เวลาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเอง

อ่าน.......ขำๆ

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อยากให้คนไทยได้อ่าน! (เยอะไปหน่อยนะ)



ธงชาติไทย
เวียดนามบุกชายแดนไทย
ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูเชีย
สมรภูมิที่ถูกลืม
ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
A Forgotten War

เวียดนามบุกชายแดนไทย
เป็นส่วนหนึ่งของ:สงครามกัมพูชา-เวียดนาม
วันเวลา 1979-1988
สถานที่ ชายแดนไทย-กัมพูชา
คู่สงคราม
เวียดนาม
เขมรเฮงสำริน
 ราชอาณาจักรไทยเขมรสามฝ่าย

รถถังพีที-76ของเวียดนามเข้าสู่กรุงพนมเปญเมืองหลวงของกัมพูชา
ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากชาวกัมพูชาในฐานะผู้ขับไล่เขมรแดง    

คุยกับนายแทนอาร์มี่
     ก่อนอื่นผมต้องขอชี้แจงก่อนว่า ภาษาที่ใช้ในเรื่องนี้อาจมีการผิดพลาด เนื่องจากเป็นการแปลจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย เขมร เวียดนาม อีกทีหนึ่งซึ่งหาแหล่งอ้างอิงจากในประเทศเราค่อนข้างยาก
    ผมเคยได้ทราบเรื่องที่เวียดนามส่งทหารบุกชาย แดนไทยครั้งแรก จากนิตยสารสมรภูมิเรื่องการรบที่ช่องบก ต่อมาก็ได้ทราบมากขึ้น จากเว็บบอร์ดต่างๆแต่ข้อมูลในไทยก็ยังคงมีน้อยอยู่ดี และส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะมีการเปิดเผยเรื่องนี้มากนัก ผมคิดว่าการเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้เราคนไทยได้รับทราบว่า
การรบที่ชายแดนไทย-กัมพูชาเคยเกิดขึ้นมานานแล้ว
    การปะทะกันระหว่างกองทัพไทยและเวียดนามใน ครั้งนี้ ทีแรกคนไทยได้ยินก็จะคิดแ่ต่ว่าเวียดนามเป็นฝ่ายรุกราน เป็นประเทศที่ต้องการจะยึดภาคอีสานของไทย และขยายลัทธิคอมมิวนิสต์มาสู่ไทย ซึ่งนั้นก็ถูกส่วนหนึ่งแต่ยังมีอีกหลายส่วนที่ซับซ้อนกว่านั้น ที่เป็นสาเหตุให้เวียดนามทำการโจมตีชายแดนไทย นั้นคือการที่ไทยให้การสนับสนุนเขมรแดง ผู้เป็นศัตรูกับเวียดนามและเขมรเฮงสำรินหรือกัมพูชาในปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่กัมพูชาในวันนี้จะยังคลางแคลงใจกับไทยเรา
     การที่เวียดนามบุกไทยเป็นผลสะท้อนมาจาก สงครามเวียดนามบุกกัมพูชาขับไล่เขมรแดง และต่อยอดไปเป็นสงครามสั่งสอน ระหว่างจีนกับเวียดนาม ซึ่งทั้งหมดนี้รวมเป็นสงครามอินโดจีนครั้งที่สาม ต่อเนื่องมาจากสงครามเวียดนาม (สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง)
    เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่แทนอาร์มี่ได้ เขียนขึ้น โดยมีประเทศไทยของเราเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะอยากทราบในเรื่องนี้และเป็นการแบ่งปันความรู้ให้กับทุกท่านด้วย และก็หวังว่าปัญหาที่ชายแดนไทย-กัมพูชาในปัจจุบัน จะไม่เกิดขึ้นซ้ำรอยเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนี้
แทนอาร์มี่ TANARMY
อังคาร ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒
สารบัญ
 
