ ไฮ ขันจันทา เป็นคล้ายบุคคลสาธารณะของภาคประชาชนไปแล้ว
หลังได้ที่นาคืนใหม่ๆ แม่ไฮพูดถึงช่วงเวลาที่สูญเสียไปกับการเรียกร้องตามทวงที่นาคืนว่า
“นี่ถ้าเอาเวลา ๒๗ ปีที่ฉันสู้มาไปเรียนหนังสือ ป่านนี้ฉันคงเรียนจบปริญญาจากทั่วโลกแล้ว”
จนล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ (๒๕๕๓) แม่ใหญ่ไฮ ในวัยย่าง ๘๐ ก็ได้ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อันถือเป็นเกียรติคุณที่สมศักดิ์ศรีอย่างยิ่ง ทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ
“แม่บอกว่า เขาเอิ้นต้องขาน เขาวานต้องซอย”
เขมพร ที่เป็นคนพาแม่ไฮจากหมู่บ้านโนนตาลมาร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่กรุงเทพฯ ถ่ายทอดคำพูดของแม่
เธอเล่าด้วยว่า มหาวิทยาลัยออกค่าใช้จ่ายให้ แต่หมู่บ้านอยู่ห่างตัวจังหวัดเป็นร้อยกิโลเมตร ลำบากกับการออกไปจองซื้อตั๋วเครื่องบิน จึงต้องพาแม่ขึ้นรถทัวร์ ซึ่งก็ทุลักทุเลพอสมควรเนื่องจากรถเที่ยวนั้นแน่นมาก แต่เธอกับแม่ไม่ย่อท้อ ก็อย่างที่แม่บอก เขาเรียกต้องขาน เขาวานต้องช่วย
แม่พูดเสมอว่า เขาเชิญมา ถือว่าเราเป็นผู้มีเกียรติ หรือในบางทีแม้จะรู้ดีว่างานนั้นมีตื้นลึกหนาบางอย่างไร แต่เมื่อเขาเสนอมา แม่ก็ยินดีตอบสนอง
แม่ไฮไม่มีญาติอยู่ในกรุงเทพฯ แต่คนกรุงเทพฯ หลายคนรู้จักนางดี และยินดีเปิดบ้านให้พักทุกครั้งที่เข้ากรุงเทพฯ ด้วยความชื่นชมในความเป็นนักต่อสู้ของนาง ลูกชายแม่บางคนถูกรับตัวเข้าทำงานก็ด้วยความเป็นลูกแม่ไฮ หลานจะมีที่เรียนดีๆ ก็ด้วยบารมีของยายเช่นกัน
ส่วนตัวยายเอง แม้จะได้เรียนหนังสือจบแค่ ป.๔ แต่มาวันนี้ยายก็มีดีกรีถึงมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
คนกันเองที่รู้จักกันดีถามเป็นทีเล่นว่า “แม่ไปแอบเรียนมาจากไหน จู่ๆ ก็ได้ปริญญา”
แม่ไฮตอบเป็นทีเล่นแต่หมายความตามจริงว่า “ก็เรียนพร้อมๆ กับพี่น้องชาวบ้าน เรียนกับอาจารย์พิเชษฐ อาจารย์มด อาจารย์ปุ๋ยนั่นแหละ”
“อาจารย์” ที่แม่ไฮเอ่ยนาม ๓ คนนั้น เป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจนที่เคียงข้างการต่อสู้ของชาวบ้านมาแต่ต้น แต่บัดนี้ได้วายชนม์ไปก่อนแล้ว
พิเชษฐ เพชรน้ำรอบ
มด-วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์
ปุ๋ย-นันทโชติ ชัยรัตน์
ถ้าล่วงรู้ได้ พวกเขาคงชื่นใจในถ้อยคำของแม่ไฮ
ไม่ใช่ในแง่ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
แต่เกียรติและชัยที่แม่ได้รับ ย่อมเป็นหลักหมายหนึ่งในขบวนการประชาชนว่า สิ่งที่เขาทุ่มเทมาด้วยชีวิตนั้น-ไม่สูญเปล่า
ครอบครัวชาวนาถ่ายรูปร่วมกันกลางทุ่งข้าวเขียวขจี ในฤดูเพาะปลูกแรกหลังได้ที่นาคืน (มิถุนายน ๒๕๔๗)
ส่วนหนึ่งของลูกหลานเหลนร่วมร้อยคนในวงศาของแม่ใหญ่ไฮ มาถ่ายรูปร่วมกันที่ริมฝายห้วยละห้า ก่อนคันฝายจะถูกรื้อ (พฤษภาคม ๒๕๔๗)
อ้างอิง
ข่าวสด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗.
ข่าวสด ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗.
ข่าวสด ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓.
เครือข่ายเขื่อน, เขื่อน นวัตกรรมแห่งปัญหา, ๒๕๔๗.
ปัญญ์ (นามแฝง), “ใฮ ขันจันทา...บทพิสูจน์ผู้หญิงไทยใจเกินร้อย”,
แพรว ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๕๙๖ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๗.
“ยายใฮ คนทวงแผ่นดิน”, สารคดีคนค้นฅน, ๒๕๔๗.
สารแม่มูน ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ (๑๓) มิถุนายน-กรกฎาคม ๒๕๔๗.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี, เอกสารสรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีฝายห้วยละห้า ตำบลนาตาล กิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี.
จนในวาระงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหงปีนี้ (๒๕๕๓) ก็ปรากฏชื่อนางเป็นผู้ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างที่สุดของประเทศไทย
โดยฐานะทางการศึกษา นางจบแค่ชั้นประถม ๔ จากโรงเรียนประชาบาลในหมู่บ้านชายแดนริมฝั่งโขง เมื่ออายุ ๑๔ ปี จนวัยล่วงเข้า ๘๐ ก็มาได้ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ถือเป็นเกียรติประวัติของหญิงชาวนานักต่อสู้-ผู้ได้รับ และนับเป็นเกียรติเป็นศรีแก่สถาบันการศึกษาชั้นนำกับการประสาทปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่บุคคลผู้ควรได้รับการยกย่องอย่างแท้จริง จากการใช้หลักรัฐศาสตร์ตามวิถีชาวบ้านต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เรียกร้องตามทวงที่นาของตนอย่างอดทนยาวนาน กระทั่งรัฐต้องยอมรับความผิดพลาดและชดเชยเยียวยาความเสียหาย เรื่องราวชีวิตนางกลายเป็นสัญลักษณ์และกรณีตัวอย่างการต่อสู้เรียกร้องของภาคประชาชน
งานรับปริญญาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงปีนี้ ไฮ ขันจันทา ดูจะเป็นมหาบัณฑิตที่โดดเด่นเป็นหน้าเป็นตาของมหาวิทยาลัยมากที่สุด ภาพและเรื่องของนางเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวัน และนางยังเป็นบัณฑิตที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพิเศษ ด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชปฏิสันถารกับนางภายหลังเสร็จสิ้นพิธี
และเมื่อภาพและเรื่องราวของบัณฑิตผู้เฒ่าไปปรากฏอยู่ใน www.oknation.net/blog/oakvanda ก็มีเสียงร่วมแสดงความยินดีเข้ามาอย่างล้นหลาม
“ดีใจกับยายไฮ น้ำตาไหลเลย ขอบคุณที่สังคมยังมองเห็นคุณค่ายายไฮ ยายคือไอดอลของผู้หญิงไทย ของคนไทย ของคนรากหญ้าที่หาญกล้าด้วยมือของตัวเอง ๓๒ ปีกับการต่อสู้กับห้วยละห้า ผ่านรัฐบาลนับไม่ถ้วน ทั้งรัฐบาลเผด็จการ รบ.ประชาธิปไตยครึ่งใบ รบ.ปชต.เต็มใบ จนสามีตรอมใจตายเพราะครอบครัวยายเรียกร้องสิทธิของตัวเอง ปริญญาอาจน้อยไป แต่สังคมได้แบบอย่างคนสู้แห่งคุณธรรม ไม่งอมืองอเท้า ไม่ท้อถอย ไม่กลัวจะล้มเหลวไม่หวั่นอุปสรรค ไม่ยอมแพ้ต่อความอยุติธรรม นี่คือสิ่งที่ยายมอบให้คนไทย ขอกราบแทบเท้ายายค่ะ และขอรับไม้ต่อจากยายต่อสู้กับความอยุติธรรม จะไม่ปล่อยคนชั่วคนผิดให้ลอยนวล...!!!” (kwant, ความคิดเห็นที่ ๗)
“ปลื้มใจกับยายมากๆ ครับ ทำให้ผมคิดถึงแม่ผมครับ มหาบัณฑิต ยายในดวงใจครับ” (ดินดำน้ำชุ่ม, ความคิดเห็นที่ ๑๑)
“นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่แห่งหน้าประวัติศาสตร์ประเทศไทยถูกประกาศอย่างเป็นทางการวันนี้ โดย ม.รามคำแหง สมกับเป็นมหา’ลัยเปิดที่ยายไฮสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกจริงๆ ขอแสดงความยินดีมากๆ กับยายไฮด้วยคนค่ะ” (lim, ความคิดเห็นที่ ๒๒)
“ยินดีกับคุณยายสุดๆ ค่ะ... คุณยายเป็น idol ของหนู :)” (pornsuri, ความคิดเห็นที่ ๔๐)
ยายไฮเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๓ หลังวันสตรีสากล ๑ วัน หากจะนับว่านี่เป็นรางวัลแด่หญิงยอดนักสู้สำหรับปีนี้ด้วย ก็คงนับได้อย่างไม่เกินเลยความจริง
แม่ใหญ่ ไฮ ขันจันทา หญิงนักต่อสู้แห่งหมู่บ้านโนนตาล อุบลราชธานี ได้คืนสู่วิถีของชาวนาอีกครั้ง หลังใช้เวลา ๒๗ ปีเรียกร้องทวงที่นาที่จมอยู่ใต้ฝายห้วยละห้า จนได้คืนมาในปี ๒๕๔๗ กระทั่งได้รับการยกย่องจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมอบปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้ในปี ๒๕๕๓ (มิถุนายน ๒๕๔๗)
ที่นามรดกตกทอดจากปู่ย่าตายาย กลายเป็นผืนดินแข็งกระด้างแตกระแหงเพราะจมน้ำมานาน ได้ที่นาคืนมาแล้ว คงต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการพลิกฟื้นให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ดังเก่า (พฤษภาคม ๒๕๔๗)
แต่ทั้งนี้ เนื้อแท้ในความเป็นนักต่อสู้ของ ไฮ ขันจันทา หญิงชาวนาบ้านโนนตาล อำเภอนาตาล อุบลราชธานี คงไม่ใช่แค่เรื่องวูบวาบชั่วแล่นหรือเพียงวาระประจำปี หากนางได้เดินทางอย่างเงียบๆ และโดดเดี่ยวมาร่วม ๓ ทศวรรษบนถนนของการต่อสู้-กว่าจะเป็นที่รู้จักของสังคม และคงจะเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้แก่คนที่กำลังต่อสู้อยู่กับสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้-ไปได้ไม่รู้จบ
จุดผันเปลี่ยนของชีวิต เกิดขึ้นในวันที่นางลุกออกไปขุดเขื่อน
วีรกรรมของนางเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวัน ในช่วงต้นฤดูร้อนปี ๒๕๔๗ แล้วไปปรากฏต่อสายตาของคนในทีมงานรายการทีวีซึ่งมีพื้นเพเดิมอยู่ในอำเภอติดกัน นางได้รับเชิญไปออกรายการสนทนาถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ ได้บอกเล่าถึงความทุกข์ยากยาวนานของการตกเป็นเหยื่อความอยุติธรรมจากการกระทำของหน่วยงานรัฐ
ชะตากรรมความระทมทุกข์แต่หนหลังถูกแพร่สู่ผู้ชมทุกชนชั้น-ทั่วประเทศ
ไฮ ขันจันทา หญิงชราที่ใครทั่วไปมักเรียกแกว่า ยายไฮ และตามความเป็นจริงแกก็เป็นยายของหลานๆ หลายสิบคน แต่โดยคำเรียกขานของคนพื้นบ้านอีสานมักเรียก ยาย ว่า แม่ใหญ่ ในหมู่คนร่วมถิ่นจึงเรียกขานแกว่า แม่ใหญ่ไฮ หรือแม่ไฮ มากกว่าจะเรียกป้าเรียกยายอย่างคนในเมือง
พื้นเพของนางเป็นชาวบ้านโนนตาล อำเภอนาตาล อุบลราชธานี มาแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดนับร้อยสองร้อยปี นางบอกว่ากองฟอน (เชิงตะกอน) ที่เผาศพปู่ก็อยู่บนที่ดินผืนนั้น เช่นเดียวกับรกของนางที่ฝังอยู่ที่นั่นเช่นกัน
นางเป็นลูกสาวหล่า (คนเล็ก) ของพ่อคำพา-แม่คูณ เคนงาม มีพี่น้อง ๘ คน (ชาย ๔ หญิง ๔) นางเล่าความน่ารักของพี่ๆ และความอบอุ่นในครอบครัวชาวชนบทเมื่อ ๘๐ ปีก่อนว่า “โตมาได้เพราะบุญคุณพี่ พ่อตายตั้งแต่ฉันอายุได้ ๓ ขวบครึ่ง พี่ๆ เขาฮักแพงน้องผู้น้อย บอกให้อุ้มก็อุ้ม อยากได้นุ่งซ่งอ้าย ก็แก้ให้นุ่ง พี่สาวได้อะไรมาคำหนึ่งก็ส่งให้ถึงปาก” จนเมื่อแบ่งมรดกที่นาของแม่ พวกพี่ผู้ชายก็ไม่ได้เอา ยกให้น้องสาวทั้งหมด--ก็ที่นาผืนนั้นเองที่ต่อมาจมน้ำฝาย และลูกสาวสุดท้องของครอบครัวตามทวงอยู่ ๒๗ ปี จนแก่เฒ่าจึงได้คืน
เมื่อโตเป็นสาว นางแต่งงานกับหนุ่มรุ่นพี่ในหมู่บ้านชื่อ ฟอง ขันจันทา ตอนอายุ ๒๐ ปี มีลูกคนแรกเมื่ออายุ ๒๔ และอีกหลายๆ ปีต่อมารวม ๑๔ คน (เสียชีวิตเมื่อยังเล็ก ๔ คน เหลือ ๑๐ คน) นางได้มูน (มรดก) จากพ่อแม่เป็นที่นา ๑๘ ไร่ กับของสามี ๒๗ ไร่ สืบทอดวิถีชาวนากันมาอย่างแข็งขันมั่นหมายถึงอนาคตที่มั่นคงของครอบครัว
ถึงฤดูเพาะปลูกก็ไถหว่านปักดำข้าวกล้า เก็บเกี่ยวได้ข้าวมาก็ขายเอาเงินลงทุนค้าวัวค้าควาย ถึงหน้ามะขามออกก็ไปซื้อมาขาย ได้กำไรก็มาซื้อที่ดินสะสมไว้ ฝนมาก็ลงนาเพาะปลูกฤดูกาลใหม่ วิถีชีวิตวนเป็นวัฏจักรอยู่ในวงรอบฤดูกาล
นางกับสามีวางแผนกันไว้ว่า จะซื้อที่นาให้ได้ครบ ๑๐ แปลง สำหรับลูกๆ ทั้ง ๑๐ คนได้มีต้นทุนชีวิตไปสร้างครอบครัวตัวเองในวันข้างหน้า แต่แล้วความหวังก็มีอันต้องพังทลายลงกลางคัน เมื่อคันฝายถูกสร้างทับลงบนที่นาของนาง
“สมเด็จพระเทพฯ ทรงเมตตาสนพระทัยเรื่องราวชีวิตแม่ไฮ ขันจันทา”
พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ภายหลังยายไฮออกรายการทีวี เนื้อข่าวบอกด้วยว่านายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้สั่งการให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีลงไปดูข้อเท็จจริงในพื้นที่
ฝายห้วยละห้าในวันที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีมาเห็นเมื่อช่วงกลางปี ๒๕๔๗ ยังคงสภาพความเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่ แม้ยายไฮจะเจาะคันออกเป็นช่อง น้ำเริ่มไหลระบายออกไปบ้างแล้ว
คันเขื่อนสูง ๗.๓ เมตร วางตัวตามแนวเหนือใต้เป็นแนวยาวราวครึ่งกิโลเมตร สันของมันกว้างพอให้รถยนต์วิ่งสวนกันได้ ปลายทางด้านใต้ทอดออกมาจากตัวหมู่บ้านผ่านบึงฝายมาสู่บ้านลูกชายคนโตของแม่ไฮที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวริมบึง
สันฝายนั้นตั้งอยู่บนที่ดินของยายไฮ และปิดบนลำห้วยละห้า จนเอ่อเป็นแอ่งน้ำ ทางใต้ฝายลงไปที่ยังคงรูปเป็นทางน้ำ ไหลไปลงลำห้วยกระจีน ก่อนออกไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่อยู่ไม่ไกลเกินคนในถิ่นจะเดินไปมาหากินได้
ฝายห้วยละห้า ตามข้อมูลเดิมของทางการว่ามีขนาดราว ๑๒๐-๑๕๐ ไร่ แต่การเก็บกักจริงกินเนื้อที่ร่วม ๔๐๐ ไร่ พ้นแนวขอบน้ำขึ้นไปเป็นเวิ้งทุ่งนาแผ่ผืนกว้างขวางไปจดทิวไม้ที่ตีวงโอบล้อมขึ้นประสานกับขอบฟ้า
ท้องทุ่งนาอันไพศาลที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีหรือใครได้แลเห็นนั้น เป็นของใครต่อใครที่เจ้าของคงอยู่ทุกข์สุขไปตามอัตภาพ ไม่นับรวมแม่ใหญ่ไฮ ขันจันทา ที่อุกอั่งในอกมาแต่หนุ่มจนแก่ กับการที่นาต้องจมหายอยู่ใต้น้ำมา ๒๗ ปีแล้วไม่ได้เห็น
