เวลาจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเอง

อ่าน.......ขำๆ

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

พบค้างคาวปีกคล้ายผีเสื้อคาดเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพั นธุ์





ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


ชาวบ้านอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร พบค้างคาวประหลาด2 ตัว ขณะกำลังผสมพันธุ์ในใบกล้วย แห่ดูกันแน่น เจ้าของสวนเผยมีคนมาขอซื้อต่อในราคา 1 หมื่นบาทไม่ขาย รอผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบให้แน่ใจก่อนปล่อยคืนธรรมชาต ิ เชื่อเป็นค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ สัตว์ป่าคุ้มครองที่ใกล้สูญพันธุ์...

เมื่อ วันที่ 30 มี.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนายยงยุทธ ไพโรจน์ อายุ 62 ปี บ้านคุยบ้านโอง เลขที่ 104 หมู่ที่ 7 ต.คุยบ้านโอง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ว่า ที่สวนของตนปลูกผลไม้นานาชนิด เช่น กล้วย มะม่วง ทุเรียน ลำไย มะปรางค์ และผักหวาน เป็นต้น เนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ ขณะที่กำลังตัดใบต้นกล้วยน้ำว้าที่แห้งออกจากต้น สังเกตเห็นมีค้างคาว 2 ตัว กำลังผสมพันธุ์กันอยู่ในใบกล้วยแห้ง

โดยเป็นค้างคาว ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน มีขนาดเล็กมาก น้ำหนักไม่เกิน 10 กรัม ลำตัวกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เมื่อจับกางปีกออกวัดได้ประมาณ 20 เซนติเมตร จมูกยื่นออกมาจากใบหน้า และงุ้มลงเล็กน้อย มีขนเล็กๆ เต็มไปหมด ริมฝีปากบนและล่างมีขนเช่นกัน ใบหูค่อนข้างใหญ่ ติ่งใบหูสูง และแคบ ขอบหน้าค่อนข้างเว้า ขอบหลังบริเวณโคนจะขยายออกเป็นส่วนที่กว้างที่สุด ขนคลุมลำตัวยาว หนาแน่น และปุย ด้านบนลำตัวสีส้มสด ปีกมีลวดลายสวยงามเหมือนผีเสื้อ


หลังจากข่าวพบค้างคาวประหลาดแพร่ออกไป ได้มีชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่พากันแห่มาดูด้วยความ สนใจจนแน่นสวน มีบางคนขอซื้อค้างคาวทั้ง 2 ตัวในราคา 10,000 บาท แต่ นายยงยุทธ ไม่ยอมขาย บอกว่า ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยพบเห็นมาก่อน จะเก็บค้างคาวทั้งคู่ไว้รอให้สัตวแพทย์หรือปศุสัตว์ม าตรวจสอบให้แน่ใจอีก ครั้ง ก่อนที่จะนำปล่อยคืนธรรมชาติต่อไป จากนั้นได้นำค้างคาวทั้ง 2 ตัว มาขังไว้ในกรงเป็นการชั่วคราวไว้ก่อน

ผู้สื่อข่าวได้นำภาพค้างคาวดัง กล่าวกลับมาตรวจสอบ พบว่าลักษณะคล้ายค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ ซึ่งเป็นค้างคาวที่อาศัยอยู่ตามยอดใบกล้วยที่ม้วนเป็ นหลอดหรือท่อ และจะย้ายไปเรื่อยๆ เมื่อยอดกล้วยแก่ ขยายออกแล้ว นอกจากนี้ ยังพบเกาะตามใบแห้งของต้นไม้ ยอดหญ้าพง และยอดอ้อ จะอยู่เป็นคู่หรือโดดเดี่ยว ออกหากินในช่วงเย็น ลักษณะการบินคล้ายผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ แต่บินเร็วกว่ามาก อาหารได้แก่แมลงต่างๆ โดยเฉพาะแมลงที่มีขนาดเล็ก โดยกินแมลงอัตราสูงถึง 3 กรัมต่อตัว มีรายงานพบค้างคาวชนิดนี้จับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงเดือน มิ.ย. ค้างคาวตัวผู้ และตัวเมียรวมทั้งลูกอ่อนที่เกาะติดอกแม่ ส่วนใหญ่จะถูกจับได้พร้อมกันบนใบตองแห้งในช่วงเดือน ส.ค.


ค้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อกระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา พม่า ตอนใต้ของประเทศจีน เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่พบไม่บ่อย และปริมาณไม่มากนัก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้ม ครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียวเคยพบเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน เคยมีคนนำมาบริจาคให้ แต่ไม่สามารถเลี้ยงให้อยู่รอดได้ และไม่เคยพบเห็นอีกเลย จึงถือว่าเป็นสัตว์ที่หาดูได้ยากมาก มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์.
 
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=139787
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น