Tips:หลังจากกดหัวข้อแล้วต้องการ
กลับมาที่สารบัญให้กดปุ่มBackspace

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดงและการปกครองที่โหดเหี้ยม
ทำให้ชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตนับล้านคน
เวียดนามใช้อาวุธผลิตโดยอเมริกาที่ยึดได้จากเวียดนามใต้
ในการบุกกัมพูชาเช่น รถสายพานลำเลียงพล เอ็ม113ในภาพนี้
สาเหตุ
     เมื่อ เวียดนามได้ยาตราทัพบุกยึดกัมพูชาจากเขมรแดงในปี 1978 ก็ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศไทย เพราะต้องสูญเสียกัมพูชา ซึ่งเป็นเสมือนประเทศกันชนสกัดอิทธิพลของเวียดนาม ทำให้ไทยต้องเผชิญหน้ากับเวียดนาม ที่มีทหารอยู่ในกัมพูชาและลาวรวมกันมากถึง 300,000นาย รัฐบาลไทยได้เริ่มเตรียมการป้องกันชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา และเพิ่มความเข้มงวดในการข้ามชายแดนมากขึ้น ถึงกระนั้นเวียดนามก็ยังคงรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยบ่อยครั้ง ระหว่างช่วงปี 1979-88 เพื่อกวาดล้างกองโจรเขมรแดงและกลุ่มอื่นๆ ผู้ทำการต่อต้านเวียดนามผู้ยึดครองประเทศบ้านเกิดของเขา ซึ่งกบดานอยู่ตลอดชายแดนฝั่งไทย โดยไทยยังคงระวังตัวในแผนการของเวียดนาม ที่อาจเป็นการคุกคามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     ประเทศไทยเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อการ ถูกเวียดนามโจมตีมากที่สุด ในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซี่ยน ในเวทีอาเซี่ยน ไทยต่อต้านการรุกรานกัมพูชาของเวียดนาม และสงสัยในวัตถุประสงค์ระยะยาวของเวียดนาม โดยเกรงว่าการที่เวียดนามเคลื่อนไหวในครั้งนี้ จะเป็นการเข้ามาแทรกแซงภายในประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ทำสงครามกองโจรอยู่กับรัฐบาล ด้วยสาเหตุนี้ไทยจึงสนับสนุนสหรัฐอเมริกา ในการสกัดกั้นอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ ระหว่างช่วงสงครามเวียดนาม
     เมื่อกรุงพนมเปญเมืองหลวงถูกยึดได้โดยกอง ทัพเวียดนาม ก็เกิดความกลัวขึ้นมาว่า เวียดนามอาจจะกระทำการเดียวกันนี้กับประเทศไทย ด้วยการบุกเข้ายึดกรุงเทพในแบบ ยุทธการดอกบัวบาน* ซึ่ง เป็นวิธีเดียวกับที่เวียดนามใช้ได้ผลมาแล้วในการยึดกรุงไซง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้ส่งผลให้เวียดนามใต้ถึงกาลอวสาน และครั้งนี้ก็เช่นกันการยึดกรุงพนมเปญทำให้เขมรแดงแตกพ่ายอีกราย ทางกรุงเทพ*จึง ต้องหาพันธมิตรที่ไทยเคยถือว่าเป็นศัตรูมาตลอด นั้นคือประเทศจีนนั้นเอง ด้วยการส่งคณะทูตไปขอความช่วยเหลือถึงกรุงปักกิ่ง การกระทำของไทยครั้งนี้ยิ่งทำให้ทางฮานอยมีท่าทีแข็งกร้าวต่อไทยมากขึ้น เพราะเวียดนามกำลังมีความขัดแย้งด้านพรมแดนและลัทธิการปกครองกับจีน

*เป็นพิชัยสงครามด้วยการเข้ายึดศูนย์กลาง (เมืองหลวง) ก่อนแล้วค่อยขยายออกเฉกเช่นเดียวกับลักษณะของดอกบัวบาน* บทความนี้จะเรียกเมืองหลวงแทนการเรียกชื่อประเทศเป็นบางครั้ง เช่นกรุงเทพคือไทย ฮานอยคือเวียดนาม