“ตอนมาให้เซ็นยินยอม เขาบอกว่าจะท่วมแค่ป่าละเมาะริมห้วย เล็กๆ น้อยๆ” แม่ใหญ่ไฮเล่าความหลังในช่วงปี ๒๕๒๐ “แต่แม่ก็บ่เซ็น เพราะเป็นที่นาของปู่ของย่า จะยกให้หลวงสร้างฝายได้อย่างไร”
แต่โดยอำนาจเล่ห์กลของคนในระบบราชการเมื่อยุค ๓๐ กว่าปีก่อน ฝายห้วยละห้าก็ถูกสร้างขึ้นจนได้ จากการเซ็นยินยอมโดยเจ้าของที่ดิน ๒๐ กว่ารายโดยไม่มีการเวนคืนหรือชดเชยความเสียหาย มีแต่นางไฮ ขันจันทา นายฟอง ขันจันทา นายเสือ พันคำ เพียง ๓ รายที่ไม่ยอมเซ็น
“คนที่มาให้เซ็นสะพายปืนมาด้วย แต่น้องบอกอย่าเซ็น” พ่อเสือ พันคำ สามีแม่ใหญ่ใสผู้เป็นพี่สาวของแม่ไฮ เล่าเสริมน้องเมีย “ต่อมาเมื่อสร้างฝายแล้วเขาก็ยังเอาไก่ เอาปลา เอาพันธุ์ข้าวพันธุ์ถั่วมาให้ แต่เอาอะไรมาล่อเฮาก็บ่เซ็น”
“เอาอะไรให้ก็ไม่เอา” แม่ไฮว่า “จะให้ฉันไปเซ็นเอาพันธุ์ถั่วลิสง ๒ กิโล เป็ดไก่คนละ ๓ ตัว เขาว่ามาสงเคราะห์ให้มาเซ็นเอา พวกเราไม่เอากลัวเป็นแผนมาหลอกให้เซ็นยอมรับความเสียหาย กลัวจะไปติดกับดักเขา เอาช้างไปแลกกระบอง ใครจะยอมได้”
การก่อสร้างดำเนินไปในช่วงเก็บเกี่ยว ข้าวในนาแม่ไฮเกี่ยวไม่ทันเสร็จก็ถูกรถแทรกเตอร์ดันดินมาถมกลบ
“แม่ยังได้เอามีดอีโต้ไล่ฟันเลย” คำพัน ลูกชายคนโตของแม่ไฮ ยังจำเหตุการณ์ช่วงท้ายปี ๒๕๒๐ ได้ ตอนนั้นเขาโตเต็มหนุ่มแล้ว “ต่อมาเขาเอาหลานแม่มาขับ แม่ว่าอะไรก็ช่าง มึงไม่ต้องมาดุนที่นากู แต่พอแม่ไปสวนที่ริมโขง เขาก็มาดันที่ถมข้าว”
ฝายถูกสร้างเสร็จในช่วงฤดูร้อนปี ๒๕๒๑ ฤดูฝนปีนั้นฝนตกหนักมาก ระดับน้ำในฝายท่วมท้นขึ้นอย่างรวดเร็ว
“คนที่เชื่อตามเขาบอกว่าจะไม่ถูกน้ำท่วม ปรากฏว่าไม่กี่วันมันท่วมขึ้นไปถึงหมด บางเจ้าหมดไปหลายสิบไร่ และมีคนช็อกตายคาเถียงนา”
อาจารย์สำเริง รูปสวย ครูประชาบาลที่เป็นเพื่อนบ้านของยายไฮ ซึ่งในเวลานั้นเป็นบัณฑิตหนุ่มหัวก้าวหน้า เล่าว่า “สมัยนั้นคนพูดอะไรได้ไม่มาก เพราะจะถูกป้ายสีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ครอบครัวยายไฮก็ทำนาหากินของแกอยู่ตามประสา ใกล้ที่นาของแกเดิมเป็นฝายทางเมือง เป็นแหล่งน้ำของคน ๒-๓ หมู่บ้านอยู่ก่อนแล้ว แต่ รพช. หรือสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทมาสำรวจแล้วบอกว่าถ้าทำอ่างขึ้นมาจะเก็บน้ำได้มากขึ้น ยายไฮเป็นห่วงว่าน้ำมันจะท่วมถึงไหน แกไม่ยอมเซ็น ก็มีขบวนการข่มขู่เยอะ นายอำเภอ ปลัด ผู้ใหญ่บ้าน ผมเห็นปัญหาตรงนี้มาตลอด แต่ก็จนปัญญา เพราะคนแทบทั้งหมู่บ้านไม่เห็นด้วยกับยายไฮ เขาว่าฝายมันเป็นการพัฒนา จะได้มีกุ้งหอยปูปลากิน
“ปี ๒๕๒๑ ฝายสร้างเสร็จ น้ำเต็ม ไม่มีใครกล้าพูดอะไร ยายไฮจูงลูกวิ่งกลับไปกลับมา กระวนกระวายอย่างไม่รู้จะทำอย่างไร” อาจารย์สำเริงให้ภาพในวันนั้น
ในหนังสือร้องเรียนของแม่ไฮที่เสนอต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ลงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ บันทึกว่า “เมื่อข้าฯ คิดถึงความหลังที่เคยอยู่เย็นเป็นสุขและต้องมาเป็นคนทุกข์ (คนยากไร้) เพราะน้ำท่วมที่นา คิดขึ้นมาแล้วน้ำตาไหลทุกครั้ง ทำให้ข้าฯ ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความ
อยู่รอด เพราะคิดว่ายังมีความเป็นธรรม คิดว่าสักวันหนึ่งจะได้พบกับความเป็นธรรม จะได้พบกับรัฐบาลที่เข้าใจและเห็นใจข้าฯ ตั้งใจว่าถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ข้าฯ จะดิ้นรนต่อสู้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ไม่ว่าจะสักกี่ปีกี่รัฐบาลก็ตาม เพราะว่าข้าฯ เห็นแล้วว่าขืนอยู่อย่างนี้ไปก็เท่ากับว่าตายทั้งเป็น”
นั่นเป็นที่มาของการเรียกร้องต่อสู้ยาวนานร่วม ๓๐ ปี ที่ไม่เคยรู้จักความสำเร็จ แต่หญิงชาวนานักสู้ก็ไม่ยอมย่อท้อล่าถอย ชะตากรรมแต่ละฉากตอน นางยังจำได้ฝังใจ เป็นความเจ็บปวดถึงหลั่งน้ำตาก็หลายครั้ง แต่ก็มิอาจบั่นทอนความมุ่งมั่นที่จะทวงที่นาของบรรพบุรุษคืนมาให้ได้
ในวันที่อายุล่วงมาถึง ๘๐ สายตาของหญิงนักสู้แห่งห้วยละห้าฝ้าฟางไปตามวัย แต่ประกายของความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นยังคงแวววาวไหวระริกอยู่ในดวงตาคู่เดิมนั้น กับเส้นผมที่ผ่านแดดผ่านหนาวมายาวนานก็ขาวโพลนเป็นสีหมอก แต่ความจำเมื่อ ๓๒ ปีที่แล้วยังแจ่มชัดอยู่ในหัว และเมื่อเล่าสู่คนอื่นฟัง ภาพในคืนวันระทมทุกข์เหล่านั้นก็แจ่มกระจ่างอย่างสุดสะเทือนใจ
“พอน้ำท่วมที่นา แม่ก็ร้องเรียนไปตามขั้นตอน เริ่มจากไปหาผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บอก ไม่ใช่ที่นาเรา เป็นที่นาสู ไปตามเอาเอง ไปหากำนัน เขาบอก ไม่ใช่ที่นาพ่อเรา นาพ่อเธอ ไปตามเอาเอง ก็โมโห ร้องไห้ไปอำเภอ”
เวลานั้นบ้านโนนตาลยังอยู่ในเขตอำเภอเขมราฐ ตัวอำเภออยู่ไกล ๒๗ กิโลเมตร แม่ใหญ่ไฮเดินเท้าไป เอกสารไม่ครบก็ต้องเดินกลับมาเอา ขึ้นอำเภออยู่ ๓ เที่ยวยังไม่ได้เรื่องอะไร
“ไม่พบนายอำเภอ เจอแต่ปลัด เขาบอกว่าเรื่องไม่ได้ผ่านมาทางอำเภอ ผมไม่รู้ครับ ป้าไฮกลับบ้านไปเถอะ”กลางฤดูฝนปี ๒๕๒๑ หญิงชาวนาคนทุกข์จากหมู่บ้านโนนตาลก็เดินทางเข้าตัวจังหวัด กับพ่อเสือ-พี่เขย และคำพัน-ลูกชายคนโต
แม่ใหญ่ไฮเล่าย้อนเหตุการณ์เมื่อ ๔๐ ปีก่อนอย่างเห็นภาพ
ไปถึงศาลากลางจังหวัด เขาบอกว่าผู้ว่าฯ ไปออกรายการอยู่ที่สถานีวิทยุ ก็ตามไปดักยื่นหนังสือร้องทุกข์
“น้ำท่วมเสียหายไปเท่าไหร่” ผู้ว่าฯ ถาม
ฉันใช้นิ้วขีดเป็นแผนที่ให้ผู้ว่าฯ ดูบนพื้น
ท่านบอก “แค่คืบเอง สละสิทธิ์ไปเลยไม่ได้หรือ”
“ไม่ใช่แค่คืบหรอก มันเยอะหลายสิบไร่” ฉันโมโห จับมือแกไถๆ ไปบนพื้น “ของฉันเสียหายเท่านี้ๆๆ พี่เขยเห็นดังนั้นก็รีบแก้ตัวกับผู้ว่าฯ ว่าฉันสติไม่ดี ประสาท กลัวผู้ว่าฯ โกรธแล้วเอาเรื่อง”
“พรุ่งนี้จะให้นายอำเภอไปดู” ผู้ว่าฯ พูดจริงจัง “ข้าราชการคนไหนไม่ทำตาม ผมจะสั่งขังทั้งจังหวัด”
วันหลังมา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้นก็สั่งการให้นายอำเภอเขมราฐออกมาดู
“มาพูดกันที่ใต้ร่มต้นบก แถวศาลานั่น” แม่ใหญ่ไฮชี้ไปทางฝายทางเมือง ซึ่งหลังสร้างฝายห้วยละห้า ผืนน้ำได้เชื่อมเข้าเป็นส่วนเดียวกัน “ท่านมาก็ไม่ได้พูดเรื่องที่นา คุยเรื่องโน่นเรื่องนี่ จากนั้นก็วางไมค์แล้วบอกว่าจะไปบ้านกำนันก่อน หลังจากนั้นก็ยังไม่เคยเห็นนายอำเภอท่านนั้นเลย”