     ในปี 1973 ได้เิกิดการก่อตั้งรัฐบาลที่มาจากพลเรือนขึ้นในไทย (ก่อนหน้านี้เป็นรัฐบาลทหาร) รัฐบาลใหม่ต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับเวียดนามเสียใหม่ (ในขณะนั้นยังเป็นเวียดนามเหนือ) ด้วยการเสนอที่จะถอนฐานทัพสหรัฐในประเทศไทยออกไป และเปลี่ยนท่าทีเป็นกลางมากขึ้น เวียดนาม (เหนือ) ตอบรับด้วยการส่งตัวแทนมาที่กรุงเทพ แต่การประชุมก็ล่มก่อนที่จะทันได้ตกลงในเรื่องใดๆ การประชุมจึงได้เริ่มอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ปี1976 (หลังจากเวียดนามใต้แตกและรวมประเทศได้แล้ว) ได้มีการเตรียมเปิดสถานทูตและจัดตั้งเอกอัครราชทูตของทั้งสองประเทศ และมีการเจรจาเรื่องการค้าและความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ
     แต่แล้วเหตุการณ์ ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ได้เกิดการก่อการรัฐประหารขึ้นโดยทหารอีกครั้งในเดือน ตุลาคม ปี1976 (คลับคล้ายคลับคลากับปัจจุบันยังไงชอบกล อีกอย่างเดือนตุลาฯนี่มีเรื่องทุกทีสิน่า) รัฐบาลใหม่ไม่เห็นด้วยที่จะคบค้ากับเวียดนาม การกระชับสัมพันธ์ไมตรีจึงต้องล่าช้าออกไปอีก จนถึงเดือน พฤษภาคม ปี1977 ได้มีการประชุมร่วมระหว่างไทย ลาว เวียดนาม เกี่ยวกับการฟื้นฟูโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ที่ได้ชะงักไปเพราะเกิดสงครามเวียดนาม โดยได้เริ่มต้นโครงการในเดือน ธันวาคม ปี1978 แต่ทว่า (อีกแล้ว) ก็เกิดเหตุการณ์ที่เวียดนามได้ยาตราทัพยึดกัมพูชา ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเวียดนามตึงเครียดขึ้นมาในทันที เพราะเวียดนามได้ส่งทหารบุกและโจมตีชายแดน ทำให้ประชาชนไทยตามชายแดนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
เป็นจำนวนมาก
การทำรัฐประหารเกิดขึ้นตลอดเวลานับตั้งแ่ต่ประเทศไทย
มีรัฐธรรมนูญจนปัจจุบันก็ดูเหมือนจะยังไม่มีการหยุดใช้วิธีแบบนี้


ทหารเวียดนามบุกโจมตีเขมรแดงอย่างรวดเร็ว พวกเขามีอาวุธ
เหนือกว่าไม่ว่าจะเป็นปืนใหญ่,ยานเกราะ และอากาศยานรบ
ทหารเขมรแดงรู้ว่าสู้กับเวียดนามไม่ได้จึงถอยร่นดึงเวียดนาม
เข้ามาลึกในประเทศ เพื่อทำสงครามกองโจรยืดเยื้อที่ตนถนัด
และเคยใช้ล้มรัฐบาลลอนนอลมาแล้ว
ลำดับเหตุการณ์
1979
     8 พฤศจิกายน ปืนใหญ่ของไทยยิงถูกค่ายชายแดนหนองจาน (Nong Chan border camp)
     12 พฤศจิกายน เวียดนามโจมตีบ้านแหลม (Ban Laem) ฝั่งตรงข้ามชายแดนไทย ขับไล่ทหารเขมรแดงและชาวบ้านกว่า 5,000คน สู่ประเทศไทย โดยจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งเข้าสู่ศูนย์ผู้อพยพกำปุต (Kamput Holding Center)
1980
     23 มิถุนายน ทหารเวียดนามได้รุกล้ำบริเวณบ้านโนนหมากมุ่น (Ban Non Mak Mun) ทหารฮานอยประมาณ 100นายได้ข้ามพรมแดน เป็นเวลาสามวันที่ทั้งสองฝ่ายเปิดศึกดวลปืนใหญ่กัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 200คน ประกอบด้วยหทารไทย 22นาย ชาวบ้าน 1คน และผู้อพยพอีกจำนวนหนึ่ง ส่วนฝ่ายเวียดนามไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน
     26 มิถุนายน ทหารเวียดนามจับเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์จากสภากาชาดสากล (International Red Cross) 2คน และช่างภาพชาวอเมริกัน 2คน จากตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
1981
     4 มกราคม ทหารเวียดนามบุกเป็นพายุบุแคม ข้ามชายแดนไทย-กัมพูชาเข้ามา และได้ปะทะกับทหารไทย ก่อนที่จะถูกผลักดันกลับไปสู่ที่ตั้งเดิม ตามแหล่งข้อมูลของกองทัพไทย ส่วนรายงานของเวียดนามระบุว่าพวกเขาเริ่มบุกรุกดินแดนไทย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี1980 แหล่งข้อมูลของไทยกล่าวว่ามีทหารไทยเสียชีวิต 2นาย และบาดเจ็บอีก 1นาย ฝ่ายเวียดนามระบุว่า ทหารเวียดนามประมาณ 50 ถึง 60นาย ได้เปิดฉากยิงใส่ทหารไทยที่กำลังลาดตะเวน เมื่อบุกลึกเข้าไปในดินแดนไทยประมาณครึ่งไมล์ โดยไม่ทราบความเสียหายของฝ่ายเวียดนาม
     5 มกราคม ไทยได้เพิ่มเติมทหารเข้าไปในพื้นที่ หลังจากเกิดการปะทะกับเวียดนาม ตามแนวชายแดนของกัมพูชาที่ครอบครองโดยเวียดนามอยู่ เตรียมรับมือการบุกรุกข้ามชายแดนของทหารฮานอยอีกครั้ง และเริ่มโจมตีผลักดันทหารเวียดนามที่บุกมาเมื่อวันก่อน ให้พ้นจากดินแดนของไทย

1982
     ต้นเดือนมีนาคม เกิดเหตุการณ์ไม่สงบตลอดแนวชายแดนเป็นอย่างมาก เป็นการบุกรุกครั้งใหญ่ที่สุดโดยทหารเวียดนามกว่า 300นาย ทำให้ตำรวจตะเวนชายแดนของไทย (Thai patrol police) เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
     21 ตุลาคม พลปืนเวียดนามได้เปิดฉากยิงเครื่องบินตรวจการณ์ของไทย บริเวณใกล้กับชายแดนไทย-กัมพูชา ฝ่ายไทยรายงานว่าเครื่องบินลำดังกล่าว บินกลับเข้าไปฐานทัพในไทยเพื่อรับนายทหารเพิ่มเติม
1983
     มกราคม ทหารรัฐบาลกัมพูชา (เฮงสำริน) สนับสนุนโดยทหารเวียดนาม ได้เริ่มการรุกใหญ่เพื่อกวาดล้างฝ่ายต่อต้านร่วมสามฝ่าย* (three united resistance) โดยการรบกระทำเหนือดินแดนของไทย การรบทำให้ฝ่ายต่อต้านและชาวบ้านกัมพูชากว่า 47,000คนต้องหลบหนีลึกเข้าไปในไทย
     16 มกราคม ฝ่ายเวียดนามสามารถยึด หยาง แดงคุม (Yeang Dangkum) ทางตะวันออกของ หนองจาน คืนมาได้ เขมรเสรี*ยึดหมู่บ้านเล็กๆนี้ไว้ได้ตั้งแต่วันที่ 26ธันวาคม ปี1982 พวกเขารักษาไว้ได้จนถึงสิ้นปี และถูกเวียดนามตีแตกในที่สุด
     21 มกราคม เวียดนามยิงปืนใหญ่โจมตีฐานของเขมรเสรี ทำให้พวกเขาต้องหลบเข้ามาในไทยผ่านช่องโอบก (0'Bok) พวกเขาอยู่ในเขตไทยจนถึงสิ้นเดือน
    31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ ทหารเวียดนามนำหน้าด้วยยานเกราะ สนับสนุนโดยปืนใหญ่ขนาดหนัก ได้โจมตีทำลายค่ายหนองจาน ค่ายผู้ลี้ภัยชาวเขมรที่ใหญ่ที่สุดในชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นการรบภาคพื้นดินระหว่าง เขมรที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์คือ เขมรเสรี กับทหารเวียดนามบริเวณรอบนอกค่าย ฝ่ายเวียดนามใช้ทั้งปืนใหญ่ ปืนครก และจรวดโจมตี มีลูกหลงเข้ามาในเขตไทยกว่า 50ลูก ทำให้ชาวนาอายุ 66ปี เสียชีวิต บ้านเรือนได้รับความเสียหายหลายหลังรวมทั้งวัดด้วย ประชาชนหนีออกมาได้โดยไม่ทราบจำนวนผู้บาดเจ็บ ขณะเดียวกันกลุ่มมูลินากา*และ เขมรเสรีได้ออกจากการรบ หลังจากสู้รบกับเวียดนามเป็นเวลา 36ชั่วโมง ทีโรงพยาบาลเขาอีด่าง (Khao-I-Dang hospital) มีประชาชนมารับการรักษามากกว่า 100คน