จนนายอำเภอคนต่อมา
“แม่ไปฟ้องนายอำเภอคนต่อมา ว่า รพช. มาทำลายนา ยังไม่ชดเชยอะไรให้เลย เขาบ่ายเบี่ยงไปว่ารอก่อนไม่ได้หรือ แม่บอก ฉันรอไม่ไหวแล้ว แม่ร้องไห้เดินกลับบ้าน กว่าจะถึงก็ใกล้ค่ำ”
หลังร้องเรียนในพื้นที่ไม่เกิดผล ในปี ๒๕๒๓ ไฮ ขันจันทา พร้อมลูกชายคนและพี่เขยอีกคน เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยมีอาจารย์ทองสิงห์ ยืนยาว ที่พอรู้กฎหมายอยู่บ้างช่วยทำหนังสือร้องทุกข์ไปยื่นต่อนายกรัฐมนตรี
แต่ไม่ได้พบตัว
“เจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลบอกให้ไปยื่นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทย ก็เดินเท้าจากทำเนียบไปยื่นหนังสือไว้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย แล้วเดินไปหัวลำโพงขึ้นรถไฟกลับอุบลฯ”
แม่ใหญ่ไฮในวันวัยที่เรี่ยวแรงและความปราดเปรียวลดถอยลงกว่าวันนั้นมากแล้ว เว้นวรรคหายใจ ก่อนเล่าเหตุการณ์ในอีกราว ๑๕ วันต่อมา
“กลับมาถึงบ้าน แม่สานสวิง เข็นฝ้ายทอผ้าถุง ขายเอาเงินเก็บสะสมไว้ พอได้ค่ารถก็กลับไปตามเรื่องที่กรุงเทพฯ”
เมื่อไปถึงกระทรวงมหาดไทยริมคลองหลอด ทีแรกเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่เคยรับหนังสือไว้ แต่เจ้าของเรื่องจำได้ว่าเจ้าหน้าที่รับแล้วใส่ไว้ในตู้ข้างหลังที่นั่ง จึงชี้ไปว่า หนังสืออยู่ในตู้นี่แหละ เจ้าหน้าที่บอก กุญแจหาย จากนั้นมีผู้หญิงคนหนึ่งเอากุญแจมาไขเปิดให้ ก็พบหนังสือที่ยื่นไว้ หญิงชาวนาคนทุกข์ก็ครวญว่า ทำไมไม่ทำเรื่องให้ อุตส่าห์เดินทางมาไกลหลายร้อยกิโลเมตรจากอุบลราชธานี ขอให้สงสารคนจนบ้าง ไม่มีที่พึ่ง เจ้าหน้าที่จึงทำหนังสือฉบับหนึ่งให้เอามายื่นต่อผู้ว่าฯ อุบลฯ
แม่ไฮเดินเท้ากลับไปขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง ระหว่างไปไหนมาไหนอยู่ในเมืองกรุง หมู่คนทุกข์จากฝายห้วยละห้าจะเดินเท้าไปตลอด เพราะไม่มีเงินพอจะจ่ายค่ารถ เดินไปถามทางเขาไป เคยไปถามทางกับนักศึกษาคนหนึ่ง พอรู้ว่าไม่มีเงิน เขาก็ล้วงให้ ๒๐ บาท แต่แม่ไฮไม่ได้รับ แม่บอกว่าถึงมีเงินก็ไม่รู้อยู่ดีว่าจะขึ้นรถสายอะไร ไปลงตรงไหน ต่อมาเมื่อแม่ไฮออกทีวี อดีตนักศึกษาคนนั้นยังเขียนจดหมายมาหาแม่ไฮว่าเขายังจำแม่ไฮได้
ยี่สิบกว่าปีที่ราชการพรากเอาที่ทำกินทั้งผืนไปจากคนบ้านป่าในหมู่บ้านสุดชายแดน เป็นช่วงเวลายาวนานพอจะเปลี่ยนชาวนาวัยกลางคนให้กลายเป็นหญิงชรา เนื้อหนังยับย่น หลังไหล่คู้ค่อมลงตามวัย ทำให้ร่างเล็กๆ ของแกยิ่งดูเตี้ยลงอีก แต่แววตาท่าทีอย่างคนสู้คนนั้นยังคมวาวไม่มีล้าโรยตามความชรา และอาจเป็นดวงตาคู่นั้นเองที่ทำให้ผู้คนจดจำนางได้ ไม่ว่าคนดูโทรทัศน์ในช่วงปลายฤดูร้อน ปี ๒๕๔๗ หรือใครที่ได้พบเห็นกันมาหลายปีก่อนหน้านั้น
กลับจากกรุงเทพฯ คราวนั้น นางเอาหนังสือจากกระทรวงมหาดไทยไปยื่นต่อผู้ว่าฯ ที่ศาลากลางจังหวัดอุบลฯ
ผู้ว่าฯ เรียกหัวหน้า รพช.จังหวัด เข้ามาร่วมเจรจาด้วย
“ป้า มาคุยกัน” หัวหน้า รพช. นั่งลงพลางบอก “ป้าไม่รู้หรือ เขายกเลิกที่นา”
“ทำไมยกเลิก? ขอให้ยกเลิกทั่วประเทศไทยนะ ฉันก็ไม่อยากเป็นชาวนาเหมือนกัน แต่ยกเลิกของฉันคนเดียว ฉันไม่ยอมหรอกค่ะ”
หัวหน้า รพช. คงเสียหน้าหรือจนคำพูด ก็บอก “ป้าไม่รู้อะไร ช้างมันเหยียบปากนก”
ถึงนกจะตัวน้อย แต่ท่านรู้ไหมมันจิกตาช้างได้... หญิงชาวนาคนยากได้แต่โต้ตอบในใจ
เจอคำคุกคามข่มขู่ของเจ้าหน้าที่รัฐจนชาชิน
“เดี๋ยวเขาจับยายเข้าตะรางไม่มีวันออกหรอก”
“ช่างเถอะ สิทธิของฉัน” ตั้งใจมั่นว่าจะสู้จนกว่าจะได้ที่นาคืน
“เคยเรียนกฎหมายรู้กฎหมายบ้างไหมนี่”
“เรียนความจริงค่ะ” ฉันบอก “ฉันไม่รู้กฎหมาย แต่ฉันรู้ความจริง ยังไงความจริงก็คือความจริง”
แม่ใหญ่ไฮพูดใส่หน้าเจ้าหน้าที่รัฐในวันนั้น และยังจำคำเดิมมาพูดให้ใครๆ ฟังได้ในวันนี้
“ความจริงเหนือกว่ากฎหมาย กฎหมายหามาจากที่ไหนก็ได้ ความจริงมันยิ่งกว่า แม่สู้ด้วยความจริง กฎหมายเขียนด้วยมือลบด้วยตีนได้ ความจริงใครก็ลบไม่ได้ ฆ่าแม่ก็ลบไม่ได้ แม่พูดไปตามความจริง ผิดหรือถูกกฎหมายไม่รู้
“ถ้าเขาอยากจับแม่ ให้เขาเอาใบสิทธิ์มา จะยอมให้จับ” แม่ใหญ่ไฮท้า “แต่ฉันมีใบแสดงกรรมสิทธิ์ อย่างนี้ใครจะจับใครกันแน่”
ความเด็ดเดี่ยวของแม่ใหญ่ไฮนั้น แม้แต่คนเป็นสามียังออกปาก
“เจ้าน่ะมันเกินคน” พ่อฟองพูดกับเมีย ในคืนวันรอนแรมไปตามที่ต่างๆ ด้วยกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิในที่นาคืน “ทำไมต้องทำขนาดนี้ เราจะเอาอะไรไปสู้กับเขา”
แล้วพ่อฟองก็ร้องไห้ออกมา แม่ใหญ่ไฮบอกว่าแกเห็นแล้วสุดสงสาร หลังจากนั้นเลยไม่บ่นเรื่องความยากลำบากในการต่อสู้ให้สามีฟังอีก เก็บไว้ในอกคนเดียว
“รัฐบาลเอาภูเขามาเต็งอกแม่ แต่แม่จะยกออก เฮาเกิดมาเป็นลูกชาวนา เฮาต้องรักษาสิทธิ เฮาบ่ละเมิดใคร และไม่ละเมิดสิทธิตัวเอง ถึงฤดูเสียภาษีก็เสีย ไม่มีเงินก็ไปรับจ้าง น้ำท่วมก็เสีย อยู่ที่ไหนแม่ก็เสีย เพราะเป็นสิทธิของแม่”
เพิงพักโกโรโกโสริมคันฝาย ที่มั่นสุดท้ายที่แม่ใหญ่ไฮมาปักหลักต่อสู้กับรัฐบาลที่กำลังเข้มแข็งที่สุดอย่างโดดเดี่ยว จนแกเป็นฝ่ายได้ชัยอย่างไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นไปได้ ตอนนั้นแม่ไฮอายุ ๗๔ ปี แต่ประกายและจิตวิญญาณของความเป็นนักสู้ยังคงไหวระริกอยู่ในแววตาที่ไม่มีโรยล้าไปตามรูปกายภายนอกเลย (พฤษภาคม ๒๕๔๗)
สามนักสู้แห่งห้วยละห้า พ่อเสือ พันคำ (เสื้อดำ) แม่ไฮ และ พ่อฟอง ขันจันทา เป็นชาวบ้าน ๓ รายที่ไม่ยอมเซ็นยินยอมมอบที่ดินให้สร้างฝาย และด้วยหลักฐานการถือกรรมสิทธิ์นี้เองที่แม่ไฮใช้เป็นหลักยึดในการต่อสู้จนได้ชัยชนะ ได้ที่นาคืนในที่สุด ภาพนี้ถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗ ไม่ทันได้เห็นผลิตผลรุ่นแรกจากที่นาที่เพิ่งได้คืน พ่อเสือก็จากไปในปี ๒๕๔๘ ต่อมาในปี ๒๕๕๐ พ่อฟองก็จากไปอีกคน
หญิงชาวนานักสู้แห่งห้วยละห้า อดทนเดินทางเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างบากบั่น แม้เสียงร้องของนางแทบไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานที่เป็นผู้ก่อกรรมทำเข็ญต่อครอบครัวของนาง ความทุกข์และสิ่งที่สูญเสียไม่มีใครร่วมรับรู้
“แล้วแต่เพิ่นสิคิดเห็น เปรียบเหมือนเพิ่นทำงานแล้วบ่ได้เงินเดือนมา ๒๗ ปี” แม่ใหญ่ไฮพูดถึงข้อเรียกร้องอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว “ไม่ใช่ว่าคุยถ้าน้ำไม่ท่วม ทำนา ๒ ปีก็ซื้อที่ได้แปลงหนึ่ง มีลูก ๑๐ คน ก็กะว่าจะเอา ๑๐ ที่ ให้มีมรดกแก่ลูกทุกคน ซื้อที่ดินได้แล้ว ๓ ที่ พอโดนน้ำท่วม ฉันก็ขายกินหมด ทุกวันนี้บ่มีหยังจะแบ่งให้”
จากคู่ผัวเมียชาวนาที่มีอันจะกิน กำลังก่อร่างสร้างฐานะอย่างขยันขันแข็ง พอโดนน้ำท่วมนา ฐานะของครอบครัวก็มีแต่ตกต่ำลง
จากที่เคยมีโรงสี ซื้อข้าวมาสีเป็นข้าวสารขาย กลับต้องเดินเร่ร่อนขอข้าวเพื่อนบ้านมาประทังชีวิตคนในครอบครัว
“ต้องหาหอยหากุ้งไปแลกข้าว บางวันก็มีบางวันก็ไม่มี เอามาต้มมาหุงให้ลูกกินหลานกิน แม่นอนท้องเปล่า เสียไร่เสียนา ทุกข์ทั้งใจทุกข์ทั้งกาย คิดแล้วก็อัดอั้นใจว่าที่นาของเราให้รัฐบาลเอาไป แม่ต้องเอาคืน”
หลังจากที่นามรดกจมอยู่ใต้แอ่งฝาย ทรัพย์สมบัติอื่นๆ ก็ทยอยตามไป ทั้งสำหรับเป็นค่ากินอยู่และเป็นทุนสำหรับการเดินทางเรียกร้องหาความยุติธรรม
“ไปเที่ยวหนึ่งก็ขายควายตัวหนึ่ง ทั้งซื้อกินทั้งเดินทาง จนหมด ๑๒ ตัว ไม่เหลือควายทำนา ลูกสาวซื้อมาจึงได้ทำ ตอนหลังก็ขายควายลูกสาวอีก หมดควายก็มาขายวัว ๑๔ ตัว หมดวัวขายม้า ๔ ตัว หมูคอกละ ๗ ตัว ๒ คอก ลิง ๔ ตัว”
รายการทรัพย์สินที่ทยอยหลุดลอยไปจากครอบครัวในคืนวันเรียกร้องที่นาคืน
“ขายสัตว์หมดก็ขายที่ดิน นา ๒ แปลง ที่ดินในหมู่บ้านอีก ๓ แปลง เอามาแก้ทุกข์แก้ยาก ขายดินที่สี่แยกกลางบ้าน แปลงที่ปากทางก็เสียไป ที่ทำเลดีๆ เขาก็ซื้อ ที่ไม่เหมาะก็ขายได้ถูกๆ ได้เงินไม่พอไปเที่ยวหนึ่ง ต้องขอลูกเพิ่มจึงได้ไป เดี๋ยวนี้หมด แม่เหลือแต่ตัวล่อนจ้อน”
“แทนที่จะได้เป็นพ่อแม่ของคนที่เป็นตำรวจ พยาบาล พ่อแม่ของครู ก็ไม่มีโอกาส” เพ็ชร ลูกสาวคนสุดท้องของแม่ไฮ พูดถึงชะตากรรมของครอบครัว ตัวเธอเองอยากเรียนต่อมาก แต่ไม่มีโอกาสได้ทำตามความฝัน เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินจะส่งเสีย
“อย่างพี่คำพัน ถ้าได้เรียนป่านนี้ก็คงมียศสูงแล้ว”
พี่ชายที่เธอพูดถึง เล่าเรื่องของตัวเองต่อ “ตอนนั้นผมเป็นพลอาสา เขาเปิดให้สอบ ผมสอบได้แล้ว ไม่มีเงินจะเรียน ออกไปทำนาที่บ้านเมีย ได้ข้าวส่งมาให้พ่อแม่ที่บ้าน”
เพ็ชรไปทำงานโรงงานตั้งแต่จบ ป.๖ ต่อมาได้ทำงานในศูนย์อนุบาลผู้ป่วย ได้เงินเดือนจำนวนหนึ่งพอให้เธอเก็บไว้ใช้จ่ายเอง และส่งให้แม่ได้ทุกเดือน
“ชาวบ้านเขาพูดกันว่า ถ้าเป็นลูกแม่ไฮ นาไม่มีสักไร่ ไก่ไม่มีสักตัว”
นั่นเป็นเรื่องที่เพ็ชรฝังใจจำมาแต่วัยเยาว์
“ตอนเด็กเวลาเอากุ้งเอาปลาไปขาย ชาวบ้านเขาจะพูดใส่ว่าของเขื่อนของนากินบ่แซบ เหมือนกับว่าของเราไม่มีค่า ไม่คุ้มกับเงินเขา ทำให้รู้สึกว่าถ้าไม่มีเงิน เราก็ต่ำต้อยอยู่อย่างนี้ ก็ตั้งใจว่าจะทำงานหาเงินให้แม่ ตอนนั้นคิดว่าจะไม่มีครอบครัว ไม่อยากให้ลูกมาลำบากเหมือนเรา”
แต่ความตั้งใจของเพ็ชรที่จะตั้งหน้าหาเงินก็ผันเปลี่ยนไปในคราวมาเยี่ยมแม่ที่ชุมนุมอยู่กับพี่น้องร่วมชะตากรรม ที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน บนสันเขื่อนปากมูล
หลังเดินทางยื่นหนังสือเรียกร้องต่อหน่วยงานราชการโดยลำพังมาเกือบ ๒๐ ปี เมื่อชาวไร่ชาวนาในภาคอีสานที่ประสบปัญหาจากนโยบายและการกระทำของรัฐ รวมตัวกันตั้งสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน (สกย.อ.) ขึ้นในปี ๒๕๓๗ แม่ใหญ่ไฮก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรประชาชนแห่งนี้
“ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ เรียกร้องคนเดียวมาตลอด เพิ่งร่วมม็อบก็เมื่อมี สกย.อ. แม่ไปเอง ไปดูแผนการของคนที่เขามีความรู้ เราไม่รู้ต้องไปเรียน”
“แกเรียนรู้มากทีเดียว แม้แต่ชาวบ้านในกลุ่มที่เราสร้างขึ้นมา ความเข้มแข็งไม่เท่ายายไฮสักคน” อาจารย์สำเริง ครูนักจัดตั้งชาวบ้าน ที่เห็นปัญหาของชาวบ้านในท้องถิ่นมาโดยตลอด ยังออกปากยอมรับ “แกเริ่มไม่กลัวคน เริ่มรู้ว่าประชาชนมีสิทธิ ต่อมาเมื่อแกกับเพื่อนชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมนาด้วยกันไปร่วมกับสมัชชาคนจน พอต่อสู้ยาวนานยังไม่เห็นความหวังก็ถอยกลับ แต่ยายไฮแกสู้จริง”
เมื่อองค์กรประชาชนนาม สมัชชาคนจน กำเนิดขึ้นในวันสิทธิมนุษยชนสากล (๑๐ ธันวาคม) ปี ๒๕๓๘ ในปี ๒๕๔๒ แม่ใหญ่ไฮ ขันจันทา กับเพื่อนชาวนาผู้เดือดร้อนอีก ๖ ราย ก็นำเรื่องฝายห้วยละห้าเข้าเป็นกรณีหนึ่งในกลุ่มปัญหาเขื่อน ปักหลักอยู่ที่สันเขื่อนปากมูล อำเภอโขงเจียม
แม่ไฮบอกว่าตอนนั้นยังไม่รู้หรอกว่าสมัชชาคืออะไร เพียงแต่คาดหวังว่ามันจะเป็นหนทางให้ได้ที่นาคืน พอเข้าไปก็ได้เห็นว่าคนที่ไปประท้วงต่างก็เป็นคนที่เดือดร้อนจริงๆ “ไม่มีใครจ้างให้มาประท้วงเหมือนที่คนกรุงเทพฯ คิดหรอก ไปกันเองทั้งนั้น ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ใครไม่มีข้าวก็ขอกันกิน ใครถามฉันก็จะบอกว่า ฉันประสบภัยน้ำท่วมที่นา ไม่ใช่ภัยจากน้ำป่าน้ำหลาก แต่เป็นน้ำจากเจตนาของรัฐบาล”
จากนั้นแม่ไฮก็ร่วมอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องของสมัชชาคนจนมาโดยตลอด ตั้งแต่หน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีจนถึงหน้าทำเนียบรัฐบาล
“โทร.กลับบ้าน พี่เขมพรบอกว่าแม่ไปชุมนุม ก็ไปเยี่ยมแม่ นอนคุยกัน แม่ก็อยากให้เราอยู่ด้วย” เพ็ชรเล่าถึงคืนเปลี่ยนชีวิตเธอจากคนขายแรงงานรายเดือนมาเป็นนักต่อสู้เคียงคู่แม่
“แม่มาตามนา เป็นนาของปู่ของย่า แม่ปล่อยไม่ได้” แม่บอกลูกสาวที่เพิ่งมาจากกรุงเทพฯ “อยู่ช่วยแม่ที่นี่เถอะ ตามเอาที่นาเราคืน”
เด็กสาวเพียงแต่รับฟัง
“ลูกไปอยู่กรุงเทพฯ สักพักก็หมดเรี่ยวแรง ทำไม่ไหวก็ต้องกลับบ้าน มาแล้วไม่มีที่นาจะทำอย่างไร”
เธอยังนิ่งเงียบ
“เจ้าไปเฮ็ดงานจนจ่อยจนเหลือง” แม่รำพึงหลังมองดูหน้าตาลูกสาวคนเล็ก แล้วพูดประโยคหนึ่งที่ตรึงเธอไว้ในขบวนการต่อสู้เรียกร้องมาจนเดี๋ยวนี้
“เงินเดือนทั้งหมดที่ลูกทำงานทุกเดือน ตั้งแต่เริ่มทำจนหมดเรี่ยวแรง รวมแล้วยังไม่เท่ากับนาของแม่ที่เสีย ถ้าแม่ได้ที่นากลับคืนมา ลูกก็จะมีที่นา ลูกของลูกก็มีที่นา เป็นหลักประกันในชีวิต ไม่ต้องไปขายแรงงานไกลบ้าน ทุกปีเราก็มีนาทำ ไม่ต้องไปเที่ยวหาเช่านาคนอื่นให้เขาดูถูก”