     31 มีนาคม ฮานอยเริ่มการล้อมโจมตีที่รุนแรงขึ้น เวียดนามไม่รอช้าที่จะยิงปืนใหญ่ ปูพรมใส่ศูนย์บัญชาการใหญ่ของเขมรแดงที่ตั้งอยู่ในเขตไทย และได้ปะทะกับฝ่ายไทยเป็นเวลาหลายวัน ทางกรุงเทพจึงต้องเริ่มเคลื่อนไหว ด้วยการรณรงค์แบบตั้งรับ การสู้รบรุนแรงขึ้นทั้งสองฝ่ายใช้ปืนใหญ่และรถถังยิงใส่กัน ทำให้มีประชาชนเสียชีวิต 30คน และบาดเจ็บอีกกว่า 300คน ประมาณกันว่ามีชาวกัมพูชากว่า 22,000คนได้อพยพเข้ามายังฝั่งไทย
     ต้นเดือนเมษายน ฝ่ายเวียดนามทำลายค่ายผู้ลี้ภัยพนม ฉัตร (Phnom Chat) ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่ที่เนินแดง (Red Hill) ค่ายเดวิด (Camp David) เองก็ถูกโจมตี ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่ที่เนินเขียว (Green Hill) และมีเครื่องบินเจ็ตของไทยถูกยิงตก 1ลำ
     3 เมษายน ทหารเวียดนามประมาณ 100คน ได้บุกข้ามชายแดนเข้ามายังฝั่งไทย และได้ปะทะกับทหารไทยที่กำลังลาดตะเวน ส่งผลให้มีทหารเสียชีวิต 5นาย และได้รับบาดเจ็บอีก 8นาย
     27 ธันวาคม กองกำลังเวียดนามประกอบไปด้วยทหารเดินเท้า รถถัง และยานลำเลียงพลหุ้มเกราะ ได้มุ่งหน้าเข้ามาประชิดใกล้ชายแดนด้านตะวันออกของไทย เพื่อเตรียมการโจมตีกองโจรกัมพูชา ทหารเวียดนามประมาณ 350นาย รถถังที-54 หลายคัน และรถลำเลียงพลหุ้มเกราะอีกจำนวนหนึ่ง ได้มาถึงหมู่บ้านถมอปุก (Thmar Puok) ตั้งอยู่ทางตะวันตกของกัมพูชาจากกรุงพนมเปญ ถมอปุกอยู่ห่างจากฐานทัพหลักของกองโจรเขมรที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ 14ไมล์ และ 16ไมล์จากชายแดนไทย กองทัพไทยคาดว่าฝ่ายเวียดนามจะบุกกวาดล้างกองโจร เมื่อถึงฤดูแล้งของเดือนหน้า
     ธันวาคม ทหารเวียดนามปะทะกับทหารไทยหลายครั้งบริเวณชายแดน ทางทะเลเรือปืนของเวียดนามได้เปิดฉากยิงใส่เรือลากอวนของชาวประมงไทย ที่กำลังหาปลา ห่างจากชายฝั่งของภาคใต้เวียดนาม 20ไมล์ เวียดนามยึดเรือลากอวน 5ลำ และจับชาวประมงไทยไว้กว่า 130คน
ทหารเวียดนามได้รับอาวุธทันสมัยจากโซเวียตเป็นจำนวนมาก
ในภาพเป็นเครื่องยิงจรวดประทับบ่าต่อสู้อากาศยานแบบ"สเตรล่า"