จากนั้นมาเพ็ชรก็เคียงข้างแม่อยู่ในการชุมนุมเคลื่อนไหวมาตลอด มีสามีมีลูกก็ในม็อบนั่นเอง
เพ็ชรเล่าว่าเธอเจอกับตี๋ในการชุมนุมที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน และต่อสู้ตามแม่ไปจนเจ็บท้องจะคลอดลูกที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
“ความจริงตั้งใจจะคลอดกับแม่ แม่เป็นหมอตำแย แต่ตอนเจ็บท้องแม่ไม่อยู่ ไปร้องเรียนแม่นายกฯ ที่จังหวัดตรัง” เพ็ชรเล่าเหตุการณ์เมื่อปี ๒๕๔๓ “พวกพี่ๆ เลยพาไปออกลูกที่โรงพยาบาล มีคนแนะนำว่าให้คลอดพิเศษ พอไปบอกอย่างนั้น พยาบาลก็ถามว่าทำงานอะไรอยู่ที่ไหน ก็บอกว่าอยู่ในม็อบหน้าทำเนียบรัฐบาล พยาบาลปฏิบัติกับเราเหมือนไม่ใช่คน พูดห้วนๆ ไม่ใส่ใจดูแล จนเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลประสานงานให้ ก็ได้คลอดปรกติ แต่ไม่ได้เสียเงิน รู้สึกเป็นหนี้แผ่นดินเหมือนกัน แต่ถ้าต้องจ่ายเราก็ไม่มีปัญญาจ่าย”
ถึงคราวต่อสู้เธอก็สู้อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน คราวนั้นเพ็ชรกับแม่ไปตามเรื่องจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยที่กำกับดูแลหน่วยงานคู่กรณี ก็ได้รับคำตอบว่า รพช. มีหนังสือชี้แจงมาว่า ฝายห้วยละห้าเป็นโครงการขนาดเล็ก จัดสร้างขึ้นตามคำเรียกร้องของราษฎรในพื้นที่ หากไม่ได้รับความยินยอมของชาวบ้านมาตั้งแต่ต้นก็คงสร้างไม่ได้
“จำเลยที่ไหนจะรับว่าตัวเองทำผิด” เพ็ชรสวนคำท่านรัฐมนตรี
“คุณพูดอย่างนี้คุณก้าวร้าวนี่ พูดอย่างนี้ใครจะมีจิตใจอยากจะช่วย”
“แม่ไม่ได้เรียกร้องเกินสิ่งที่จะได้รับ แม่เรียกร้องความยุติธรรม”
ฯพณฯ ตบโต๊ะใส่
เพ็ชรร้องไห้
กลับมานอนเครียดทั้งคืน ว่าพ่อแม่คงต้องตายไปก่อนได้เห็นความเป็นธรรม เช้ามาก็คิดวกวนอยู่กับความคิดเดิม ช่วงสายๆ เธอฝากลูกไว้กับพี่คำมอญ เดินข้ามสะพานข้างทำเนียบรัฐบาล
“เห็นน้ำในคลองไหล...ก็ว่าตายไปให้คนได้ลือกันทั้งโลก” แต่ไม่สำเร็จอย่างที่ตั้งใจ เพราะมีคนลงไปช่วยไว้ เธอจึงได้มานั่งเล่าความหลังอยู่ในวันนี้ “การเรียกร้องของเรา รพช. คัดค้านมาตลอด เหมือนกีดกันไม่ให้เราทำสำเร็จ ก็คิดว่าจะตายบูชายันต์รัฐบาล”
ปี ๒๕๔๓ ผ่านไปโดยรัฐบาลในเวลานั้นยังไม่มีมติจ่ายค่าชดเชย และไม่มีการพิสูจน์สิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้นในกรณีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก
จนปีถัดมา รัฐบาลชุดใหม่มีมติคณะรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน จากนั้นก็มีการตรวจสอบสิทธิ์และรังวัดพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายในกรณีฝายห้วยละห้าในอีกปีรุ่งขึ้น
เดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๕๔๕ พื้นที่โดนน้ำท่วมของชาวนา ๓ รายที่ไม่เซ็นยินยอม ได้รับการรังวัด ได้ตัวเลขความเสียหายของนางไฮ ขันจันทา ๑๔ ไร่เศษ นายฟอง ขันจันทา ๑๖ ไร่เศษ นายเสือ พันคำ ๒๙ ไร่เศษ
แม่ใหญ่ไฮ ผู้นำการเรียกร้อง แจกแจงรายละเอียดให้ฟังว่า
ที่นาของพ่อเสือนั้น เป็นของแม่ใหญ่ใส (เมีย) ซึ่งได้มรดกจากแม่ ๑๘ ไร่ กับอีก ๑๒ ไร่ ซื้อต่อจากแม่ใหญ่โงน พี่สาวคนโต ซึ่งเป็นมรดกเดิมที่ได้จากแม่ (คูณ เคนงาม) เช่นกัน รวมเป็น ๓๐ ไร่ โดนน้ำท่วมแทบทั้งหมด
ของพ่อใหญ่ฟอง ทั้งสิ้น ๒๗ ไร่ เป็นสิทธิ์ น.ส.๓ ๑๑ ไร่ ที่เหลือเป็น ส.ค.๑ โดนน้ำท่วมไป ๑๖ ไร่เศษ ที่เหลือก็พอได้ประทังครอบครัวมาตลอด
ส่วนของแม่ใหญ่ไฮเอง ตามเอกสาร น.ส.๓ จำนวน ๑๘ ไร่ ก็โดนน้ำท่วมเกือบทั้งแปลง
พื้นที่ความเสียหายของผู้ร้องเรียนทั้ง ๓ รายรวม ๖๑ ไร่ ได้รับการคำนวณค่าที่ดิน ค่าชดเชยการสูญเสียโอกาสตั้งแต่ปีที่โดนน้ำท่วม ได้ตัวเลขเข้าสู่คณะกรรมการฯ มีคำตอบกลับมาว่าไม่ควรชดเชยค่าเสียหายเป็นเงิน ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ไปดำเนินการจัดหาที่ดินให้แทน
ก่อนเข้าฤดูเพาะปลูก ๒๕๔๖ ก็หาพื้นที่ได้ตามที่ต้องการ ส.ป.ก. เจรจาให้แม่ใหญ่ไฮได้ทำนาในปีนั้น โดยคิดเป็นค่าเช่าในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนยังไม่เสร็จสิ้น
แล้ว ส.ป.ก. ก็เงียบหายไปแต่วันนั้น แม่ไฮเองไม่มีเงินจะจ่ายค่าเช่านา ถึงฤดูเก็บเกี่ยว เจ้าของนาก็มาตวงเอาข้าวเป็นค่าเช่า
ขึ้นปี ๒๕๔๗ มีข่าวแว่วมาว่ารัฐบาลมีทีท่าจะยกเลิกคณะกรรมการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทุกชุด ลูกๆ เล่าว่าช่วงนั้นแม่ไฮไม่ยอมหลับยอมนอน เหมือนคนเสียสติ ลูกๆ ก็สับสนอลหม่านไปหมด สุดท้าย ส.ป.ก.ก็สรุปมาว่าเรื่องที่ดินซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการนั้นเป็นอันระงับไป
“พอเอาข้าวขึ้นเล้าเสร็จ แม่ก็บอกลูกว่าไปปลูกกระท่อมให้แม่เถอะ แม่จะลงไปอยู่ที่นาเฮา” แม่ไฮ ขันจันทา วัยย่าง ๘๐ ในปีนี้ เล่าย้อนเหตุการณ์เมื่อต้นฤดูร้อนปี ๒๕๔๗ “แม่นอนไม่หลับมาตั้งแต่เดือน ๑ เดือน ๒ ไปมาหลายที่แล้ว นายกฯ ไม่รู้กี่ชื่อเรียงมา บ่ได้อิหยัง คิดอะไรไม่ออกแล้ว คิดจนไม่มีวันปลง พอเดือน ๔ ก็บอกลูกให้ไปซื้อจากคามาปลูกริมเพิงคันฝาย ก็ลงไปอยู่”
คำสั่งยกเลิกคณะกรรมการแก้ไขปัญหาทุกชุดนั่นเองที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายให้นางต้องทำอย่างนั้น ต่อสู้มา ๒๗ ปี ขณะที่วัยก็ล่วงเลย เป็นไม้ใกล้ฝั่งเข้าไปทุกที
“มันเหนื่อยในใจในกาย ลูกหลานเกิดมาบ่ได้เห็นสมบัติของตายาย เราก็ไม่ใช่อยู่ค้ำฟ้า แต่กระดูกสันหลังของแม่ข่อยบ่ให้สูญหายไปไส ข่อยสิเก็บไว้ให้ลูกหลาน”
“แม่บอกว่า อยากให้ที่นาของแม่ได้เกิด ก่อนที่แม่จะไปเกิดใหม่” ลูกสาวคนเล็กที่ร่วมต่อสู้เคียงข้างแม่มาตลอดช่วง ๑๐ ปีหลัง เล่าเจตนารมณ์ของแม่ “แม่ว่าแม่ไม่ได้เอาไปด้วยหรอก จะเอาไว้ให้ลูกๆ นั่นแหละ แม่พูดตลอดว่าเป็นมรดกปู่ย่าตาทวดสร้างมา แม่ได้ทำกิน แต่ถึงรุ่นลูกจะไม่มีอีกแล้ว กลางคืนดึกดื่นบางทีแม่ก็ปลุกลูกๆ ขึ้นมาคุย ตื่นๆ มาเว้ากัน เรื่องที่นาเฮาจะเอาจังได๋”
ลูกก็ทั้งขู่ทั้งปลอบ ไม่อยากให้แม่ลงไปอยู่ที่ฝาย ช่วงนั้นขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนแทบไม่มีองค์กรไหนกล้าขยับตัว
“ลูกๆ ห้าม ว่าช่วงนั้นรัฐบาลเขาแข็ง สื่อก็อยู่ในมือหมด ถ้าเขามาอุ้มแม่หายไป หรือจับแม่เข้าคุก พวกหนูไม่ไปด้วยนะ”
“จะจับก็จับ บ่แม่นที่เพิ่น แม่จะเอาที่นาแม่คืน” แม่ไฮรู้อยู่แก่ใจ ว่าไม่มีเวลาและหนทางอีกต่อไปแล้ว “แม่ไม่ฟังลูกหรอก แม่จะฟังแม่เอง แม่จะอยู่กับแม่เอง คนกลัวก็กลัวไปเถอะ ขอให้ไปปลูกกระท่อมให้แม่ ถึงวันมันแล้ว ห้ามอย่างไรแม่ก็ไม่ฟังแล้ว”
แม่ไฮเป็นหมอตำแยและเป็นหมอยาพื้นบ้านด้วย รักษาคนไข้ได้เงินเล็กๆ น้อยๆ เก็บสะสมมาได้ ๒,๐๐๐ บาท ก็ให้ลูกหลานไปซื้อจากหญ้าคามาปลูกเพิงให้ที่ริมคันฝาย แล้วนางก็ไปปักหลักอยู่ที่นั่นคนเดียว ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๗
“อยู่ไปๆ ไม่รู้จะทำอะไร ไม่เกิดอะไร แม่ก็ว่าจะขุดเขื่อนปล่อยน้ำออก เอาที่นาแม่คืน”
ลงมาอยู่เพิงพักริมคันฝายนับวันได้ ๑ เดือน กับ ๔ วัน แม่ไฮก็ชักชวนหลานๆ หาจอบเสียมมาช่วยกันเจาะสันฝาย
เริ่มขุดวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๗ จนวันที่ ๒๔ เมษายน คันฝายที่กดทับที่นาของแกมา ๒๗ ปีก็ถูกเจาะทะลุ น้ำเริ่มไหลระบาย พร้อมกับคนในหมู่บ้านกลุ่มหนึ่งก็ยกขบวนกันมาด่าทอแม่ใหญ่ไฮ ด้วยความกลัวว่าไม่มีน้ำประปาใช้ ทั้งที่ใกล้กันนั้นยังมีฝายทางเมืองกับสระคึกฤทธิ์เพียงพอให้มี
น้ำใช้ ความขัดแย้งย่อมๆ ก่อตัวขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆ ไกลปืนเที่ยงที่เคยอยู่ร่วมกันมาตามยถา
นายอำเภอ อบต. ก็พาตำรวจมาจะจับ
นั่นเป็นเรื่องที่ลูกๆ แม่ไฮคาดหมายไว้แล้ว ก่อนแม่จะเจาะเขื่อน พวกเขาจึงไปยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาทนายความ และทำเนียบรัฐบาลไว้ก่อนแล้ว
แต่แม่ไฮไม่กลัว
“ลูกพากันโกรธว่าแม่ทำไปได้อย่างไร มันเป็นของหลวง อบต. ก็อ้างว่า รพช. โอนมาให้เขาดูแล แม่ว่าไม่ใช่ของหลวง ที่ตรงนี้แม่ถือกรรมสิทธิ์ มีเอกสาร ยังจ่ายค่าบำรุงท้องที่ทุกปี ถ้าตัวเขื่อนเป็นของหลวงก็ให้มาโกยออกไป ที่ตั้งคันฝายเป็นที่แม่”
หลังจากนั้น ภาพของหญิงสูงวัยนุ่งผ้าถุงกระโจมอก กับหลานๆ ชายหญิงถือจอบเสียมร่วมกันขุดดินสันฝาย ก็ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์
ไม่กี่วันต่อมา แม่ไฮได้รับเชิญไปสนทนาออกอากาศสดในรายการ “ถึงลูกถึงคน” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ ครั้งแรกในคืนวันที่ ๒๙ เมษายน พร้อมกับสมาชิก อบต. และผู้ใหญ่บ้านโนนตาล โดยมีปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีเข้าสายในรายการด้วย และหลังจากนั้นไม่กี่วันแม่ไฮกับลูกได้รับเชิญมาออกรายการเดิมซ้ำอีกครั้ง จากนั้นมาหญิงชาวนาไร้ชื่อจากหมู่บ้านไกลสุดชายแดนติดแม่น้ำโขง ก็เป็นที่รู้จักของผู้คนทุกชนชั้นทั้งประเทศ
ในการออกโทรทัศน์ครั้งแรก ทางปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลฯ รับปากว่าจะหาที่ชดเชยให้แม่ไฮภายใน ๑๕ วัน ครั้นถึงกำหนดปรากฏว่าได้ ๓๙ ไร่ จากที่สูญเสียไป ๖๑ ไร่ แม่ไฮปฏิเสธที่จะรับข้อเสนอนี้ครอบครัวขันจันทาให้เหตุผลด้วยว่า ที่ดินเดิมเป็นสิทธิ์
น.ส.๓ แต่ของ ส.ป.ก. ให้สิทธิ์แค่การอาศัยทำกิน ทำให้แม่ไฮไม่สามารถยกกรรมสิทธิ์ให้ลูกหลานทำกินตลอดไปได้ อีกทั้งที่ดิน ๓๙ ไร่ไม่ใช่ที่ดินผืนเดียว แต่กระจัดกระจายกันอยู่ จึงยากต่อการเข้าทำกิน อีกทั้งทางเข้ายังต้องผ่านที่ดินผู้อื่น จึงขอไม่รับที่ดินชดเชยดังกล่าว
คืนวันที่ ๑๔ พฤษภาคม แม่ไฮได้รับเชิญมาออกรายการ “ถึงลูกถึงคน” อีกครั้ง เป็นเหมือนกับการเน้นย้ำส่งท้ายว่า การต่อสู้ยาวนาน ๒๗ ปีของหญิงชาวนาตัวเล็กๆ จากหมู่บ้านสุดชายแดนยังได้แต่ความว่างเปล่า
แต่วันหลังจากนั้นเอง รัฐบาลในขณะนั้นก็สั่งให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีลงมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ และต่อมาปัญหาก็ได้รับการแก้ไขไปเป็นลำดับ
สันเขื่อนถูกทลาย ปล่อยน้ำออกจนขอดฝาย ผืนนาที่จมอยู่ใต้น้ำมา ๒๗ ปีได้ปรากฏต่อสายตาผู้เป็นเจ้าของอีกครั้ง
ข่าวการได้รับชัยชนะของแม่ใหญ่ไฮเป็นที่เลื่องลืออย่างเอิกเกริก คนที่รู้ข่าวหลั่งไหลมาให้กำลังใจหญิงชรานักสู้ถึงเพิงพักริมฝาย ทั้งคนรุ่นราวคราวเดียวกันในตัวจังหวัด บางคนลงทุนนั่งเครื่องบินมาจากสงขลา ภูเก็ตก็มี
หลังน้ำแห้งหาย ท้องฝายกลายเป็นผืนนาเหมือนที่เคยเป็นมาก่อนจะถูกน้ำท่วม ผืนนา ๔๘ แปลงที่เคยเป็นของชาวบ้าน ๒๑ ราย ได้กลับคืนกรรมสิทธิ์เจ้าของเดิม จากการเรียกร้องของแม่ไฮ พ่อฟอง และพ่อเสือ
ส่วนปัญหาแหล่งผลิตน้ำประปาหมู่บ้านที่ชาวบ้านกลุ่มคัดค้านการรื้อฝายกังวล ได้รับการแก้ไขโดยหน่วยทหารหน่วยบัญชาการทหารพัฒนามาเจาะบาดาลให้เป็นแหล่งน้ำทดแทน
ความหวังและการต่อสู้ยาวนานของหญิงชราแห่งบ้านโนนตาลประสบชัยชนะ แม้ว่าสภาพดินในท้องนาจะแข็งกระด้างด้วยเป็นท้องน้ำมายาวนาน ซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูช่วยเหลือต่อ
และนับจากนั้น ชื่อของหญิงชาวนายอดนักสู้ก็เป็นที่รู้จักจากวีรกรรมของคนเล็กๆ ที่บากบั่น อดทน และกล้าหาญลุกขึ้นมาเรียกร้องต่อต้านอำนาจรัฐ
กิจกรรมรณรงค์เคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นงานของฝ่ายชาวบ้าน เอ็นจีโอ เอกชน จนถึงคนที่เคยรังเกียจการต่อสู้ของชาวบ้าน หรือส่วนราชการที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับนาง ต่างก็หันมาขอความร่วมมือจากนาง เสมือนว่าหญิงชาวนานักต่อสู้ผู้นี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์หนึ่งของการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางสังคมการเมืองของประเทศไทยไปแล้วก็ว่าได้
จากหญิงชาวนาไร้ชื่อในหมู่บ้านห่างไกลสุดชายแดน จน ๕-๖ ปีหลังมานี้ ไฮ ขันจันทา เป็นคล้ายบุคคลสาธารณะของภาคประชาชนไปแล้ว
หลังได้ที่นาคืนใหม่ๆ แม่ไฮพูดถึงช่วงเวลาที่สูญเสียไปกับการเรียกร้องตามทวงที่นาคืนว่า
“นี่ถ้าเอาเวลา ๒๗ ปีที่ฉันสู้มาไปเรียนหนังสือ ป่านนี้ฉันคงเรียนจบปริญญาจากทั่วโลกแล้ว”
จนล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ (๒๕๕๓) แม่ใหญ่ไฮ ในวัยย่าง ๘๐ ก็ได้ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อันถือเป็นเกียรติคุณที่สมศักดิ์ศรีอย่างยิ่ง ทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ
“แม่บอกว่า เขาเอิ้นต้องขาน เขาวานต้องซอย”