รถถังที-54และ55 เป็นหัวหอกหลักของกองทัพ
เวียดนาม มาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม

ปืนใหญ่ 130มม.เอ็ม46ผลิตในโซเวียตและไทพ์59ผลิตในจีน
สามารถยิงได้ไกลกว่า 30กิโลเมตร เวียดนามใช้ปืนแบบนี้ยิง
ข้ามชายแดนมายังฝั่งไทย
*หรือรัฐบาลร่วมสามฝ่าย จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านเขมรเฮงสำรินและเวียดนาม ประกอบไปด้วย กลุ่มมูลินากา เขมรเสรี และเขมรแดง*KPNLF (Khmer People's National Liberation Front = แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร) รู้จักกันดีในชื่อเขมรเสรี มีผู้นำคือ ซอน ซาน*MOULINAKA =กลุ่มมูลินากา มีผู้นำคือเจ้า สีหนุ

ทหารเวียดนามกรำศึกมามากมายนับครั้งไม่ถ้วนทำให้มีประสบการณ์รบ
จริงมากกว่าทหารไทย แม้แต่กับทหารจีนในช่วงสงครามสั่งสอน

ศัตรูตัวฉกาจของอากาศยานไทยก็คือปืนต่อสู้อากาศยานของเวียดนาม
พลปืนของเวียดนามสามารถใช้ปตอ.ได้อย่างชำนาญจากการกรำศึกมานาน
1984
     25 มีนาคม-ต้นเดือนเมษายน ฮานอยเริ่มการบุกรุกหลักครั้งที่สามในรอบห้าปี การบุกรุกข้ามชายแดนใช้เวลา 12วัน ในการกวาดล้างกองโจรเขมรแดงในประเทศไทย ใช้ทั้งรถถังผลิตในโซเวียตแบบ ที-54 ปืนใหญ่130มม. และทหารราบจำนวนกว่า 400-600นาย ฝ่ายไทยเองก็ได้ใช้ทั้งปืนใหญ่และเครื่องบินในการสนับสนุนการรบ ผลการรบทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียทหารไป 12นาย และเครื่องบินฝ่ายไทยถูกยิงตก การบุกรุกชายแดนของเวียดนาม ทำให้ทั้งทหารและพลเรือนไทยได้รับความสูญเสีย ฝ่ายไทยกล่าวว่าเวียดนามได้โจมตีค่ายเขมรแดง ที่ช่องเขา ช่อง พระ พาไล (Chong Phra Palai Pass) อันเป็นจุดสำคัญในการติดต่อกันเชื่อมระหว่างชายแดนไทยกับกัมพูชา
     15 เมษายน ทหารเวียดนามโจมตีค่ายของกองโจรกัมพูชา บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา มีชาวกัมพูชาได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตประมาณ 60คน การโจมตีเริ่มในตอนรุ่งเช้า ด้วยทหารสนับสนุนด้วยรถถังและปืนใหญ่ มีปืนใหญ่ตกมายังฝั่งไทยประมาณ 50ลูก ใกล้กับฐานของกองโจร ผู้เผชิญกับรัฐบาลกัมพูชาที่มีเวียดนามหนุนหลัง จากการตรวจสอบการออกอากาศในกรุงเทพ กองโจรที่จงรักภักดีต่อ เจ้านโรดม สีหนุ (Prince Norodom Sihanouk) ได้กล่าวว่าเวียดนามใช้กำลังพลถึง 8 กองพัน เข้าโจมตีที่มั่นของพวกเขา ที่ตา ตูม (Ta Tum) ภายในดินแดนของกัมพูชา ทางตอนเหนือของพรมแดน ขณะเดียวกันทหารไทยก็เตรียมรับมือเต็มอัตราศึก
     ปลายเดือนพฤษภาคม-ต้นเดือนมิถุนายน กองทัพเรือเวียดนามโจมตีใส่เรือประมงไทย ที่หาปลาใกล้กับชายฝั่งเวียดนามหลายครั้ง ทำให้มีชาวประมงไทยเสียชีวิต 3คน
     6 พฤศจิกายน ทหารเวียดนาม โจมตีด่านของตำรวจตะเวนชายแดนไทย (Patrol Police Outpost) ที่มีพลประจำอยู่น้อยกว่ามาก บริเวณชายแดนใกล้กับจังหวัดสุรินทร์ ส่งผลให้ฝ่ายไทยเสียชีิวิต 3คน บาดเจ็บอีก 31คน และสูญหาย 5คน
     18 พฤศจิกายน ค่ายหนองจานถูกโจมตีอย่างหนัก หลังจากการสู้รับกว่าสัปดาห์ ชาวกัมพูชาได้อพยพไปยังเขต 3 และ 6
     8 ธันวาคม หนานหยวน (Nan Yuen) ถูกปืนใหญ่โจมตีจนต้องอพยพ
     11 ธันวาคม สกสาน (Sok Sann) ถูกปืนใหญ่โจมตีจนต้องอพยพ
     25 ธันวาคม หนองเสม็ด (Nong Samet) จ.ตราด ถูกโจมตี ประชาชนต้องอพยพไปที่เนินแดง ความว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 200คน ได้ถูกส่งไปอยู่ที่เขาอีด่าง ในช่วงสองสามวันแรก


1985
     5 มกราคม แปดอุ้ม (Paet Um) ถูกโจมตีจนต้องอพยพ
     7 มกราคม อัมปึล (Ampil) หรือบ้านสะแง (Ban Sangae) ถูกโจมตีโดยเวียดนามจนเสียหายอย่างหนัก หลังจากการสู้รบเป็นเวลาสองสามชั่วโมง พลเมืองซานโร (San Ro) ต้องอพยพไปอยู่เขต 1
    มกราคม-กุมภาพันธ์ เวียดนามบุกด้วยกองกำลังอันทรงอานุภาพ โจมตีฐานที่มั่นสำคัญของกองโจรเขมรตามพรมแดน และเผชิญหน้ากับทหารไทยตลอดแนวชายแดน
     24 มกราคม ดงรัก (Dong Ruk) ถูกกระสุนปืนใหญ่ ประชาชนเสียชีวิต 18คน และอพยพประชาชนไปอยู่ที่เขตเอ
     13 กุมภาพันธ์ หนองปรือ (Nong Pru) โอซาแลค (O'Shallac) และท่าพริก (Taprik) ทางตอนใต้ของอรัญ (Aran) ถูกโจมตี และอพยพประชาชนไปเขต 8
     21 กุมภาพันธ์ ทหารเวียดนามและทหารไทย ปะทะกันบนเินินใกล้กับชายแดน 450ไมล์ระหว่างไทยกับกัมพูชา ทหารเวียดนามพยายามบุกหนักเป็นพายุสู่เนิน 347 (Hill 347) ซึ่งตั้งอยู่ลึกไปในดินแดนไทย ประมาณครึ่งไมล์ ณ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัด บุรีรัมย์ (Buriram) นายทหารไทยเสียชีวิต 1นาย และพลทหารบาดเจ็บอีก 2นาย จากการรบและการยิงปืนใหญ่ข้ามพรมแดนใส่กัน
     5 มีนาคม ตาตูมถูกโจมตี พลเรือนจากกรีนไฮ 11 (Green Hi11) อพยพไปสู่เขตบี ส่วนพลเรือนที่ ดงรัก,ซานโรม,บ้านสะแง และค่ายเวียดนามอพยพ (Vietnamese Land Refugees) มุ่งสู่เขต 2 ทหารเวียดนามประจำการกว่า 1,000นาย ได้บุกรุกสู่เขตไทย และพยายามตีปีกโอบล้อมกองโจรกัมพูชา แต่พวกเขาก็ได้รับการสนับสนุนจากไทย และหลบหนีการล้อมปราบเข้าไปในเขตไทยได้
     6 มีนาคม ทหารไทยทำให้ทหารเวียดนามละทิ้งเนิน 1ใน3ลูกที่เวียดนามยึดได้เมื่อวันก่อน ทหารไทยได้รุกโต้เวียดนามผู้รุกราน จนต้องถอยกลับไปโดยทิ้งศพทหารไว้ 60นาย
     4 เมษายน เกิดการปะทะกันที่ แหลมหนองเอี่ยน (Laem Nong Ian) ในบริเวณจำกัด 15ไมล์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองชายแดนไทย หลังจากทหารเวียดนาม 5นาย ได้บุกรุกเข้ามาในเขตไทยลึกกว่า 845 หลา
     6 เมษายน ตำรวจตะเวนชายแดนไทย ยิงทหารเวียดนามเสียชีวิตในเขตไทย ระหว่างการปะทะกันนาน 10นาทีใกล้ชายแดน
     20 เมษายน ณ.ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย จังหวัดตราด ทหารเวียดนามกว่า 1,200นาย บุกโจมตีที่มั่นของทหารไทย ห่างจากอ่าวไทย (Gulf of Thailand) 3-4กิโลเมตร เมื่อยึดพื้นที่ได้แล้ว เวียดนามก็ทำการดัดแปลงภูมิประเทศ เพื่อสร้างฐานทัพที่มั่นคง บนเนินในเขตไทยประมาณครึ่งไมล์จากชายแดน เวียดนามได้วางกับระเบิดและสร้างบังเกอร์ไว้ด้วย
     15 พฤษภาคม ทหารเวียดนามปะทะกับทหารไทยเป็นเวลาประมาณ 8ชั่วโมง ด้วยปืนครก ปืนต่อสู้รถถัง และปืนกล
     17 พฤษภาคม ทหารไทยขับไล่ทหารเวียดนามผู้รุกราน ให้กลับเข้าไปในประเทศกัมพูชา การรบเป็นไปอย่างรุนแรง ตามชายแดนภาคใต้ของไทย หลังจากรบกันหนึ่งสัปดาห์ หน่วยเรนเจอร์และนาวิกโยธินของไทย เข้าโจมตียึดเนินที่ฝ่ายเวียดนามยึดไว้เมื่อวันก่อนได้สำเร็จ
     พฤษภาคม มีชาวเขมรอพยพอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวกว่า 230,000คน หลังจากการรุกใหญ่ในหน้าแล้งของเวียดนามประสบความสำเร็จ
     26 พฤษภาคม ทหารเวียดนามได้บุกข้ามพรมแดน จากตอนเหนือของกัมพูชา เข้ามายังพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani) เืพื่อค้นหาและทำลายกองโจรเขมร ทหารเวียดนามยิงทหารไทยและประชาชน เสียชีวิต 5คน ในการปะทะกับตชด. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลานานกว่า 1ชั่วโมง การบุกฉับพลั้นของเวียดนาม ทำให้ต้องอพยพประชาชนกว่า 600คน จากหมู่บ้านติดชายแดน 2แห่ง ไปยังเขตปลอดภัยที่ตำบลน้ำยืน (Nam Yuen)
     13 มิถุนายน กองกำลังฝ่ายไทยได้ปะทะกับทหารเวียดนาม 400นาย ที่บุกข้ามพรมแดนเข้ามายังฝั่งไทย เพื่อปราบกองโจรกัมพูชาที่ตั้งตนเป็นศัตรู กับฮานอยผู้ครอบครองประเทศของพวกเขา
ทหารเวียดนามบุกสนับสนุนโดยรถถัง