เขมพร ที่เป็นคนพาแม่ไฮจากหมู่บ้านโนนตาลมาร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่กรุงเทพฯ ถ่ายทอดคำพูดของแม่
เธอเล่าด้วยว่า มหาวิทยาลัยออกค่าใช้จ่ายให้ แต่หมู่บ้านอยู่ห่างตัวจังหวัดเป็นร้อยกิโลเมตร ลำบากกับการออกไปจองซื้อตั๋วเครื่องบิน จึงต้องพาแม่ขึ้นรถทัวร์ ซึ่งก็ทุลักทุเลพอสมควรเนื่องจากรถเที่ยวนั้นแน่นมาก แต่เธอกับแม่ไม่ย่อท้อ ก็อย่างที่แม่บอก เขาเรียกต้องขาน เขาวานต้องช่วย
แม่พูดเสมอว่า เขาเชิญมา ถือว่าเราเป็นผู้มีเกียรติ หรือในบางทีแม้จะรู้ดีว่างานนั้นมีตื้นลึกหนาบางอย่างไร แต่เมื่อเขาเสนอมา แม่ก็ยินดีตอบสนอง
แม่ไฮไม่มีญาติอยู่ในกรุงเทพฯ แต่คนกรุงเทพฯ หลายคนรู้จักนางดี และยินดีเปิดบ้านให้พักทุกครั้งที่เข้ากรุงเทพฯ ด้วยความชื่นชมในความเป็นนักต่อสู้ของนาง ลูกชายแม่บางคนถูกรับตัวเข้าทำงานก็ด้วยความเป็นลูกแม่ไฮ หลานจะมีที่เรียนดีๆ ก็ด้วยบารมีของยายเช่นกัน
ส่วนตัวยายเอง แม้จะได้เรียนหนังสือจบแค่ ป.๔ แต่มาวันนี้ยายก็มีดีกรีถึงมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
คนกันเองที่รู้จักกันดีถามเป็นทีเล่นว่า “แม่ไปแอบเรียนมาจากไหน จู่ๆ ก็ได้ปริญญา”
แม่ไฮตอบเป็นทีเล่นแต่หมายความตามจริงว่า “ก็เรียนพร้อมๆ กับพี่น้องชาวบ้าน เรียนกับอาจารย์พิเชษฐ อาจารย์มด อาจารย์ปุ๋ยนั่นแหละ”
“อาจารย์” ที่แม่ไฮเอ่ยนาม ๓ คนนั้น เป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจนที่เคียงข้างการต่อสู้ของชาวบ้านมาแต่ต้น แต่บัดนี้ได้วายชนม์ไปก่อนแล้ว
พิเชษฐ เพชรน้ำรอบ
มด-วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์
ปุ๋ย-นันทโชติ ชัยรัตน์
ถ้าล่วงรู้ได้ พวกเขาคงชื่นใจในถ้อยคำของแม่ไฮ
ไม่ใช่ในแง่ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
แต่เกียรติและชัยที่แม่ได้รับ ย่อมเป็นหลักหมายหนึ่งในขบวนการประชาชนว่า สิ่งที่เขาทุ่มเทมาด้วยชีวิตนั้น-ไม่สูญเปล่า
ครอบครัวชาวนาถ่ายรูปร่วมกันกลางทุ่งข้าวเขียวขจี ในฤดูเพาะปลูกแรกหลังได้ที่นาคืน (มิถุนายน ๒๕๔๗)
ส่วนหนึ่งของลูกหลานเหลนร่วมร้อยคนในวงศาของแม่ใหญ่ไฮ มาถ่ายรูปร่วมกันที่ริมฝายห้วยละห้า ก่อนคันฝายจะถูกรื้อ (พฤษภาคม ๒๕๔๗)
เรื่องไม่ลับของยายไฮ ที่คุณอาจยังไม่รู้ ใฮ-ไฮ แม่ไฮบอกว่า เดิมชื่อของแกเขียนด้วยสระ “ใ” ในบัตรประชาชนใบก่อนหน้านี้ที่เคยให้ผู้เขียนดูเมื่อปี ๒๕๔๗ ก็เขียน “นางใฮ” แต่นับตั้งแต่แกกลายเป็นบุคคลสาธารณะ สื่อมวลชนก็มักเขียนชื่อแกเป็น “ไฮ” สุดท้ายในบัตรประชาชนตลอดชีพที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็เปลี่ยนเป็นไฮแล้ว แม่ใหญ่ไฮแต่งงานตอนอายุ ๒๐ กับหนุ่มอายุ ๒๓ ชื่อฟอง โดยทั้งคู่ไม่ได้รักกันเลย แม่ไฮในวัยชราเล่าเรื่องแต่ครั้งเมื่อยังเป็นสาวว่า “แม่ไม่ชอบเขา เขาก็ไม่ชอบแม่เหมือนกัน แต่ต้องแต่งกันเพราะเกรงพ่อแม่เกรงพี่” แต่งงานกันแล้วก็ต่างคนต่างอยู่กันไป จน ๓ ปีจึงรักกัน อายุ ๒๔ ปีจึงมีลูกคนแรก และใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมา ๕๗ ปี กระทั่งพ่อฟองจากไปเมื่อปี ๒๕๕๐ แม่ไฮบอกว่าพอคู่ชีวิตจากไปก็ขาดคู่ปรึกษา “แต่ก่อน แก่กันทั้งคู่ก็จริง แต่แก่เราก็คุยกันได้ กับลูกพอปลุกมาคุย เขาก็ว่าหยุดก่อน นอนก่อน” คนในขบวนการสมัชชาคนจนต่างก็รู้ว่าแม่ใหญ่ไฮจากเขื่อนห้วยละห้า เป็นหมอยาสมุนไพรและเป็นหมอดู ยามพบหน้ากันก็มักต้องให้แม่ใหญ่ช่วยดูดวงให้ แม่ไฮพูดถึงตัวเองในเรื่องนี้ว่า “ฉันดูหมอเป็นเอง แต่แม่นไหมไม่รู้ จริงๆ ก็เดาด้วยนั่นแหละ หมอดูคู่กับหมอเดา ดูเสร็จแล้วถ้าเขาให้ค่าดูก็รับไว้ ถ้าเขาไม่ให้ก็แล้วไป” “ตอนอายุ ๙ ปี เข้าโรงเรียนอยู่ ป.๑ ได้ยินเสียงคนร้อง ‘โอ๊ย ใครก็ได้ช่วยกูที’ ขึ้นไปดูเป็นแม่บัวสา ตอนนี้ตายแล้วนาถูกน้ำท่วมด้วยกัน มาประท้วงที่กรุงเทพฯ ด้วยกัน ตอนนั้นแกจะออกลูก ร้องลั่นบ้าน เจ็บท้องอยากให้คนได้ยิน ผัวแกอยู่นา ออกไปเอาควาย แม่มาจากอาบน้ำ ได้ยินเสียงร้องก็ขึ้นบ้านไปดู แกว่า ‘จะตายแล้ว เอาเอื้อยไว้ด้วยแน’ เข้าไปนั่งข้างหลัง พาเบ่ง ‘เอื้อยซอยเบ่งเด้อ’ พาเบ่งพอหัวโผล่ออกมาก็ดึง ถ้าไม่พาเบ่ง จะดึงเหมือนดึงงูออกจากรู บ่ออกเด้ เด็กออกแล้วก็เอารกออก “หมู่บ้านเป็นร้อยหลังคาเรือน ฮึดกันหมดบ้าน ฮึดเด็กน้อย พาผู้ใหญ่ออกลูก เขาว่า ‘โอ้ เด็กน้อยสะมากล้ากะด้อกะเดี้ยแท่’ “แม่มีลูก ๑๔ คน คลอดเองหมด ปิดประตูไว้ไม่ให้ใครดูแล้วก็ออกเองทั้งหมด ตัดสายสะดือ สมัยโบราณใช้หอยกาบ เอาถ่านไฟรอง จับสายสะดือมาให้ถึงเข่าเด็ก ในตำราเขาบอกให้วัดทาบถึงเข่า เอาด้ายมาผูกแล้วตัด” นอกจากดื้อต่อเจ้าหน้าที่รัฐ หญิงชราบ้านโนนตาลคนนี้ยังดื้อกับหมอด้วย แม่ไฮพูดถึงนิสัยตัวเองว่า “กลัวหมอ และหมอกลัวด้วย บอกว่าไม่ให้ความร่วมมือเลย” เคยไปตรวจร่างกาย หมอพบมะเร็งที่เต้านม ปอด ตับ มดลูก แม่ไฮบอกตัวเองว่าช่างมัน จะไปรักษาเอง “รักษาเอง ไม่ยอมให้ใครรักษา เป่าเอง มีคาถา ว่ามนตร์ เป่าใส่กำมือ เอาไปที่นมแล้วเปิดออก ๑๕ วัน ลงไปตรวจ หมดแล้วไม่เหลืออะไร” แม่หมอเฒ่าแห่งหมู่บ้านโนนตาลบอกว่า ที่เล่านี้ไม่ได้ต้องการให้ใครมาเชื่อ และไม่ได้รับรักษาให้ใคร แต่ตัวเองนั้นรักษาได้ “รักษาไม่ได้แต่ตา มันพร่ามัวตามร่างกายที่แก่ลงทุกที หมอบอกว่าให้ไปลอก บอก ไม่! กลัวบอด เกิดตาบอดขึ้นมาก็ไม่เห็นลูกเห็นหลาน” |
อ้างอิง
ข่าวสด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗.
ข่าวสด ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗.
ข่าวสด ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓.
เครือข่ายเขื่อน, เขื่อน นวัตกรรมแห่งปัญหา, ๒๕๔๗.
ปัญญ์ (นามแฝง), “ใฮ ขันจันทา...บทพิสูจน์ผู้หญิงไทยใจเกินร้อย”,
แพรว ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๕๙๖ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๗.
“ยายใฮ คนทวงแผ่นดิน”, สารคดีคนค้นฅน, ๒๕๔๗.
สารแม่มูน ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ (๑๓) มิถุนายน-กรกฎาคม ๒๕๔๗.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี, เอกสารสรุปผลการดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีฝายห้วยละห้า ตำบลนาตาล กิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น