การซุ่มโจมตีเป็นสิ่งที่ทหารเวียดนามถือเป็นวิธีรบของตน

รถถังหลัก ที-54

ทหารเวียดนาม
ปล.อยากลงรูปทหารไทยบ้างแต่หาในเน็ตไม่เจอเลยครับT-T

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี
โดยก่อนดำรงตำแหน่งท่านมีส่วนเป็นอย่างมาก
ในการนำกองทัพไทยต่อต้านเวียดนาม

พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีของไทย
ผู้ที่ใช้การทูตนำหน้าการทหารในการจัดการปัญหาเขมร
1986
     25 มกราคม อาวุธหนักของเวียดนาม ยิงปูพรมใส่จุดตรวจการณ์ของไทย ทำให้นาวิกโยธินเสียชีวิต 3นาย จึงเกิดสงครามดวลปืนใหญ่ ระหว่างปืนใหญ่เวียดนามบนบก กับเรือรบของไทยใกล้ชายฝั่ง การระดมยิงของปืนใหญ่เวียดนามในวันพฤหัสบดี เล็งไปที่จุดตรวจการณ์ของนาวิกโยธิน ที่หาดเล็ก (Haad Lek) ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใต้สุดของชายแดนไทย-กัมพูชา ฝ่ายเวียดนามยิงปืนใหญ่โดยมองดูหาดเล็กจากดินแดนกัมพูชา "นี่ดูเหมือนจะเป็นการยั่วยุโดยเจตนาของเวียดนาม" โฆษกกองทัพเรือไทยกล่าว "และดูเหมือนจะไม่ใช่ลูกหลงที่มาจากการสู้รบในกัมพูชา" เรือรบของไทยจึงตอบสนองด้วยการยิงปืนใหญ่ใส่ฐานปืนใหญ่ของเวียดนาม ฝ่ายไทยได้กล่าวที่อรัญประเทศ (Aranyaprathet) ห่างจากกรุงเทพ 135ไมล์ ว่าเรือรบไทยได้ยิงกระสุนไปกว่า 100นัด ส่วนฝ่ายเวียดนามยิงไปกว่า 70นัด
1987
     25 พฤษภาคม ผู้บัญชาการสูงสุดพลเอก ชวลิต (Commander-in-Chief General Chavalit) ได้สั่งให้ทหารทั้งหมดออกไปโจมตีตอบโต้ทหารเวียดนาม ที่บุกรุกเข้ามาในเขตไทย โดยจำกัดให้บุกไปได้ไกลไม่เกิน 5กิโลเมตร
     30 พฤษภาคม หน่วยเรนเจอร์ของไทยลาดตะเวนที่ ช่องบก (Chong Bok) เพื่อโจมตีผลักดันเวียดนามออกจากดินแดนของไทย
     กลางปี 1987 ตลอดชายแดนไทย-กัมพูชาความยาวกว่า 800กิโลเมตร ถูกป้องกันอย่างหนาแน่นโดยทหารเวียดนามและกัมพูชา (เฮงสำริน)
1988
     4 สิงหาคม หัวหน้าพรรคชาติไทย (Chart Thai Party) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (General Chatichai Choonhavan) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17ของประเทศไทย ท่านได้สัญญาว่าจะดำเนินนโยบาย"เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ("to turn battlefields into market places")
1989
     กันยายน-ธันวาคม เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา เป็นการปิดฉากการสู้รบ ระหว่างไทยและเวียดนามที่ชายแดนไทย-กัมพูชาซึ่งดำเนินมาเกือบสิบปีลงในที่ สุด
จากเวป http://www.tanarmy.com
"ขอคารวะดวงวิญญาณทหารไทยผู้ปกปักรักษา
แผ่นดินไทยและขอให้ดวงวิญญาณของผู้สังเวยชีวิต
ในสงครามครั้งนี้ทุกฝ่ายจงไปสู่สุคติด้วยเถิด"
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น